เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 15, 2025, 03:40:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 23 24 25 [26] 27 28 29 30
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย  (อ่าน 232744 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Nakin
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 115
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3905


รักทุกคนเลย ......


« ตอบ #375 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2005, 10:33:58 PM »

                                   
                                       ส่วนคันนี้  M - 48 A 5   Royal  Thai  Army .......

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า

Happy   shooting    ......   

พูดจริง     ก็หาว่า    โกหก     ........     พูดตลก    ก็หาว่า     หลอกลวง
Nakin
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 115
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3905


รักทุกคนเลย ......


« ตอบ #376 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2005, 12:51:18 AM »

                 คันนี้ก็คือ  M - 60 A 3  ของ  Royal  Thai  Army  ครับ ......  ( ดูรูป )     Smiley

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2005, 12:54:17 AM โดย Nakin » บันทึกการเข้า

Happy   shooting    ......   

พูดจริง     ก็หาว่า    โกหก     ........     พูดตลก    ก็หาว่า     หลอกลวง
NaiMai>รักในหลวง
ไม่ว่าจะมีพร้อมทุกสิ่ง แต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าความมีสติ
Hero Member
*****

คะแนน 741
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14573


นายใหม่ รักหมู่


เว็บไซต์
« ตอบ #377 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2005, 04:13:49 AM »

 เยาะเย้ย M60 ไม่ใช่อันนี้หรอครับ เยาะเย้ย
บันทึกการเข้า

686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #378 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2005, 10:10:50 AM »

รถถังหลัก รุ่นใหม่ทุกรุ่นจะไม่มีป้อมปืนเล็กเหนือป้อมปืนใหญ่อย่า M60 อีกแล้วครับ แต่จะมี อุปกรณ์ค้นหาเป้าหมายมาแทน

ภาพแรก Leclerc (ลาแคล) ของ ฝรั่งเศษ




ภาพล่าง M1 ของ อเมริกา




ภาพล่าง Leopard 2 (ลีโอพาด) ของ เยอรมัน





ภาพล่าง Challenger 2 ของ อังกฤษ





ภาพล่า T-90 จาก รัสเซีย







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2005, 10:24:50 AM โดย M686 » บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #379 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2005, 12:38:33 PM »

M1 Abrams (เอบรัมส์) ของ อเมริกา เป็นรถถังยุคหลังเพียงไม่กี่รุ่นที่ได้ออกสงครามจริง (ยิงกระสุนจริงใส่รถถังข้าศึกจริง)

ข้อเสียของรุ่นนี้คือ กินน้ำมันมาก 1 ลิตร วิ่งได้ไม่ถึง 100 เมตร ทำให้ต้องใช้หน่วยส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่





บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #380 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2005, 01:28:34 PM »

เรื่องรถถังนี่ไม่ค่อยสันทัดเท่าไหร่ต้องให้พี่ๆช่วยตอบแล้วครับ Grin Grin
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #381 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2005, 03:15:57 PM »

