เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กรกฎาคม 01, 2025, 04:39:20 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพิ่มประสิทธิภาพ ปืนได้ จริง หรือ ???  (อ่าน 5166 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 04:35:06 PM »

คงจะมีการจัดเรียงตัวของอะตอมดีขึ้น... Grin

ผมคุ้นแต่ PWHT... เย็นๆ แบบนี้ไม่รู้จัก  Grin


ฝรั่งบอกแม่นขึ้นนิ ==> http://www.cryogenicsinternational.com/shooting.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 04:59:37 PM โดย JongRakN » บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 05:02:44 PM »

โอ้...

ขอบคุณพี่บุญกับคุณไฮดร้าครับ...

นายสมชายทราบแล้วครับ... สรุปคือผิวแข็งขึ้น และทำให้เนื้อโลหะลำกล้องเคลื่อนไหวขณะกระสุนวิ่งผ่าน ได้เป็นระเบียบคงที่แน่นอนในแต่ละนัดด้วยครับ...

ตามข้อความภาษาอังกฤษของพี่บุญฯ นายสมชายสรุปได้ทำนองว่าขณะกระสุนผ่านในลำกล้อง ตัวลำกล้องเองจะเคลื่อนไหวเหมือนสายยางรดน้ำต้นไม้แหละครับ... ไม่ฮา... เพียงแต่มันเร็วมาก วาร์ป... ออกไปเลย...
บันทึกการเข้า
Tanate(รักในหลวง)
Hero Member
*****

คะแนน 243
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2039



« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 06:55:21 PM »

ท่านที่ไม่ได้เรียนโลหะวิทยามาคงงงแน่เลยว่า อะไรคือออสเทนไนต์ อะไรคือมาเทนไซต์  Grin




ขอบคุณจขกท.  และคุณไฮดร้า ที่ทำให้ผมรู้ว่าตำราเรียนโลหะวิทยาผมหายครับ  หัวเราะร่าน้ำตาริน
หาไม่เจอเลยไม่ได้เพิ่มเติมข้อมูลบ้าง
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆครับ   ไหว้
บันทึกการเข้า

โดนแล้วครับ นายอำเภอใจกับปลัดขิก เบื่อระบบข้าราชการไทย ของดเล่นปืนไปก่อนนะครับ
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 07:29:04 PM »

ท่านที่ไม่ได้เรียนโลหะวิทยามาคงงงแน่เลยว่า อะไรคือออสเทนไนต์ อะไรคือมาเทนไซต์  Grin




ขอบคุณจขกท.  และคุณไฮดร้า ที่ทำให้ผมรู้ว่าตำราเรียนโลหะวิทยาผมหายครับ  หัวเราะร่าน้ำตาริน
หาไม่เจอเลยไม่ได้เพิ่มเติมข้อมูลบ้าง
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆครับ   ไหว้

พี่ๆคนไหนสนใจเรื่องเกี่ยวกับเหล็กและเหล็กกล้าเบื้องต้นตามไปอ่านได้ที่นี่ครับ  เหมือนตำราพื้นฐานวิศวะเด๊ะๆ  Grin Grin  โลหะวิทยาเป็นวิชายากที่ผมชอบที่สุด  โดยเฉพาะตอนเทสคุณสมบัติ   หลงรัก

http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/5513101/termwork/iron/iron2.html
http://www.kongpitukthum.th.gs/web-k/utu/bbb2.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 07:37:08 PM โดย Arjuna (Hydra) » บันทึกการเข้า
bymanshop
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 21


« ตอบ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 09:01:20 PM »

เหล็กมันคงน่าจะหดตัวจากความเย็นนะครับ ถ้าชุบลำกล้องน่าจะดีมากๆ หลงรัก
บันทึกการเข้า
BAI
Full Member
***

คะแนน 13
ออฟไลน์

กระทู้: 214


« ตอบ #35 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 10:25:25 PM »

ละเอียดยิบครับ
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #36 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2009, 10:28:57 PM »

นายสมชายโง่เลยแฮะ... สรุปแล้วเอาปืนไปชุบแล้วได้อะไรขึ้นมาครับ...

