ขออนุญาตขุดกระทู้ครับเผื่อพี่ๆ เพื่อนๆ อยากคุย
เนื่องจากช่วงนี้ภาพยนต์เรื่อง Valkyrie กำลังฉาย เป็นเรื่องการพยายามสังหารฮิตเล่อร์ของคณะนายทหารบก โดยการวางระเบิดในวันที่ 20 ก.ค. 1944
ผม (รีบ) ไปดูมาแล้ว อิ อิ ขอแนะนำว่าผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การเมือง การสงครามโลก ครั้งที่ 2 น่าจะดู
ท่านที่ยังไม่ได้ดูข้ามช่วงต่อไปนี้ก่อนนะครับเดี๋ยวจะไม่สนุก
อย่างไรก็ตามมีข้อติบางอย่าง
1. อารมณ์ของเรื่อง
ความเป็นดราม่าของเรื่องน้อยไปหน่อย ส่วนตัวคิดว่าควรใช้ดาราที่หน้าตาดราม่ามากๆ เช่น ราฟ ไฟน์ แทน ทอม ครูส
2.ฉาก
2.1 ในเรื่องไม่ได้แสดงถึงความกดดันต่อคน/ทหารเยอรมันว่าตอนนั้นสงครามทำให้เยอรมัน/ยุโรป พินาศสันตะโรไปเท่าไหร่ ทำให้เกิดความคิดว่าต้องกำจัดระบบการปกครองของฮิตเล่อร์เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ในเรื่องไม่มีฉากเมืองที่พัง ความกดดัน/กดขี่ของนาซีต่อคนเยอรมันเอง สภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นจากสงคราม บ้านเมืองที่สร้างมาใหญ่โตหลังฟื้นจากเศรษฐกิจถอถอยก็มาพังลง รวมทั้งอาคารทางประวัติศาสตร์ของเยอรมันทุกยุคที่ผ่านมาด้วย ชาวบ้าน/ทหารทำงานเสียสละเต็มที่แต่ผู้นำเอาตัวรอดและบ้า เช่น ความจริงที่ว่าฮิตเล่อร์ไม่ยอมไปเยี่ยมเมืองที่ถูกบอร์ดเพราะกลัวเห็นภความจริงแล้วใจอ่อนไม่อยากรบต่อ จุดนี้ไม่มีในภาพยนต์เลย มีเพียงแค่ครอบครัวหลบหลุมหลบภันในบ้าน ได้ยินเสียงระเบิดลง ฉากเดียว และยังแสดงความเป็นอยู่เหมือนปรกติมากๆ ตึกต่างๆ ในเบอร์ลินไม่มีร่องรอยเสียหายแม้แต่น้อย มีน้ำมันใช้รถส่วนตัวกันสบายๆ ด้วย "ทำให้สื่อสารแสดงแก่นของเรื่องได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ได้สนใจข้อมูลของเหตุการณ์มาก่อน"
เรื่องนี้ถึงแม้ไม่มีงบสร้างฉากก็ควรนำเสนอผ่านบทสนทนา เช่น ข่าวเมืองเยอรมันที่โดนบอร์ม ถึงแม้ตามจริงทางการจะไม่ออกข่าวความสูญเสียมาก แต่ก็ควรแสดงให้เห็นว่าตัวละครรู้ว่าถูกบอร์มหนักๆ แต่ละครั้งต้องมีคนตายครั้งละหลายหมื่นคน
2.2 ไม่ได้แสดงถึงอำนาจครอบงำของนาซีในสังคมเท่าที่ควร และไม่ได้แสดงถึงอานุภาพของระบอบการปกครอง นำเสนอน้อยไปว่าสิ่งที่ผู้ต้องต้านคิดกระทำนั้นใหญ่หลวงนัก ต่อต้านกับอำนาจที่ครอบงำ และสั่งการกำลังการเมืองที่ปกครองคนหลายร้อยล้านคน และคุมกำลังทหาร 8-9 ล้านคน
ถ้าไม่อยากทำภาพความยิ่งใหญ่เข้มแข็งของนาซี แต่ก็ควรสร้างฉากตัวแทนได้ เช่น ตำรวจลับจับชาวบ้านที่ไม่จงรักภักดีเล็กๆ น้อยๆ ไปเข้าค่ายกักกัน
3. ข้อมูล
ไม่ได้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการหลักในเรื่อง เช่น เมื่อผุ้ก่อการแพ้ ฮิตเล่อร์ก็ออกคลั่ง สั่งกวาดล้างฆ่าผู้ต้องสงสัยไปประมาณ 2,500 คน รวมทั้งคนที่เป็นกำลังของประเทศ เช่น จอมพลรอมเมล และข้อมูลว่านายพันตรีกำลังหนุนที่ฮิตเล่อร์พูดโทรศัพท์โดยตรงให้ไปจับพวกก่อการได้เลื่อนยศเป็นพันเอกเลย ข้อมูลนี้ควรจะมีเพื่อเป็นการเน้นถึงความแหลวแหลกของระบอบผู้นำเผด็จการ เสริมความสำคัญของการก่อการ
