เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 09, 2025, 09:52:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 50 51 52 [53] 54 55 56 ... 73
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สนทนาภาพยนต์ และประวัติศาสตร์การสงคราม  (อ่าน 225634 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #780 เมื่อ: กันยายน 12, 2010, 10:51:53 PM »

                      เรื่องรูปสลักหัวเรือที่ท่าน Don กรุณาอธิบายเสียละเอียดน่าสนใจมากครับ ไม่นึกว่าจะมีมากมายอย่างนั้นเลย ผมขอขอบพระคุณแทนสมาชิกท่านอื่นด้วยครับ  ไหว้
                      หัวเรือรูปมังกรของพวกไวกิ้งนี้ดูน่าเกรงขามและข่มขวัญได้ดีนะครับ ในหนังบางเรื่องเวลาเรือพวกไวกิ้งแล่นอยู่ในหมอก จะเห็นแต่หัวมังกรดูน่ากลัวเหมือนกัน ใครเห็นเข้าก็ตกใจก่อนละครับ  ตอนเด็กๆผมก็นิยมพวกไวกิ้งว่าเก่งกาจกล้าหาญดี ชอบดาบเล่มโตๆแบบพวกไวกิ้งมาก  โตขึ้นถึงได้รู้ว่าพี่แกเที่ยวได้ปล้นเขาไปทั่ว(พูดอย่างนี้จะมีคนเคืองหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยครับ ไหว้) ผมเห็ในTVที่เขาพบซากเรือไวกิ้งนั้น ดูๆก็ลำไม่ใหญ่โตสักเท่าไร จุคนได้คงไม่เกิน 40 คนกระมังครับ
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #781 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 03:28:20 PM »

อิ อิ ขอคุยทีละเรื่องแล้วกันนะครับ ช่วงนี้ผมก็ยุ่งนิดหน่อย

เรื่องเอาแชมเปญตีหัวเรือที่ปล่อย นั้นสืบเนื่องมาจากพิธีฉลองการปล่อยเรือ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นการตั้งชื่อเรือและการเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

พิธีดังกล่าวมีการฉลองและมักมีการโยนของมีค่า ฯลฯ ลงจากเรือ

การเอาชวดตีหัวเรือเริ่มจากกองทัพเรืออังกฤษในศตวรรษที่ ๑๗ โดยใช้ขวดไวน์ตี เป็นการประหยัดของมีค่าอื่นๆ

แต่การที่เเปลี่ยนมาใช้แชมเปญนั้นว่ากันว่าคงเป็นเพราะหรูดีครับ

ปล. ไวน์ปุดๆ นั้นจะเรียกว่าแชมเปญได้เมื่อมาจากแคว้นแชมเปญ ฝรั่งเศสเท่านั้น ถ้ามาจากแคว้นอื่นหรือประเทศอื่นที่ถูกต้องๆ เรียกว่า ไวน์ปุด (Sparkling wine)
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #782 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 03:43:46 PM »

Cavalry แปลว่าทหารม้า มีความหมายกว้างๆ จะเป็นแบบไหน ยุคไหนได้ทั้งนั้นครับ รากศัพย์ก็แปลว่าม้าธรรมดา รากคำนี้กลายเป็นหลายคำใช้เกี่ยวข้องกับความเป็นอัศวินมาก่อนด้วย เช่น Chivalry ก็หมายถึงจรรยาบรรณอัศวิน ในภาษายุโรปหลายชาติคำว่าก็แผลงไปเป็นคำอื่นเกี่ยวกับผู้ดีสุภาพารุษ เช่น ภาษาสเปน ม้า คือ กาบาโย่ ผู้ดีสุภาพบุรุษ คือ กาบาเยโร่