เช่นชุบแล้วปืนแข็งขึ้นพร้อมกับเหนียวขึ้นพร้อมกัน ทำให้ทนขึ้น...
หรือทำให้ยิงแม่นขึ้น เพราะโลหะมันทำอะไรซักอย่างนึง ทำให้กระสุนวิ่งคงที่เป็นระเบียบยิ่งขึ้น... หรือเปล่าครับ...

คือสงสัยง่ายๆ ว่าทำไปทำไมครับ...
และหากไม่ได้ทำ มันจะไม่ดียังไงเล่าครับ ถึงได้ต้องไปทำมันให้เสียเงิน...


คำถามนี้   เยี่ยม


บันทึกการเข้า
kamet
Full Member
***

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #37 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 05:39:11 PM »

ที่ KRM performance ของเวป คนรักมีด เรามีอุปกรณ์นี้ครับ ใช้ในการชุบแข็ง สำหรับมีด ที่กลุ่มคนรักมีผลิตขึ้นครับ
ลองเข้าไปคุยได้ที่ konrakmeed.com ครับ
ท่านสมชาย(ฮา) ถ้าเจอ อ.pex ให้แกเอามีด ที่KRM performance ทำขึ้น มาลองเล่นดูได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 05:42:33 PM โดย kamet » บันทึกการเข้า
Luzefer
15 rounds.
Jr. Member
**

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 97



« ตอบ #38 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 06:09:31 PM »

ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.htg2.net/index.php?topic=43251.0
ราคาไม่แพงมากนะครับ น่าสนใจดี
บันทึกการเข้า
BIGFISH
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 94
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1174


กระบี่หวั่นไหว คนใช้ไร้คม


« ตอบ #39 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 07:46:32 PM »

ขอแจมด้วยคนครับ (เป็ดทุกเรื่อง)

อยากโม้ว่าโลหะวิทยา ได้คะแนน Top  ของห้องจริงๆ ประมาณว่าให้วาดรูปผลึกเจ้ามาเมนไซต์ที่ตอนนั้นเป็น Hero ของผม อธิบายคุณสมบัติ ประโยชน์ทำที่ตักดินของรถขุแมคโคร   แต่ยังไม่ดีพอ คุณครูท่าน (น.อ.ผศ.ดร.ไกรพ กมลนาวิน)  ไหว้ให้ B+  ไม่ดีพอสำหรับ A น่าสงสาร
ก่อนสอบคุณครูท่านเก็งข้อสอบให้ เรื่องนี้อัตนัย อ อ่าง อย่าเอ็ดไป เรื่องนี้ก็ อ อ่าง อ อ่างเกือบทุกเรื่อง เก็งให้อย่างนี้  คุณครูบอกคำเดียวว่าท่องทั้งเล่มก็ได้ครับ ขออนุญาตเรียนด้วยความเคารพว่า เรื่องที่คุณครูเก็งให้กับเรื่องที่คุณครูออกสอบน่ะมันไม่ตรงกันนะครับ  ออกจากห้องสอบ เกือบทุกคนส่ายหน้าหมด

ทดลองเอาหัวไม้ไปชุบเย็นมาแล้ว  แต่อาศัยฝีมือที่เป็นประสิทธิภาพประจำตัวยังไม่สามารถรู้สึกถึงประสิทธิภาพล้ำเลิศของอุปกรณ์อะไรได้ ประโยชน์ที่ได้ชัดๆคือเมื่อเล่าจบจะเพิ่มเรื่องฮาให้เพื่อนอีกเรื่อง สุดท้ายไม่ได้ใช้ เปลี่ยนมาใช้อันใหม่ที่ก้านแข็งกว่า  น่าสงสารมากๆ

สุดท้าย ที่นี่ ข้อมูลสุดยอดจริงๆ ชอบครับ เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 07:52:25 PM โดย BIGFISH » บันทึกการเข้า

ดาบของชาติเล่มนี้   คือชีวิตเรา
ถึงจะคมอยู่ดี            ลับไว้
ใหญ่_ขอนแก่น
Full Member
***

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


คุณธรรม นำ ประชาธิปไตย


« ตอบ #40 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2009, 10:00:15 PM »

มีข้อมูลเพิ่มเติม ฝากให้ท่านที่สนใจ....ติดตามขยายความดูอีกเรื่องคือ เรื่อง ไอออน อิมพลานเตชั่น
เป็นข่าวเก่าๆจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พอดีเคยผ่านตา เลยเก็บไว้ ดังนี้ครับ...