เอ็กซ์-45 อากาศยานโจมตีไร้นักบิน แบบแรกของโลก
…หลังจากประสบความสำเร็จในการบินทดสอบเครื่องบินสาธิตทางเทคโนโลยี (Technology Demonstrator) เครื่องแรกเมื่อ 22 พฤษภาคม 2545 บริษัท โบอิ้ง ได้เดินหน้าทำการพัฒนา เอ็กซ์-45 อากาศยานไร้นักบินแบบแรกของโลกต่อไป ขณะเดียวกันกองทัพสหรัฐฯ ได้เริ่มวางแผนและแนวความคิดว่าจะนำ เอ็กซ์-45 ไปใช้ปฏิบัติภารกิจทางทหารอะไรบ้าง  ในการทดสอบการบินครั้งแรกเครื่องบินสาธิตทางเทคโนโลยีเอ็กซ์-45 เอ ซึ่งมีขนาดย่อส่วนมาจากเครื่องบินจริง โดยมีความยาวของลำตัว 26.3 ฟุต กว้าง 33.8 ฟุต ทำการบินเป็นเวลานาน 14 นาที บินได้สูง 7,500 ฟุต และทำความเร็วได้ 195 นอต แต่สำหรับเครื่องบิน เอ็กซ์-45 บี ของจริงที่จะทำการผลิตและนำมาใข้งานจะมีขนาดใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ-35 แต่ห้องบรรทุกอาวุธมีขนาดเท่ากัน สามารถติดตั้งใช้งานอาวุธชนิดเดียวกัน รัศมีการรบเท่ากัน
…สำนักงานวิจัยและพัฒนา  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ ดาร์พา (Defense Advance Research Projects Agency : DARPA)  ได้วางวัตถุประสงค์การสาธิตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินไว้ว่าเพื่อหาความเป็นไปได้ทางเทคนิค  ประโยชน์และคุณค่าในการปฏิบัติการทางการทหาร อากาศยานโจมตีไร้นักบินสามารถนำมาใช้ปฏิบัติภารกิจในการกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก (Suppression Enemy Air Defense : SEAD) และโจมตีเป้าหมายที่คุณค่าสำคัญทางทหารด้วยอาวุธโจมตีภาคพื้นดิน
…โครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบิน (Unmanned Combat Air Vehicle : UCAV) เป็นโครงการทั้งของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐฯ แต่ทั้งสองเหล่าทัพจะนำมาใช้ในภารกิจแตกต่างกัน โดยกองทัพเรือจะนำมาปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน อากาศยานไร้นักบินของกองทัพเรือจะมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นที่มีใช้งานในกองทัพอากาศบินได้นานกว่า กองทัพเรือจะนำมาใช้งานในภารกิจหลักลาดตระเวนทางอากาศเหนือพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนัก สามารถบินปฏิบัติภารกิจได้เป็นเวลายาวนานกว่า 12 ชั่วโมง โดยมีภารกิจรองเป็นภารกิจบินกดดันระบบ ป้องกันทางอากาศข้าศึกสามารถปฏิบัติการบินขึ้นและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ขณะอยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบินอากาศยานไร้นักบินจะถูกเก็บไว้และจะนำออกมาใช้งานในบางภารกิจเท่านั้น
…ในส่วนของกองทัพอากาศยานไร้นักบินจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจ ที่มีอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญเสียโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนเครื่องบินที่ใช้ นักบินควบคุมในปัจจุบัน กองทัพอากาศได้เร่งพัฒนา โครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินให้เร็วขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 โดยมีเป้าหมายว่าจะให้มีเครื่องบินพร้อมใช้งาน 1 ฝูงบิน ในปี ค.ศ. 2008
…เมื่อเริ่มต้นโครงการ เอ็กซ์-45 มีเป้าหมายในการผลิตขึ้นใช้งานไว้ว่าต้องมีราคาเพียงครึ่งหนึ่งและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการเพียง 25%  ตลอดอายุการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 แต่ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนวัสดุชนิดใหม่มาใช้ในการสร้างและระบบประมวลผลแบบใหม่มาติดตั้งใช้งาน  และอากาศยานมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ราคาและค่าใช้จ่ายในการบินและการซ่อมบำรุงของ เอ็กซ์-45 ขยับสูงขึ้นเป็น 65% ของราคาและ 75% ทางด้านค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินและซ่อมบำรุงเมื่อเทียบกับเครื่องบินรบในยุคเป้าหมาย