ส่วนทหารม้าดรากูน Dragoon คือทหารม้าเบา ไม่จำกัดว่าชาติใด เริ่มใช้เรียกในศตวรรษที่ ๑๘ ตามชื่อแบบปืนยาวคาบศิลา Dragon ที่ทหารม้าพวกนี้ใช้ เป็นปืนยาวคาบศิลาลำกล้องเรียบลำกล้องสั้น (สั้นกว่าที่ทหารราบใช้) เหน็บไปกับอานม้าได้สะดวก

ที่จริงถ้าเทียบกับทหารม้าแบบอื่นในยุคเดียวกัน ควรเรียกทหารม้าดรากูน ว่าเป็นทหารม้าหนัก เพราะทหารม้าดรากูนใส่เกราะหน้าอก-หลัง และสวมหมวกเหล็ดด้วย

ในยุคเดียวกันจะมีทหารม้าอีกแบบคือทหารม้าฮุสซาร์ Hussar เริ่มจากฮังการรี เป็นทหารม้าเบาจริงๆ ไม่ใส่เกราะ และไม่ใช้หมวกเหล็ก เคลื่อนตัวเร็ว ทำหน้าที่ ลาดตระเวน หาข่าว ฯลฯ หทารฮุสซาร์อุปกรณืจะน้อย อาวุธเบา ใช้ดาบไม่ใช้ปืนยาวด้วยซ้ำไป ต่อมาหลายชาติก็ใช้ทหารม้ารูปแบบนี้ คำนี้จึงไม่จำกัดว่าหมายถึงทหารชาติใดเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #783 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 04:19:52 PM »

ซีปอย (Sepoy) หมายถึง ทหารแขกพื้นเมืองของอังกฤษในอินเดีย มาจากคำ สปาฮี (Spahi) ซึ่งแปลว่าทหารในภาษาเปอร์เซียน ตำว่าสปาฮี นี้ก็ใช้เรียกทหารแขกในกองทัพฝรั่งหลายชาติในพื้นที่เอเซียกลางและอัฟริกาเหมือนกัน

แรกเริ่มที่อังกฤษเข้าไปปกครองอินเดีย เป้นการปกครองโดยบริษัทบริติช อีสต์ อินเดีย และใช้คนพื้นเมืองเป็นทหารซีปอยจำนวยมาก

เคยเกิดมีกบฎครั้งใหญ่คือ กบฎซีปอยในปี ๑๘๕๗-๑๘๕๘ เริ่มมาจากความขัดแย้ง ๑๐๘ ๑๐๐๙ ที่พึงมีระหว่างฝรั่งกับคนพื้นเมือง แต่เรื่องที่เป็นไม้ขีดจุดชนวนกบฎคือการปล่อยข่าวลือว่าน้ำมันทาปืนที่อังกฤษให้ทหารซีปอยใช้มีส่วนผสมของน้ำมันหมู ตอนนั้นในอินเดียยังมีมุสลิมรวมอยู่ทั่วไป และมีอัตราส่วนในกองทหารสูงมาก เช่น พวกปาทาน เลยเกิดกบฎขึ้น ทหารซีปอยทั้งมุสลิมและฮินดูไล่ฆ่าอังกฤษและแขกที่ทำงานกับอังกฤษเป็นการใหญ่ในพื้นที่ตอนเหนือของอินเดีย

อังกฤษแค้นมากที่สุดที่หนึ่งคือเมือง Cawnpore คือมีทหารอังกฤษจำนวนหนึ่งรวมทั้งพลเรือนอังกฤษทั้งผู้หญิงและเด็ก ถูกล้อมอยู่ในเมือง นานเข้า อาหาร และน้ำจะหมดรวมทั้งอากาศร้อนมาก ในที่สุดก็เจรจากันได้ให้พลเรือนอพยพไปเมืองอื่นโดยเดินทางไปทางเรือ แต่ซีปอยซุ่มดจมตี ฆ่าผู้ชายที่จับได้หมด และเอาผู้หญิงและเด็กไปขัง ต่อมาฆ่าตายหมด เมื่อกำลังหนุนอังกฤษมาถึงภายหลังก็ฆ่าซีปอยที่นี่ตายไปมาก