Ion Implantation คือการฝังไอออนที่ผิวของวัสดุ เป็นหนึ่งในกระบวนการปรับผิวหน้าวัสดุให้มีสมบัติ เชิงกายภาพดีขึ้น
เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานพิเศษด้านต่าง ๆ ในกระบวนการนี้ไอออนของธาตุต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน โบรอน ถูกยิงไปฝังบนผิวของวัสดุ
พลังงานของไอออนส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเรือน 100 keV ขึ้นไป ไอออนจะฝังลึกลงไปในผิวประมาณ 0.1 ไมครอน กระบวนการทั้งหมด
ดำเนินไปในห้องที่มีความดันบรรยากาศต่ำ สมบัติเชิงกายภาพที่ผิวซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากการฝังด้วยไอออนจำนวนหนึ่งคือ
ความแข็ง การสึกหรอ การเสียดทาน และการเป็นสนิม เป็นต้น
       เครื่องไอออนอิมพลานเตชั่นประกอบด้วย เครื่องกำเนิดไอออนระบบเร่งอนุภาค ระบบกรองอนุภาค(beam analyser), ระบบ
นำลำอนุภาค(beam transport system) และห้องแขวนเป้า(target chamber) โดยที่ส่วนประกอบ ทั้งหมดนี้อยู่ในระบบสูญญากาศ
เครื่องกำเนิดไอออนเป็นแหล่งผลิตไอออนให้แก่ระบบ ไอออนจากเครื่องกำเนิด จะถูกทำให้มีพลังงานตามที่ต้องการด้วยระบบเร่งอนุภาค
โดยทั่วไปแล้วไอออนที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไอออน มีหลายชนิด เมื่อไอออนเหล่านี้ผ่านเข้าไปในส่วน beam analyser ไอออน
ชนิดที่ไม่ต้องการก็จะถูกคัดออก ทำให้ได้ลำไอออนที่บริสุทธิ์ออกมา หลังจากนั้นลำไอออนจะถูกนำส่งไปยังพื้นผิวของวัสดุที่วางอยู่ใน
target chamber ในบรรดาส่วนประกอบของเครื่องไอออนอิมพลานเตชั่นที่กล่าวมาแล้วนั้น เครื่องกำเนิดไอออนเป็นส่วนที่ซับซ้อนที่สุด
ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหัวใจของเครื่องอิมพลานเตชั่น ในขณะที่ beam analyser และ beam transport system ซึ่งเป็นระบบแม่เหล็กไฟฟ้า
ก็นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน
       ไอออนอิมพลานเตชั่นเป็นเทคนิคของการเคลือบแข็งแบบใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ
- เคลือบวัสดุ โดยไม่เปลี่ยนแปลงขนาดของวัสดุนั้น,
- ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดแน่นของสารเคลือบกับวัสดุ,
- ไม่มีปัญหา Thermal distortion ผิวชิ้นงานได้รับการขัดไปในตัว
- การฝังตัวของอะตอมเป็นกระบวนการระดับจุลภาค   ดังนั้น  การรวมตัวกับธาตุเดิมจึงกลมกลืนที่สุด
นอกจากนี้วิธีไอออนอิมพลานเตชั่นยังเป็นการเปลี่ยนแปลงสมบัติผิวของวัสดุ ซึ่งขึ้นกับชนิดของไอออนที่ใช้ด้วย
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : Web Sites
       - ION IMPLANTATION : http://www.rpi.edu/dept/chem-eng/WWW/faculty/cale/cl./SMP/lecture8/sld001.htm
ปัจจุบันผมยังไม่อัพเดทเรื่องนี้ครับ....
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #41 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2009, 04:23:47 PM »

มีข้อมูลเพิ่มเติม ฝากให้ท่านที่สนใจ....ติดตามขยายความดูอีกเรื่องคือ เรื่อง ไอออน อิมพลานเตชั่น
เป็นข่าวเก่าๆจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พอดีเคยผ่านตา เลยเก็บไว้ ดังนี้ครับ...

