ตอบคุณ submachine / คุณ wilhelm tell
ไม่แน่ใจว่าจะช่วยหรือเปล่านะคะ แต่จำได้ว่าเคยอ่านเจอว่า ธนูเป็นอาวุธคลาสสิกดั้งเดิม น่าจะพัฒนามาจากลูกดอก และความจำเป็นที่คนต้องล่าสัตว์ใหญ่ สัตว์อันตราย หรือสัตว์ตัวเล็กๆ ไม่อยู่กับที่ และธนูมีมานาน ตั้งแต่ยุคหิน ยุคอียิปต์ ยุคกรีกโรมัน ยุคมองโกล (เข้าใจว่าพวกมองโกลยึดเมืองได้ถึงเกือบหมดยุโรปก็ด้วยเก่งธนู และเก่งขี่ม้า นี่แหละค่ะ เลยได้ทั้งความเร็วและความแม่น บวกกับวิธีรบแบบกองโจร และการสร้างชื่อเสียงข่มขู่ล่วงหน้า ว่าบุกไปไหน ฆ่าคนตายเรียบ) แต่ต่อมา เมื่อยุโรปรบกันเยอะขึ้น ก็ต้องหาอาวุธที่ทำให้อีกฝ่ายสลบหรือตายเร็วๆ ยิ่งขึ้น ดังนั้น พวกอาวุธเหล็ก ใช้หินตกแต่งถึงได้ค่อยๆ ทดแทนธนู ซึ่งเสียเวลาซ้อม เวลาผลิต และอาจไม่ได้ผลยับยั้งศัตรูเท่าอาวุธอื่นๆ ในระยะไกล เช่น เครื่องเหวี่ยงหิน หรือสร้างกำแพงเมืองสูงๆ หรือจัดการศัตรูระยะใกล้เท่าขวาน มีด หรือดาบ หรือว่าไงคะ หากคุณ Wilhem Tell มีข้อมูล ก็กรุณาแบ่งปันก็ดีค่ะ
ครับ ธนูมีมาตั้งแต่ยุคหินเก่า (หินเก่าไม่มีการเกษตร หินใหม่มีการเกษตรแล้ว) ที่ตกมาถึงปัจจุบันก็ อะบอริจิน ในออสเตรเลีย เป็นวัฒนธรรมยุคหินเก่า ใช้ธนู
ตอยพบ Ice man บนภูเขาแอลป์ อายุประมาณ 5,300 ปี ก็พบธนูของเขา และพบหัวธนูในร่างกายด้วย ถูกยิงทะลุเสื้อเข้าไหล่
สำหรับชนเผ่ายุคหินเก่าด้วยกัน พวกที่เป็นกลุ่ม "ไล่ล่าหาเก็บ" (Hunter gatherer) จะรบไม่เก่งเหมือนพวกเลี้ยงปศุสัตว์ในทุ่ง ฟังเผินๆ อาจรู้สึกขัดๆ เพราะนายพรานควรรบพุ่งต่อสู้เก่ง แต่ที่จริงคือ พวกเลี้ยงสัตว์ในทุ่งจะต้องต้อนฝูงสัตว์ ให้เดินทาง รวมตัว จึงมีทักษะในการจัดระเบียบแบ่งหน้าที่ในกลุ่ม โอบล้อม กระตุ้นต้อน ดักทาง และสังเกตุเดาทางการเคลื่อนไหว ทั้งหมดนี้เป็นทักษะที่สำคัญในการสู้รบระหว่างกลุ่มคน หรือกองทัพ นอกจากนี้คนเลี้ยงฝูงสัตว์มักพัฒนาสัตว์มาใช้เป็นพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพ เคลื่อนที่ได้เร็วด้วย รวมเรียกง่ายๆ ว่านักรบหลังม้า (ในอียิปต์เก่าใช้แต่อูฐมาก่อนใช้ม้า บางวัฒนธรรมอย่างสุเมเรียนใช้ตัว โอนาเกอร์ เล็กกว่าม้า ขี่ไม่ได้ใช้เทียมรถศึกอย่างเดียว)
ถ้าเป็นสังคมยุคหินใหม่ มีการเกษตรแล้ว ศักยภาพในการรบอยู่ที่ระดับการพัฒนาสังคมว่าใหญ่โต ทำเกษตรเก่งแค่ไหน ยั่งยืนแค่ไหน เพราะถ้าทำเกษรได้มีประสิทธิภาพมาก ผลิตอาหารให้สังคมได้พอเพียง มีการเก็ยอาหารได้พอ อาจเก็บไว้ทำเหล้าได้ด้วย (เห้าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญทางอารยธรรม) เมื่อทุกคนไม่ต้องทำมาหาอาหารเอง จึงมีการจัดระเบียบสังคม แบ่งงานเฉพาะด้านได้ เป็นกลุ่มปกครอง กลุ่มศาสนา และกลุ่มนักรบ ที่ฝึกฝนการรบอย่างเดียว เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ...
สำหรับการที่ นักรบหลังม้าไปตีบ้านเมืองได้มาก จุดสำคัญคือการเคลื่อนที่ได้เร็วมากกว่า ฝ่ายอื่นระดมพลไม่ทัน เคลื่อนกำลังไปสู้ไม่ทัน ยิ่งสมันโบราณข่าวสารมาไม่เร็ว หลายครั้งกว่าจะรู้ตัวก็คือเมื่อเห็นกองทัพข้าศึกแล้ว
ในนิยายมักบรรยายกองทัพนักรบหลังม้าว่ามามืดฟ้ามัวดิน และในบันทึกโบราณก็บรรยาว่ามามากท่วมท้น ในกรณีส่วนมากก็จริงที่ นัรบหลังม้ามามากกว่าชุมชนส่วนมากที่โดนตี แต่จากการวิเคราะห์ของ Sir John Keegan อาจารย์สอนที่ Sandhurst รร.นายร้อย ทบ. อังกฤษ (สอนหนังสือจนได้เป็นอัศวินครับ) ในหนังสือ History of Warfare เสนอว่าที่จริงกิงทัพนักรบหลังม้าอย่างของ Attila อัลติลา เดอะฮั่น ควรจะรวมพลมากสุดในเวลาใดเวลาหนึ่งแค่ประมาณ 4-5 หมื่นคนเท่านั้น เขาวิเคราะห์จำนวนม้าที่นักรบหลังม้าต้องใช้ในการรบต่อเนื่อง ทั้งขี่รบ ทั้งขนของ ม้าสำรองตัวที่บาดเจ็บ ป่วยล้มตาย ฯลฯ ว่าอยู่ที่ประมาณ 10 ตัวต่อนักรบ 1 คน และวิเคราะห์ภูมิประเทศ ทุ่งหญ้าที่เกี่ยวข้อง ว่าจะสามารถเลี้ยงดูม้าในกองทัพได้กี่ตัว
ดังนั้นการที่ฝรั่งรบแพ้อัลติลา ไม่ได้มาจากถูกรุมด้วยกำลังที่ท่วมท้น แต่มากจากปัจจับอื่นๆ เช่น การรวมพล การเคลื่อนทัพ การถูกตัดขาดปิดล้อม และกลยุทธในการรบกลางแปลงครับ
ในรูป Iceman