พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ............
ถ้านายทะเบียนฯพิจารณาแล้วเห็นว่าจะไม่อนุญาต ก็ต้องมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงข้อกฎหมายข้อพิจารณามา.....ว่าจะไม่อนุญาตนะ
ซึ่งผู้ขอฯสามารถโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนต่อนายทะเบียนฯ ถ้าเห็นว่าฟังขึ้นก็อนุญาต ฟังไม่ขึ้นก็ออกคำสั่งว่าไม่อนุญาต
+++อย่างนี้ก็แสดงว่า ถ้าเหตุผลที่ให้ไปถ้านายทะเบียนบอกฟังไม่ขึ้นก็สามารถไม่อนุญาตให้ได้ใช่ไหมครับ++++
ถ้างั้นมันก็คงอยู่ที่ความพอใจของนายทะเบียนน่ะซิ ว่าไม่ให้ก็ได้เพราะเหตุผลไม่พอ..........
ถ้านายทะเบียนฯปฏิเสธการอนุญาต ก็ต้องมีหนังสือแจ้งผู้ขอฯ ซึ่งถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ... จะต้องเป็นไปตามพ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๗......
มาตรา ๓๗ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
(๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ...............
หนังสือแจ้งไม่อนุญาตของนายทะเบียนฯ ต้องแจ้งสิทธิการอุทธรณ์ให้ผู้ขอฯทราบด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา ๔๐ .....
มาตรา ๔๐ คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง
ขอตอบความที่คุณตี๋ใหญ่ปุจฉา (ที่ขีดเส้นใต้ไว้) ว่า .......... นายทะเบียนฯสั่งตามพอใจไม่ได้....นายทะเบียนฯต้องให้เหตุผลตามมาตรา ๓๗
ผู้ขอก็ต้องไปดูว่านายทะเบียนฯให้เหตุผลอย่างไรที่ไม่อนุญาต ..... ถ้าไม่เห็นด้วย..ผู้ขอฯสามารถอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ต่อไปครับ 