…แผนแบบอากาศยานโจมตีไร้นักบิน เอ็กซ์-45 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลำตัวยาว 32 ฟุต ปีกกาง 47 ฟุต น้ำหนักตัวเปล่า 14,000 ปอนด์ น้ำหนักสูงสุด 19,000 ปอนด์ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟน เอส 404 – จีอี – 102 ดี ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ชนิดเดียวกันที่ใช้ขับเคลื่อนของบิน เอฟ/เอ –18 กองทัพเรือสหรัฐฯ สมรรถนะทางการบินทำความเร็วในการบินเดินทางได้ 0.85 มัค หรือเกือบเท่าความเร็วเสียงเพดานบินสูง 40,000 แผนแบบ เอ็กซ์-45 มีคุณลักษณะสังเกตเห็นได้ยาก รูปร่างคล้ายว่าว ไม่มีแพนหางดิ่งใต้ลำตัวมีห้องบรรทุกอาวุธ 2 ห้อง และจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ เพื่อใช้ในการรับเป้าหมาย 2 ระบบ ระบบแรก คือ ระบบ อีเอสเอ็ม (Electronic Support Measure)  เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจจับคลื่นสัญญาณเรดาร์ที่ปล่อยออกมาเพื่อคำนวณระยะที่ตั้งของที่ตั้งเรดาร์ ระบบที่สอง คือ เรดาร์ซาร์ (Synthetic Aperture Rader : SAR) เพื่อใช้ตรวจจับและค้นหาเป้าหมายภาคพื้นด้วยความละเอียดชัดเจนสูง สามารถตรวจจับและค้นหาเป้าหมายภาคพื้นแม้ในสภาพอากาศเลวตามแนวควมคิดในการปฏิบัติของกองทัพอากาศสหรัฐฯ จะนำอากาศยานไร้นักบินออกปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่นักบิน 3-4 เครื่อง โดยใช้ผู้ควบคุมคนเดียวในสถานีภาคพื้นดิน  ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ เอ็กซ์-45 จะได้รับการบันทึกข้อมูลเป้าหมายที่จะต้องทำการโจมตีไว้ล่วงหน้าในการค้นหาและไล่ล่าเป้าหมาย  อากาศยานไร้นักบินในหมู่บินจะใช้เรดาร์ประสานการปฏิบัติ เพื่อใช้กำหนดตำแหน่งเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศเป็นรูปสามเหลี่ยมและเชื่อมสัญญาณติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  จากนั้นอากาศยานไร้นักบินจะส่งภาพเป้าหมายจากการทำงานของเรดาร์ซาร์กลับมายังสถานีภาคพื้นดิน เพื่อทำการพิสูจน์ทราบเป้าหมายก่อนที่ผู้บัญชาการจะอนุมัติให้อากาศยานไร้นักบินโจมตีต่อไป
…อากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศจะมีรัศมีปฏิบัติการไกล 500-1,000 ไมล์ทะเล ออกแบบมาเพื่อให้สามารถบรรทุกอาวุธได้หนักสูงสุด 2,000 ปอนด์ ระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน ประกอบด้วยระเบิดเจแดมขนาด 500 ปอนด์ 4 ลูก หรือระเบิด เจแดม ขนาด 1,000 ปอนด์ 2 ลูก หรือระเบิดขนาดเล็ก (Small Diameter Bomb)  ขนาด 250 ปอนด์ จำนวน 12 ลูก ถ้าหากบรรทุกอาวุธไม่มากนัก หรือปฏิบัติภารกิจในรัศมีใกล้ให้อากาศยานไร้นักบินจะมีเวลาบินรอคอยเหนือพื้นที่ข้าศึกเป็นเวลายาวนานขึ้น  กองทัพอากาศจะไม่นำอากาศยานไร้นักบินออกปฏิบัติในหมู่บินเดียวกันกับเครื่องบินรบ  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย  เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกัน  อากาศยานไร้นักบินจะบินอยู่ห่างจากเครื่องบินรบหลายไมล์ และอากาศยานไร้นักบินแต่ละเครื่องในหมู่บินก็จะบินห่างกันมากในการออกปฏิบัติภารกิจอากาศยานไร้นักบินจะเป็นหมู่นำหน้าเครื่องบินรบเพื่อปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศของข้าศึก  เพื่อให้หมู่บินเครื่องบินรบปลอดภัยจากการต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานข้าศึก
…เมื่ออากาศยานกลับมาจากการปฏิบัติภารกิจจะถูกถอดปีกออกเพื่อบรรจุเข้าตู้คอนเทรนเนอร์ขนย้ายไปปฏิบัติภารกิจที่อื่นโดยการขนส่งไปโดยเครื่องบินลำเลียง ซี-17 หรือ ซี-5  โดย ซี-17 เครื่อง สามารถบรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์บรรจุชิ้นส่วนของ เอ็กซ์ – 45 บี  ไปได้ 6 เครื่อง  หรือเตรียมสำหรับปฏิบัติการบินครั้งต่อไป เอ็กซ์ – 45 สามารถเก็บไว้ในตู่คอนเทรนเนอร์ไว้นานถึง 10 ปีถ้าหารกไม่มีการนำออกมาใช้งาน  แต่ต้องได้รับการตรวจซ่อมและปรับปรุงซอฟท์แวร์ตามระยะเวลา  เมื่อจะนำออกมาใช้งานจะใช้เวลาในการประกอบเครื่อง การเตรียมการบิน  เติมเชื้อเพลิง  และติดตั้งอาวุธ  60-90  นาที