เหตุการณ์กฐฎนี้เป็นฉากหนึ่งในนิยายเชอร์ลอกโฮลม์ตอน จัตวาลักษณ์ (The sign of Four) ๑ ใน ๔ เรื่องยาวของเชอร์ลอกโฮลม์ ในส่วนเล่าย้อนหลังเรื่องที่ อังกฤษ ๔ คนได้สมบัติของอินเดียที่หนีมาอยู่ในที่มั่นอังกฤษ แล้วทำสัญญาแบ่งสมบัติร่วมกัน ต่อมาเกิดการหักหลัง ไล่ตามเก็บในอังกฤษยุคปลายศตวรรษที่ ๑๙

กบฎซีปอยเป็นกบฎครั้งใหญ่ที่สุดในอิเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังกบฎ อังกฤษก็ใช้ทหารจากกองทัพมาปกครองโดยตรง ได้ผลดีกว่าการบริหารจัดการทหารของบริษัทฯ

อย่างไรก็ตามเรียกได้ว่าอังกฤษปกครองอินเดียได้สงบเรียบร้อยดีเมื่อเทียบกับอาณานิคมอื่นๆ ประกอบกับที่ตามธรรมดาคนอินเดียยอมรับอำนาจรัฐ และมีความพอใจในสภาพของตนเองอยู่แล้วด้วยความเชื่อเครื่องศาสนา ไม่เรียกร้องอะไรจากสังคม และทางการมาก

ช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ อังกฤษใช้ทหารแค่ประมาณ ๔ หมื่นกว่าคนปกครงคนในพื้นที่กว้างใหญ่รวม อินเดีย ปากีฯ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบ ๓๐๐ ล้านคนได้ 

ฮิตเล่อร์ติดใจการปกครองอินเดียของอังกฤษมาก เพราะต้องการใช้เยอรมันจำนวนน้อยไปปกครองยุโรปตะวันออกที่กว้างใหญ่และมีคนจำนวนมาก

มีภาพยนต์เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอาณานิคมอินเดีย เป็นภาพยนต์เรื่องโปรดของ วินสตัน เชอร์ชิล เรื่องนี้ฮิตเล่อร์ก็ชอบเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Ultraman Taro #รักในหลวง#
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 195
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1624



« ตอบ #784 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 04:25:00 PM »

พออ่านเรื่อวโจรสลัดแล้วนึกถึงการ์ตูนเรื่องวันพีชที่ผมตามอ่าน คนเขียนเอาชื่อ(หรือนามสกุล)ของโจรสลัดของจริงที่ดังๆในอดีต มาสร้างเป็นตัวละครด้วย
บาโทโลมิว
เบลามี
บันทึกการเข้า

"อย่าแก่เพราะกินข้าว อย่าเฒ่าเพราะอยู่นาน" 
โบราณว่า อย่าถือสาคนบ้า อย่าว่าคนเมา ใจเย็นเข้าไว้
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #785 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 04:35:49 PM »

เอเตียน เชารา เป็นชื่อนายทหารอุสซาร์ของนโปเลียน เป็นนิยายแต่งโดย เชอร์ อาเธอร์ โคแนน ดอยด์ นักเขียนอังกฤษผู้แต่ง เชอร์ลอก โฮลม์ นั่นละครับ

เรื่องนี้ตอนเด็กๆ ผมอ่านหลายรอบอบมาก

เรื่องการผจญภัยของ เชรา  นายทหารของนโปเลียนแต่งโดยคนอังกฤษ จึงแต่งให้ตัสละครถึงจะกล้าหาญ รบเก่ง แต่ก็ทึ่มๆ ออกตลก ตามรูปแบบที่คนอังกฤษชอบล้อเลียนฝรั่งเศศ เช่นการ หลงใหลในความงามของหนวดของตัวเอง มีอารมณ์รุนแรง ซาบซึ่งใจก็ร้องไห้ ฯลฯ