Ion Implantation คือการฝังไอออนที่ผิวของวัสดุ เป็นหนึ่งในกระบวนการปรับผิวหน้าวัสดุให้มีสมบัติ เชิงกายภาพดีขึ้น
เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานพิเศษด้านต่าง ๆ ในกระบวนการนี้ไอออนของธาตุต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน โบรอน ถูกยิงไปฝังบนผิวของวัสดุ
พลังงานของไอออนส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเรือน 100 keV ขึ้นไป ไอออนจะฝังลึกลงไปในผิวประมาณ 0.1 ไมครอน กระบวนการทั้งหมด
ดำเนินไปในห้องที่มีความดันบรรยากาศต่ำ สมบัติเชิงกายภาพที่ผิวซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากการฝังด้วยไอออนจำนวนหนึ่งคือ
ความแข็ง การสึกหรอ การเสียดทาน และการเป็นสนิม เป็นต้น
       เครื่องไอออนอิมพลานเตชั่นประกอบด้วย เครื่องกำเนิดไอออนระบบเร่งอนุภาค ระบบกรองอนุภาค(beam analyser), ระบบ
นำลำอนุภาค(beam transport system) และห้องแขวนเป้า(target chamber) โดยที่ส่วนประกอบ ทั้งหมดนี้อยู่ในระบบสูญญากาศ
เครื่องกำเนิดไอออนเป็นแหล่งผลิตไอออนให้แก่ระบบ ไอออนจากเครื่องกำเนิด จะถูกทำให้มีพลังงานตามที่ต้องการด้วยระบบเร่งอนุภาค
โดยทั่วไปแล้วไอออนที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไอออน มีหลายชนิด เมื่อไอออนเหล่านี้ผ่านเข้าไปในส่วน beam analyser ไอออน
ชนิดที่ไม่ต้องการก็จะถูกคัดออก ทำให้ได้ลำไอออนที่บริสุทธิ์ออกมา หลังจากนั้นลำไอออนจะถูกนำส่งไปยังพื้นผิวของวัสดุที่วางอยู่ใน
target chamber ในบรรดาส่วนประกอบของเครื่องไอออนอิมพลานเตชั่นที่กล่าวมาแล้วนั้น เครื่องกำเนิดไอออนเป็นส่วนที่ซับซ้อนที่สุด
ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหัวใจของเครื่องอิมพลานเตชั่น ในขณะที่ beam analyser และ beam transport system ซึ่งเป็นระบบแม่เหล็กไฟฟ้า
ก็นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน
       ไอออนอิมพลานเตชั่นเป็นเทคนิคของการเคลือบแข็งแบบใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ
- เคลือบวัสดุ โดยไม่เปลี่ยนแปลงขนาดของวัสดุนั้น,
- ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดแน่นของสารเคลือบกับวัสดุ,
- ไม่มีปัญหา Thermal distortion ผิวชิ้นงานได้รับการขัดไปในตัว
- การฝังตัวของอะตอมเป็นกระบวนการระดับจุลภาค   ดังนั้น  การรวมตัวกับธาตุเดิมจึงกลมกลืนที่สุด
นอกจากนี้วิธีไอออนอิมพลานเตชั่นยังเป็นการเปลี่ยนแปลงสมบัติผิวของวัสดุ ซึ่งขึ้นกับชนิดของไอออนที่ใช้ด้วย
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : Web Sites
       - ION IMPLANTATION : http://www.rpi.edu/dept/chem-eng/WWW/faculty/cale/cl./SMP/lecture8/sld001.htm
ปัจจุบันผมยังไม่อัพเดทเรื่องนี้ครับ....