…เอ็กซ์-45 ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดไร้นักบินมากกว่า  กองทัพอากาศสหรัฐฯ สามารถปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศเพื่อเพิ่มพิสัยปฏิบัติการเมื่อทำการโจมตีเป้าหมายเสร็จสิ้น  บินกลับมาลงยังสนามบินหน้าที่อยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติการเพื่อเติมเชื้อเพลิงและติดตั้งอาวุธใหม่เพื่อปฏิบัติภารกิจครั้งต่อไป  สำหรับการผลิต เอ็กซ์-45 ขึ้นใช้งานมีการวางแผนจะทำการผลติ จำนวน 3 บลอคการผลิต บลอคแรก คือ บลอค 10 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่จะสร้างขึ้นมาใช้งานอย่างง่ายๆ สำหรับปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  เอ็กซ์ – 45 บลอค 10 สามารถบรรทุกระเบิด เอสดีบี ขนาด 250 ปอนด์ ได้จำนวน 12 ลูก เท่ากับเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 35 ถ้าหากไม่ติดตั้งอาวุธห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวและสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัวได้อีกด้วย
…เอ็กซ์-45 บลอค 20 เป็นรุ่นที่สองที่จะได้รับการผลิตขึ้นมาต่อจาก บลอค 10 เอ็กซ์-45 บลอค 20 สามารถปฏิบัติารเชิงรุกในการปฏิบัติภารกิจกดดันระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  โดยการบินวนเหนือพื้นที่การรบและสามารถตรวจจับภัยคุกคามจากระบบป้องกันทางอากาศที่ทันสมัย  และทำการโจมตีโดยอัตโนมัติ
…เอ็กซ์-45 บลอค 30 เป็นรุ่นสุดท้ายที่วางแผนจะทำการผลิต รุ่นนี้จะมีระบบอาวุธที่ก้าวหน้ามากโดยเปลี่ยนจากระเบิดมาเป็นอาวุธลำแสงที่มีพลังสูงซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังศึกษาอยู่ว่าจะใช้แบบใดระหว่างคลื่นไมโครเวฟ หรือเลเซอร์ อาวุธลำแสงพลังสูงสามารถใช้ทำลายเป้าหมายระบบป้องกันทางอากาศข้าศึก  และทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายจนใช้งานไม่ได้  เช่น  อุปกรณ์สื่อสารของศูนย์ควบคุมและสั่งการ
…บริษัท โบอิ้ง ทำการสร้างเครื่องต้นแบบสาธิตทางเทคโนโลยี เอ็กซ์-45 เอ จำนวน 2 เครื่อง ขณะนี้เครื่องที่สองสร้างเสร็จแล้วเตรียมนำมาทำการบินทดสอบร่วมกับเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในปีหน้า สำหรับเครื่องสาธิตทางเทคโนโลยี เอ็กซ์ – 45 บี ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เท่ากับของจริง กำหนดจะสร้างเสร็จและทำการบินทดสอบในปี 2005  เมื่อ  7  สิงหาคมที่ผ่านมากองทัพอากาศได้จัดสรรงบประมาณให้กับบริษัท  โบอิ้ง  จำนวน 460 ล้านเหรัยญสหรัฐ เพื่อดำเนินงานตามโครงการต่อไปจนสิ้นสุดปี 2004 ซึ่งแผนงานประกอบด้วยงานทดสอบเครื่องต้นแบบ เอ็กซ์ – 45 เอ 2 เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้น ซึ่งทางบริษัทโบอิ้งได้นำงบประมาณที่ได้เกือบทั้งหมด ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปทำการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินแบบใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า  เอ็กซ์-45 บี มีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากได้ดีกว่า  และมีความทันสมัยมากกว่าซึ่งอากาศยานไร้นักบินแบบใหม่นี้จะมีขนาดเท่ากับเครื่องบินขับไล่ เอฟ – 18 มีน้ำหนักเปล่า 10,000 ปอนด์ น้ำหนักสูงสุด 19,000 ปอนด์ และบรรทุกอาวุธได้หนัก 3,600 ปอนด์
…รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เร่งโครงการอากาศยานโจมตีไร้นักบินให้เร็วขึ้นกว่ากำหนด 2 ปี โดยได้จัดสรรงบประมาณ 2003 ให้กับโครงการอากาศยานไร้นักบิน โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี ค.ศ.2008 จะมีเอ็กซ์-45 บี จำนวน 18 เครื่อง พร้อมใช้งาน และตั้งเป้าหมายว่าจะจัดหาอากาศยานที่ทำการผลิตใน บลอค 10 มาใช้งานทั้งหมดรวม 60 เครื่อง