ความจริงคือ ดอยด์ แต่งนิยายเรื่องนี้จากเรื่องจริงของนายทหารนโปเลียนคนหนึ่ง คือ บารอน ชอง แบบติส มาร์โบ Jean-Baptiste Marbot ผู้เขียนอัตชีวประวัติของตนเอง

เรื่องนี้ตื่นเต้น โลกโผนกว่านิยายมาก และยาวมากๆ ด้วย แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ๑๘๙๒

มาร์โบ เป็น ทส. ของแม่ทัพใหญ่หลายคน ทำการรบแนวหน้าหลายสิบสนามรบ และเจอนโปเลียนบ่อยๆ นอกจากเรื่องของตนเองแล้วก็ยังเขียนเกี่ยวกับกองทัพฝรั่งเศสด้วย ในพินัยกรรมของนโปเลียนๆ ให้เงินมาร์โบ ๑๐๐,๐๐๐ ฟรังค์ และบอกให้เขียนเรื่องต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อแสดงความจริงที่รุ่งโรจน์ของกองทัพฝรั่งเศส

เรื่องมาร์โบ ที่น่าอ่านเป็นฉบับตัดตอน เอาแต่ที่สนุกตื่นเต้นมา โดยแบ่งเป็นตอนต่างๆ พร้อมบรุปเหตุการณืที่เกี่ยวข้องจากต้นฉบับไว้ให้

ผมอ่านฉบับตัดตอนแล้วชอบมากเลยสั่งฉบับเต็มมาเหมือนกัน แต่อ่านยังไม่จบครับ กลับไปอ่านฉบับตัดตอนรอบสองอีก
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #786 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 04:42:32 PM »

เรื่อง บารอน มาโบ ฉบับตัดตอน สั่งได้จากอเมซอน ยาว ๒๗๐ หน้า ฉบับเต็มยาวประมาณ ๘๐๐ หน้าครับ

หน้าปกเป็นภาพวาดทหารม้าฮุสซาร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2010, 04:45:00 PM โดย Don Quixote » บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #787 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 04:52:17 PM »

ภาพ An officer charging โดย Theodore Gericault วาดในปี ๑๘๑๒ ปัจจุบันอยู่ที่มิวเซียม ลูฟ, ปารีส
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #788 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 05:00:57 PM »

ภาพถ่านทหารม้าฮุสซาร์อังกฤษในสงครามไครเมีย ปี ๑๘๕๔ -๑๘๕๖ เครื่องแบบใกล้เคียงกับเครื่องแบบทหารฮุสซาร์ฝรั่งเศสในภาพปี ๑๘๑๒ อย่างน่าทึ่ง Shocked

ยุคสงครามไครเมียทหารยังแต่งตัว และใช้ยุทธวิเหมือนยุนนโปเลียน ค้นหาภาพสงครามไครเมียจะเห็นภาพทหารเหมือนยุคนโปเลียนราวกับดูจากไทม์แมชชีนครับ Grin
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #789 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 05:05:41 PM »

เรื่องวัยกลิ้ง ไวกิ้ง ขอติดไว้ก่อน คุยกันได้ยาวครับ การเดินทมางไปปล้น ย้ายถิ่น ตั้งถิ่นฐานของไวกิ้งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหน้าหนึ่งของประวัติสษสตร์ยุโรป
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #790 เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 05:11:19 PM »

นายสมชายเข้ามาติดตามอ่านครับ... เย้...
บันทึกการเข้า
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #791 เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 01:06:34 PM »

ตามอ่าน ตาม+ ให้ครับพี่ Don ไหว้
บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #792 เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 01:48:16 PM »

