วันนี้จะมาเล่าเรื่อง
..
การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ
เป็นเวลานานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้หยุดการพัฒนาอากาศยานทางด้านการขนส่งเอาไว้ โดยหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ จนมีความก้าวหน้าและทันสมัยเหนือฝ่ายตรงข้ามและพันธมิตรด้วยกันอย่างสิ้นเชิง และโครงการก็กำลังดำเนินการไปด้วยดี เอฟ 22 เจ้านกนักล่า (F-22, RAPTOR) เป็นเครื่องบินขับไล่ล่องหนความเร็วสูง สามารถบินเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือเสียงมีกำหนดจะเข้าประจำการ ในปี ค.ศ.2005 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เพื่อผลิตขึ้นมาใช้ประจำการใน 3 เหล่าทัพของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร เพื่อทดแทนเครื่องบิน เอฟ-16 , เอวี 8 ,เอฟ 18 และ เอ 10 มีกำหนดการเริ่มมีสายการผลิตในปี ค.ศ.2008 แต่จากบทเรียนของสงครามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้กลาโหมสหรัฐฯ ต้องเร่งลงทุน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศให้มากขึ้น โดยการพิจารณาเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียง (TRANSPORT AIRPLANES) และเครื่องบินเติมน้ำมันในอากาศ (TANKERS) เพิ่มขึ้นรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกิจการดังกล่าวด้วย โดยบทเรียนที่สำคัญที่ได้รับจากการทำสงครามในอัฟกานิสถานที่เพิ่งจะผ่านมาไม่ถึงปีนี้ ได้บ่งบอกถึงความต้องการเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศที่เพิ่มขึ้นเพื่อการปฏิบัติการรบที่มีระยะทางครึ่งโลก อย่างสงครามอัฟกานิสถานและทำให้ได้รับบทเรียนว่า การทำสงคราในอนาคต หน่วยทหารของสหรัฐมีความต้องการที่จะต้องเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมาก
กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอย่างรีบเร่งในการจัดหาเครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17 เพิ่มขึ้นกำลังดำเนินการในโปรแกรมการประเมินค่าการต่ออายุประจำการของเครื่องบินลำเลียง ซี-5 และกำลังพิจารณาที่จะพัฒนาปรับปรุงเครื่องบินลำเลีบง ซี-130 หรือจัดหาทดแทนโดยเครื่องบินรุ่นใหม่ ซี-130 เจ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร
เครื่องบินลำเลียงรุ่นใหม่ ซี-17
การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอัฟกานิสถานที่ผ่านมา ต้องอาศัยการสนับสนุนทางอากาศเท่านั้น การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพลอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ต้องใช้บริการเครื่องบินลำเลียง ซี 17 เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบเดียวที่มีขีดความสามารถเดินทางระยะไกลระหว่างทวีปได้ (INTERCONTINENTAL DISTANCE) โดยมีระวางบรรทุกขนาดใหญ่และสามารถบินลงได้ในเขตพื้นที่การรบบททางวิ่งที่ไม่ดีนัก
ซี 17 เป็นเครื่องบินลำเลียงหนัก ที่มีบทบาทตั้งแต่ช่วงแรกของการทำสงครามอัฟกานิสถาน เริ่มต้นด้วยการบินส่งอาหารเพื่อการปฏิบัติการทางมนุษยธรรมในพื้นที่การรบ โดยการบินคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่ ในช่วงแรกของสงครามก่อนที่กำลังต่อต้านทางอากาศของกำลังฝ่ายตาลีบันจะถูกทำลายในช่วง 2 เดือนแรกของสงคราม ซี-17 ได้ทิ้งส่ง (AIR DROP) อาหารเป็นจำนวนมากถึงกว่า 2 ล้าน ชุดปันอาหาร (RATION) ในช่วงการพัฒนาและเริ่มผลิต ซี-17 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้สังซื้อ ซี-17 ไปแล้วจำนวน 120 เครื่อง โดยเริ่มเข้าประจำการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.1993 ในกองทัพอากาศสหรัฐ ปัจจุบันได้ส่งมอบแล้วจำนวน 89 เครื่อง และเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2545 ที่ผ่านมา กองทัพอากาศสหรัฐได้เซ็นสัญญากับบริษัทโบอิ้งซื้อ ซี-17 เพิ่มเติมอีก 60 เครื่อง มูลค่า 9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะส่งให้ครบจำนวนทั้งหมด 2 สัญญา รวม 180 เครื่อง ในปี ค.ศ.2008
ราคาต่อเครื่องของ ซี-17 ในสัญญาใหม่นี้มีราคาถูกลงเนื่องมาจากประสิทธิภาพการผลิต โดยมีราคาเครื่องละประมาณ 152 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6500 ล้านบาท) โดยสัญญาเก่าที่ซื้อครั้งแรก 120 เครื่องราคาเครื่องละ 198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8500 ล้านบาท) นอกจากเครื่อง ซี-17 ในสัญญาใหม่จะถูกลงมากกว่าแล้วยังได้รับการพัฒนาติดตั้งถังน้ำมัน (FUEL TANK) ให้สามารถบินได้ระยะทางไกลขึ้น การผลิต ซี-17 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเครื่องบินได้เร็วกว่ากำหนด 3 เดือน
ในปัจจุบัน ซี-17 มีความต้องการทางยุทธการสูงมากกองทัพอากาศได้กำหนดให้มีนักบินประจำเครื่องจำนวน 3 คน เพื่อ ซี 17 สามารถสนองภารกิจและบินได้ตลอดเวลา อัตราการใช้อะไหล่และชั่วโมงบินของ ซี-17 ในปัจจุบันสูงกว่าแผนที่วางไว้มาก
ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถาน
ประสบการณ์จากสงครามอัฟกานิสถานได้บอกให้ทราบถึงความต้องการการบินลำเลียงทางอากาศในสงครามสมัยใหม่ที่แท้จริง คือต้องการเครื่องบินลำเลียงที่มีขนาดใหญ่สามารถบินได้ไกลและที่สำคัญ สามารถบินลงในเขตพื้นที่การรบได้ ซี-17 สามารถตอบสนองภารกิจได้ แต่ความต้องการตามจำนวนเที่ยวบินยังมีองค์ประกอบอื่นที่ต้องพิจารณา การปฏิบัติการเพื่อเสรีภาพอันยาวนาน (OPERATION ENDURING FREEDOM) ในสงครามอัฟกานิสถาน ยังไม่ใช่สนามรบใหญ่ (MAJOR THRATER WAR , MTW) ที่แท้จริงเพราะหากเป็นสนามรบใหญ่ที่แท้จริงแล้ว จะมีการขนส่งสิ่งของอุปกรณ์การรบ การส่งกำลังทางทหารมากมายมหาศาลกว่านี้จะต้องมีการจัดตั้งฐานปฏิบัติการส่วนตัว (FORWARD OPERATING LOCATION , FOL) อีกหลายฐานจะต้องมีการเคลื่อนย้ายกองทหาร (TROOP) พาหนะ และเฮลิคอปเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนมากมายมหาศาล
.(ไว้มาต่อวันพรุ่งนี้ครับ)