เปรียบเทียบข้อมูล เอ็กซ์ – 45 เอ และ เอ็กซ์ – 45 บี

            เอ็กซ์-45 เอ      เอ็กซ์-45 บี
น้ำหนักตัวเปล่า (ปอนด์)         8,000         14,000
บรรทุกเชื้อเพลิง (ปอนด์)         2,680         5,400
บรรทุกอาวุธหรือบริภัณฑ์อื่นๆ ได้หนัก (ปอนด์)      1,500         2,000
เพดานบินปฏิบัติการ         35,000         40,000
ความเร็วในการบินเดินทาง (มัค)         0.80         0.85
เครื่องยนต์            เอฟ 124-จีเอ-100      เอฟ 404-จีอี-102 ดี
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #382 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2005, 03:48:07 PM »

เอา ภาพมาประกอบบทความอีกตามเคยครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #383 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2005, 03:50:51 PM »

นักบิน เครื่องบินรบ คงเป็นอดีตในไม่ช้า หัวเราะร่าน้ำตาริน หัวเราะร่าน้ำตาริน หัวเราะร่าน้ำตาริน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #384 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2005, 05:22:50 PM »

สงครามทางอากาศ ในอนาคต คงเป็นการทำสงครามที่นักบินไม่มีโอกาศเห็นนักบินฝ่ายตรงข้าม คงเป็นสงครามที่ต่างฝ่าย ส่งหุ่นยนต์มารบกัน ฝ่ายใหนมีเทคโนโลยี่ที่เหนือกว่า ก็เป็นฝ่ายชนะ Angry Angry Angry
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #385 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2005, 12:39:28 AM »

UAV ที่น่าสนใจอีกแบบคือ เครื่อง Pathfinder เพราะ เป็นเครื่องบินไรคนขับแบบแรกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณอีเล็กทรอนิก เฉพาะจุด โดยเครื่องสามารถบินได้เป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิง เพราะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั่นเอง



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
pira
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 39


« ตอบ #386 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2005, 02:53:37 PM »

ขอบขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ, ภาพประกอบสวยงาม, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับท่าน hydra, ท่าน 686, naimai, ท่าน nakin  และท่านอื่นๆ ที่
ไม่ได้เอ่ยนาม       ขออนุญาตเซพภาพอันสวยงามเก็บไว้  ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับ
ความปราถาดีของทุกท่าน Cheesy
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #387 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2005, 04:10:07 PM »

วันนี้จะมาเล่าเรื่อง…..……การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ
…เป็นเวลานานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว  ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้หยุดการพัฒนาอากาศยานทางด้านการขนส่งเอาไว้ โดยหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ จนมีความก้าวหน้าและทันสมัยเหนือฝ่ายตรงข้ามและพันธมิตรด้วยกันอย่างสิ้นเชิง และโครงการก็กำลังดำเนินการไปด้วยดี เอฟ – 22  เจ้านกนักล่า (F-22, RAPTOR)  เป็นเครื่องบินขับไล่ล่องหนความเร็วสูง สามารถบินเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือเสียงมีกำหนดจะเข้าประจำการ ในปี ค.ศ.2005 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เพื่อผลิตขึ้นมาใช้ประจำการใน 3 เหล่าทัพของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร เพื่อทดแทนเครื่องบิน เอฟ-16 , เอวี – 8 ,เอฟ – 18  และ เอ – 10  มีกำหนดการเริ่มมีสายการผลิตในปี ค.ศ.2008  แต่จากบทเรียนของสงครามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้กลาโหมสหรัฐฯ ต้องเร่งลงทุน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศให้มากขึ้น โดยการพิจารณาเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียง (TRANSPORT AIRPLANES) และเครื่องบินเติมน้ำมันในอากาศ (TANKERS) เพิ่มขึ้นรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกิจการดังกล่าวด้วย โดยบทเรียนที่สำคัญที่ได้รับจากการทำสงครามในอัฟกานิสถานที่เพิ่งจะผ่านมาไม่ถึงปีนี้ ได้บ่งบอกถึงความต้องการเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศที่เพิ่มขึ้นเพื่อการปฏิบัติการรบที่มีระยะทางครึ่งโลก อย่างสงครามอัฟกานิสถานและทำให้ได้รับบทเรียนว่า การทำสงคราในอนาคต หน่วยทหารของสหรัฐมีความต้องการที่จะต้องเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมาก
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอย่างรีบเร่งในการจัดหาเครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17 เพิ่มขึ้นกำลังดำเนินการในโปรแกรมการประเมินค่าการต่ออายุประจำการของเครื่องบินลำเลียง ซี-5 และกำลังพิจารณาที่จะพัฒนาปรับปรุงเครื่องบินลำเลีบง ซี-130 หรือจัดหาทดแทนโดยเครื่องบินรุ่นใหม่ ซี-130 เจ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร
เครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17
…การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอัฟกานิสถานที่ผ่านมา ต้องอาศัยการสนับสนุนทางอากาศเท่านั้น การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพลอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ต้องใช้บริการเครื่องบินลำเลียง ซี –17 เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบเดียวที่มีขีดความสามารถเดินทางระยะไกลระหว่างทวีปได้ (INTERCONTINENTAL DISTANCE) โดยมีระวางบรรทุกขนาดใหญ่และสามารถบินลงได้ในเขตพื้นที่การรบบททางวิ่งที่ไม่ดีนัก