                           ขอบพระคุณท่าน Don มากครับที่มาแบ่งปันความรู้แก่ชาวอวป. ถึงจะมีธุระยุ่งก็ยังกรุณาหาเวลามา ผมขอบพระคุณแทนสมาชิกอื่นด้วยครับ  ไหว้
                           ท่าน Don อธิบายเรื่องเรือแล้วยังแถมเกร็ดเรื่องเมรัยของฝรั่งด้วย   ผมก็เลยขออนุญาตเล่าเรื่องคำว่า " สุราเมรัย " สักนิดนะครับ สุรากับเมรัยนี่ไม่เหมือนกันครับ  " สุรา "  คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว  ส่วน  " เมรัย "  คือน้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น หรือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ครับ  ทั้งสองอย่างเรียกรวมกันว่า  " เหล้า " ซึ่งแปลว่า น้ำเมาที่หมักหรือกลั่นแล้ว  บ้านเรามีเหล้าเยอะแยะหลายอย่างทั้งที่ซื้อมาและทำเองตามท้องถิ่น  อย่างไหนเรียกสุราอย่างไหนเรียกเมรัย ท่านสมาชิกช่วยกันเล่าให้ฟังบ้างสิครับ (ผมชวนขึ้นจากเรือมาขี่ม้าตอนนี้ชวนลงขวดอีกแล้ว ไม่ว่ากันนะครับ)
                           ผมอ่านเรื่องทหารม้าแล้วก็แว๊บขึ้นมาในสมอง(แว๊บอีกแล้ว) ถึงคำว่า " คอสแส็ค " อีกคำหนึ่ง ไม่ทราบว่าคำนี้หมายถึงอะไรครับ
                           เรียนถามท่าน Ultraman Taro เรื่องการ์ตูน วันพีช นี่เป็นการ์ตูนเล่มๆหรือลงพิมพ์ที่ไหนครับ  ผมเคยอ่านการ์ตูนไวกิ้งนานมาแล้ว พวกตัวละครในการ์ตูนจะมีชื่อลงท้ายว่า  .....LIX ชอบอยู่ตัวหนึ่งตัวใหญ่ๆนุ่งกางเกงทางๆสีฟ้าผมทองผูกเป็นเปีย ผมไม่ได้ไปร้านหนังสือนานแล้วไม่ทราบว่ายังคงตีพิมพ์อยู่หรือเปล่า
                           ผมไปก่อนละครับถ้ามีอะไรแว๊บขึ้นมาอีกจะมารบกวนใหม่ สวัสดีครับ  ไหว้
                           สวัสดีครับท่านสมชาย(ฮา) ท่านZeus ไหว้
บันทึกการเข้า
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #793 เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 02:05:52 PM »