ข้อชมครับ
1.เนื่อเรื่อง
สร้างถูกต้องตามเหตุการณ์จริงดีครับ
2. รายละเอียดการสร้าง
2.1 อุปกรณ์ถูกต้องดี เครื่องบินก็ถูกรุ่นตามที่ควรจะเป็น เช่น เครื่องบินโดยสาร Ju52 ฉากสนามบินก็เห็น Me109 ในโรงเก็บ ชเตาเฟนแบร์ก ถูกยิงที่แขนตอนคณะก่อการแพ้จริง แต่มีฉากหนึ่งที่ขึ้นลำปืน PPK โดยเอาลำกล้องกดกับโต๊ะ จุดนี้ไม่แน่ในว่าธรรมเนียมปฏิบัติทหารเยอรมันสมัยนั้นเขาพกปืนดับเบิ้ล/ซิงเกิลขึ้นลำไว้ตลอดหรือไม่ หรือเป็นเพียงการที่ผู้สร้างต้องการแสดงการเตรียมสู้ขั้นสุดท้ายให้เห็นชัดๆ ตามแนวภาพยนต์
2.2 ตัวละคร พยายามสร้างให้ถูกต้องดี ทอม ครูส สูงแค่ 169 ซม มีฉากยืนข้างฮิตเล่อร์ ผู้สร้างก็หาคนเตี้ยกว่ามาแสดงเป็นฮิตเล่อร์ และใช้มุมกล้องช่วยด้วย ตามจริงแล้ว ฮิตเล่อร์สูง 173-175 ซม. (แล้วแต่แหล่งข้อมูล) ส่วน ชเตาเฟนแบร์ก ดูตามภาพควรสูง 187-190 ซม.
ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งก็คือ หนังเรื่องหนึ่งความยาวไม่เกิน 3 ชั่วโมง ไม่มีทางที่จะทำทุกอย่างได้หมด
คนทำหนังต้องเลือกครับว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรเป็นหลัก
หากจำฉากเปิดเรื่องของหนัง Valkyrieได้ หนังบรรยายถึงเกียรติยศของทหาร
และคำสัตย์ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัด
ประเด็นของหนังอยู่ตรงนี้ครับ
เป็นเรื่องของเกียรติยศของทหาร และการตัดสินใจว่าจะทำเพื่อประเทศชาติหรือเพื่อตัวบุคคล
บางครั้งหลายคนก็สับสน เข้าใจว่า ฮิตเลอร์คือเยอรมัน
หนังทั้งเรื่องก็พูดถึงประเด็นนี้ครับ
นอกนั้นก็เป็นรายละเอียด เรื่องนัดแล้วไม่มา
หรือถ้าฝ่ายก่อการไม่ลังเล สถานการณ์อาจพลิกไปอีกอย่าง
และวีซาฮิตเลอร์อาจหมดอายุแค่นั้นก็ได้
ส่วนประเด็นอื่น อย่างความกดดัน หรือความฉิบหายของยุโรป ที่คุณคิดว่าขาดไป
ผมคิดว่าเป็นพลความครับ เป็นเรื่องที่ละไว้ได้ฐานที่เข้าใจครับ
เอามาพูดมากเดี๋ยวหนังจะยาวเกินความจำเป็น
ฉากความวิบัติก็ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ จำฉากโบสถ์ที่พระเอกถูกทาบทามตอนต้นเรื่องได้หรือเปล่า
หรือประเด็นการจับตัวผู้คน ผมคิดว่าในช่วงปลายสงครามแล้ว คงไม่เกิดแล้วครับ
ส่วนฉากที่พระเอกเห็นลูกเมียกลัวจนตัวสั่นตอนหลบระเบิด
ผมว่าเป็นสิ่งที่ทำให้พระเอกตัดสินใจทำในสิ่งที่หลายคนไม่กล้าทำ
เพราะความตายมันใกล้ลูกเมียเข้ามาทุกที
เรื่องความขาดแคลน อาทิเช่น น้ำมัน
ถ้าจะมีก็เฉพาะในหมู่พลเรือน ฝ่ายทหารคงไม่ขาดแคลนหรอกครับ
ส่วนจุดอื่น อย่างเรื่อง casting ผมขออนุญาตไม่ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
สุดท้าย จากประสบการณ์ส่วนตัวล้วนๆ
ผมเสนอว่าสิ่งสำคัญในการพูดหรือการวิจารณ์หนังคือ
ต้องตีความให้ได้ว่าผู้สร้างต้องการสื่อสารอะไร
ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ...เราต้องการให้หนังมีอะไรหรือเป็นอย่างไร