…ซี – 17 เป็นเครื่องบินลำเลียงหนัก ที่มีบทบาทตั้งแต่ช่วงแรกของการทำสงครามอัฟกานิสถาน เริ่มต้นด้วยการบินส่งอาหารเพื่อการปฏิบัติการทางมนุษยธรรมในพื้นที่การรบ โดยการบินคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่ ในช่วงแรกของสงครามก่อนที่กำลังต่อต้านทางอากาศของกำลังฝ่ายตาลีบันจะถูกทำลายในช่วง 2 เดือนแรกของสงคราม ซี-17 ได้ทิ้งส่ง (AIR DROP) อาหารเป็นจำนวนมากถึงกว่า 2 ล้าน ชุดปันอาหาร (RATION) ในช่วงการพัฒนาและเริ่มผลิต ซี-17 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้สังซื้อ ซี-17 ไปแล้วจำนวน 120 เครื่อง โดยเริ่มเข้าประจำการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.1993 ในกองทัพอากาศสหรัฐ ปัจจุบันได้ส่งมอบแล้วจำนวน 89 เครื่อง และเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2545 ที่ผ่านมา กองทัพอากาศสหรัฐได้เซ็นสัญญากับบริษัทโบอิ้งซื้อ ซี-17 เพิ่มเติมอีก 60 เครื่อง มูลค่า 9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะส่งให้ครบจำนวนทั้งหมด 2 สัญญา รวม 180 เครื่อง ในปี ค.ศ.2008
…ราคาต่อเครื่องของ ซี-17 ในสัญญาใหม่นี้มีราคาถูกลงเนื่องมาจากประสิทธิภาพการผลิต โดยมีราคาเครื่องละประมาณ 152 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6500 ล้านบาท) โดยสัญญาเก่าที่ซื้อครั้งแรก 120 เครื่องราคาเครื่องละ 198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8500 ล้านบาท) นอกจากเครื่อง ซี-17 ในสัญญาใหม่จะถูกลงมากกว่าแล้วยังได้รับการพัฒนาติดตั้งถังน้ำมัน (FUEL TANK) ให้สามารถบินได้ระยะทางไกลขึ้น การผลิต ซี-17 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเครื่องบินได้เร็วกว่ากำหนด 3 เดือน
…ในปัจจุบัน ซี-17 มีความต้องการทางยุทธการสูงมากกองทัพอากาศได้กำหนดให้มีนักบินประจำเครื่องจำนวน 3 คน เพื่อ ซี –17 สามารถสนองภารกิจและบินได้ตลอดเวลา อัตราการใช้อะไหล่และชั่วโมงบินของ ซี-17 ในปัจจุบันสูงกว่าแผนที่วางไว้มาก
ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถาน
…ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถานได้บอกให้ทราบถึงความต้องการการบินลำเลียงทางอากาศในสงครามสมัยใหม่ที่แท้จริง คือต้องการเครื่องบินลำเลียงที่มีขนาดใหญ่สามารถบินได้ไกลและที่สำคัญ สามารถบินลงในเขตพื้นที่การรบได้ ซี-17 สามารถตอบสนองภารกิจได้ แต่ความต้องการตามจำนวนเที่ยวบินยังมีองค์ประกอบอื่นที่ต้องพิจารณา  การปฏิบัติการเพื่อเสรีภาพอันยาวนาน (OPERATION ENDURING FREEDOM)  ในสงครามอัฟกานิสถาน ยังไม่ใช่สนามรบใหญ่ (MAJOR THRATER WAR , MTW)  ที่แท้จริงเพราะหากเป็นสนามรบใหญ่ที่แท้จริงแล้ว จะมีการขนส่งสิ่งของอุปกรณ์การรบ การส่งกำลังทางทหารมากมายมหาศาลกว่านี้จะต้องมีการจัดตั้งฐานปฏิบัติการส่วนตัว (FORWARD OPERATING LOCATION , FOL)  อีกหลายฐานจะต้องมีการเคลื่อนย้ายกองทหาร (TROOP)  พาหนะ และเฮลิคอปเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนมากมายมหาศาล….(ไว้มาต่อวันพรุ่งนี้ครับ) Grin Grin
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #388 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2005, 09:14:08 PM »

ภาพตามบทความครับ

เคยลงไปแล้ว แต่ลงใหม่ให้ครับ


























































[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2005, 09:23:18 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #389 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2005, 03:21:29 PM »

  ทีแรกก้ว่าจะมาโพสให้เข้ากับรูปแหละครับพี่แต่เอาเรื่องอื่นที่น่าตื่นเต้นกว่ามาโพสก่อน Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 25 [26] 27 28 29 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 21 คำสั่ง