                           ขอบพระคุณท่าน Don มากครับที่มาแบ่งปันความรู้แก่ชาวอวป. ถึงจะมีธุระยุ่งก็ยังกรุณาหาเวลามา ผมขอบพระคุณแทนสมาชิกอื่นด้วยครับ  ไหว้
                           ท่าน Don อธิบายเรื่องเรือแล้วยังแถมเกร็ดเรื่องเมรัยของฝรั่งด้วย   ผมก็เลยขออนุญาตเล่าเรื่องคำว่า " สุราเมรัย " สักนิดนะครับ สุรากับเมรัยนี่ไม่เหมือนกันครับ  " สุรา "  คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว  ส่วน  " เมรัย "  คือน้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น หรือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ครับ  ทั้งสองอย่างเรียกรวมกันว่า  " เหล้า " ซึ่งแปลว่า น้ำเมาที่หมักหรือกลั่นแล้ว  บ้านเรามีเหล้าเยอะแยะหลายอย่างทั้งที่ซื้อมาและทำเองตามท้องถิ่น  อย่างไหนเรียกสุราอย่างไหนเรียกเมรัย ท่านสมาชิกช่วยกันเล่าให้ฟังบ้างสิครับ (ผมชวนขึ้นจากเรือมาขี่ม้าตอนนี้ชวนลงขวดอีกแล้ว ไม่ว่ากันนะครับ)
                           ผมอ่านเรื่องทหารม้าแล้วก็แว๊บขึ้นมาในสมอง(แว๊บอีกแล้ว) ถึงคำว่า " คอสแส็ค " อีกคำหนึ่ง ไม่ทราบว่าคำนี้หมายถึงอะไรครับ
                           เรียนถามท่าน Ultraman Taro เรื่องการ์ตูน วันพีช นี่เป็นการ์ตูนเล่มๆหรือลงพิมพ์ที่ไหนครับ  ผมเคยอ่านการ์ตูนไวกิ้งนานมาแล้ว พวกตัวละครในการ์ตูนจะมีชื่อลงท้ายว่า  .....LIX ชอบอยู่ตัวหนึ่งตัวใหญ่ๆนุ่งกางเกงทางๆสีฟ้าผมทองผูกเป็นเปีย ผมไม่ได้ไปร้านหนังสือนานแล้วไม่ทราบว่ายังคงตีพิมพ์อยู่หรือเปล่า
                           ผมไปก่อนละครับถ้ามีอะไรแว๊บขึ้นมาอีกจะมารบกวนใหม่ สวัสดีครับ  ไหว้
                           สวัสดีครับท่านสมชาย(ฮา) ท่านZeus ไหว้
ผมว่า
สุราพื้นบ้านของไทยจะเป็น เมรัย ครับเช่น อุ สาโท น้ำขาว
ส่วน สุราในถ่ำ (สรถ.) เป็นสุรา สุราในถ่ำบ้านเรามีตั้งแต่ จากข้าว ข้าวโพด ฯลฯ แยะครับ ถ้าจะให้เมาเร็วขึ้นต้องเอา DDT ทากะทะ ตกใจ
แต่ถ้า สุราตรา น้ำดื่มสิงห์ บาดคอนิดหน่อย แต่ปลอดภัย 100 %
ส่วนเรื่องทหารคอสแสค พี่Don ได้เคยตอบไว้ในกระทู้นี้ครับ

http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=79984.msg2352593#quickreply

-พอทราบไหมครับว่าทำไมทหารม้ารัสเซียจึงได้เก่งกาจจังเลย
-ทหารม้าคอสแซก นี่เป็นพวกไหนครับ ไวกิ้ง สลาฟ หรือ ตาร์ต้า
เท่าที่สังเกตดูพบว่าคนรัสเซียผูกพันกับม้ามาก ขนาดอาจารย์รัสเซียในประเทศไทย(ไม่รู้หลงมาจากไหนคนนึง) ยังบ่นว่า พ้ม..อยาก..ขี้.หมา(ผมอยากขี่ม้า)..นักศึกษาไทยล้อกันว่า เฮ้ย..เอาขี้หมาให้มันสักกองซิ

อ่านที่นี่ได้เลยครับ...
V
V
V
http://en.wikipedia.org/wiki/Cossacks



แถมอาร์มของทหารคอสแซคในกองทัพรัสเซียในปัจจุบันครับ...Cheesy

คอสแสกเริ่มปรากฎตัวและมีบทบาทหลังยุคกลาง กลุ่มชนเผ่าเป็นการผสมกันมากแล้วครับ หน้าตาค่อนไปทางฝรั่งยุโรปตะวันออกบวกเอเซียกลาง ห้าตาออกเอเซียมากกว่าหน้าแบบรัสเซียอย่างท่านปูติน

ผมเคยถาม จนท. รัสเซียว่าคอสแสกเป็นเอเซียกลางหรือฝรั่ง (ยูโรเปี้ยน) เขาว่าเป็น ฝรั่ง แต่ก็เป็นการพูดคุยเล่นความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้เคี่ยวเข็นว่านักวิชาการที่ไหนอ้างอิงอย่างไร...