ผมลองไปหารายละเอียดอ่านดู  พบว่าขั้นตอนและอุปกรณ์ยุ่งยากต้องใช้บุคลากรและใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูงมากทีเดียว
เกินระดับที่ผมเรียนไปเยอะเลยครับ(ความรู้ไม่ถึงขั้น  คิก คิก ) ไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะมีใช้กันกี่เครื่อง
นอกจากที่ ม.ช. กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  แต่ก็เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากทีเดียว  
แต่เห็นราคาอุปกรณ์แต่ล่ะชิ้นแล้วหน้ามืด  ตกใจ ตกใจ

http://thep-center.org/src/activity.html
http://www.nectec.or.th/rd/electronics/bs304-45/bs304-45.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 12, 2012, 07:17:57 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
cn021 รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 87



« ตอบ #42 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2009, 07:59:43 PM »

          การชุบเย็น”ครายโอจินิค” (Cryogenic Treatment) คือการชุบต่อจากการชุบแข็งโดยใช้อุณหภูมิตำมากคือ --196 C จะทำให้ออสเทนไนต์ที่เหลือค้าง (Retained austenite) เปลี่ยนเป็นมาร์เทนไซท์ให้มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเหล็กกล้าเครื่องมือส่วนใหญ่ผสมธาตุต่าง ๆ ในปริมาณสูง ซึ่งเมื่อมีการลดอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงจากออสเทนไนต์ไปเป็นมาร์เทนไซท์ ภายหลังการชุบแข็ง (Heat treatment) เหล็กกล้าจากอุณหภูมิออสเตนไนต์ในสารชุบที่อุณหภูมิห้อง ทำให้มีออสเทนไนท์เหลือค้างอยู่จำนวนหนึ่ง อันเป็นผลให้เหล็กมีความแข็งน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ออสเทนไนต์เหลือค้างมีโอกาสเปลี่ยนไปเป็น มาร์เทนไซท์ได้เมื่อถูกแรงกดหรือแรงดึงขณะใช้งาน ซึ่งโดยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ออสเทนไนท์จะมีปริมาตรจำเพาะต่ำกว่ามาร์เทนไซท์ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมจะมีผลโดยตรงกับขนาดชิ้นงาน กล่าวคือมีการขยายตัวก่อให้เกิดความเครียดกับเหล็ก อันเป็นผลให้เกิดการแตกร้าวและอายุการใช้งานสั้นลง

ประโยชน์ที่ได้จากครายโอจินิคทรีตเม้นท์
ครายโอจินิคทรีตเม้นท์ เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มากสำหรับอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม การกีฬา และผู้บริโภค กระบวนการนี้กระทำเพียงครั้งเดียวและเป็นการถาวร ประโยชน์ที่ได้อาทิเช่น
- เป็นการบำรุงเพียงครั้งเดียว
- รูปร่างของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงของมิติ 
- เพิ่มความหนาแน่นโครงสร้างของโมเลกุล โมเลกุลจัดตัวอย่างมีระเบียบ มีผลทำให้มีผิวสัมพัทธ์มากขึ้น ลดแรงเสียดทาน ทนความร้อน 
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งหมด ไม่ใช่การเปลี่ยนโครงสร้างเฉพาะผิว 
- เปลี่ยนแปลงออสเทนไนท์คงค้างให้เป็นมาร์เทนไซท์เกือบทั้งหมด
- เพิ่มความทนทานและเพิ่มอายุการใช้งานเครื่องจักร ลดการบำรุงรักษา ลดเวลาสูญเปล่าของเครื่องจักร
- เพิ่มความเหนียว ลดความเปราะ 
- เพิ่มความคมและทนทาน
- ลดความเค้น (Stress) คลายความเครียด (Strain) ของโลหะ 
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะไม่มีของเสียเกิดขึ้น
- สามารถทนทานกับอุณหภูมิที่สูงกว่าโลหะที่ไม่ได้ชุบ

 ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

จิตใจคนคืออาวุธที่ร้ายกว่าสิ่งใดๆ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.136 วินาที กับ 22 คำสั่ง