ส่วนเรื่องรบเก่งรบไม่เก่งจังเลยพูดยากครับ ที่แน่นอนก็คือผ่านสงครามามาก เป็นกลุ่มทหารที่มีชื่อทางทรหด และสมัยก่อนก็มีชื่อทางปล้นสดมภ์ ขนของ เช่น คอสแสกที่เข้าปารีสตอนนโปเลียนยอมแพ้ปี 1814

ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ "นักรบหลังม้า" ไม่ว่าเป็นคอสแสก ฮั่น อัลติลา หรือมองโกล คือ ประวัติศาสตร์มักเขียนโดนผู้ที่ถูกนัดรบหลังม้ารุกราน และมีแนวโน้มบันทึกเกินไปทั้งทางทารุณ และจำนวนนักรบในกองทัพที่มาชนะตน นักรบหลังม้าป่าเถื่อนมามืดฟ้ามัวดินจากขอบฟ้าถึงขอบฟ้า แบบว่าหลายแสนเผลอๆ ถึงล้าน ทำนองนั้นละครับ เดินทัพเสียงราวกับพายุทั้งนั้น ในวรรณกรรม และนิยายต่างๆ ก็ชอบใช้จุดนี้ เร้าใจดี ผู้พิชิตนันยิ่งใหญ่ ผู้ชนะก็ไม่ใช่กระจอก

ในหนังสือ History of Warfare ของ Sir John Keegan อ. รร. นายร้อย แซนเฮิร์ส ของอังกฤษ บอกว่ามีการศึกษาจำนวนนักรบ ฮั่น อัลติลา คำนวนโดย

1. คำนวนว่าในภูมิประเทศที่กองทัพ ฮั่น อัลติลา อยู่นั้น เป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าเท่าไหร่ สามารถเลี้ยงม้าได้เต็มที่กี่ตัว

2. เอาำจำนวนม้าไปคำนวนสัดส่วนนักรบหลังม้าในกองทัพ ว่าในกองทัพที่มีนักรบ 1 คน ต้องใช้ม้ากี่ตัว คนหนึ่งต้องมีกี่ตัวเปลี่ยนเพื่อใช้ขี่รบ และขนของ และที่ใช้ในส่วนอื่นของกองทัพ ทั้งนี้ ในกองทัพสมัยนั้นมีผู้ติดตาม Camp followers จำนวนมาก เพราะนักรบหลังม้าคือชนเผ่าเร่ร่อน ไปไหนไปกันทั้งชุมชน ถึงชุนอาจไม่ได้ตามไปใกล้สนามรบตลอดเวลาแต่ก็ไม่ห่างนัก

พบว่ากองทัพ ฮั่น อัลติลา ทีไล่ตีกองทัพฝรั่ง ตีเมืองย่อยยับไปมากนั้น มีนักรบเต็มที่คราวหนึ่งๆ ไม่เกินประมาณ 5 หมื่น คน ซึ่งชัยชนะไม่ได้มาจากกำลังท่วงท้นมือฟ้ามัวดิน แต่มากจาก การเคลื่อนที่เร็ว เข้าตีจุดที่ฝรั่งไม่มีกองกำลัง ระดมพลไม่ทัน หรือไม่พร้อม หรือกรณีปะทะกันจริงๆ ก็เป็นการรบชนะจริงๆ ไม่ใช่อย่างที่ประวัติศาสตร์รุ่นเก่าชอบบอกว่าคนเถื่อนมันมามาก และซึ่งที่จริงในยุคนั้นกองทัพฝรั่งก็ระดมพลได้ไม่มา่กนักด้วยครับ

บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #794 เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 02:14:46 PM »

                          ขอบพระคุณท่าน Zeus มากครับทั้งเรื่องสุราและเรื่องทหารคอสแสค เดี๋ยวผมจะเข้าไปดูทั้งหัวข้อเลย(แอบดูมานิดนึงแล้วมีต่อว่าต่อขานกันด้วย)
                          กราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 50 51 52 [53] 54 55 56 ... 73
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 21 คำสั่ง