เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 13, 2025, 01:39:48 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พี่ๆน้าเคยนั่งเครื่องบินแล้วเคยหูอื้อ ถึงปวดหูบ้างไหมครับ  (อ่าน 19857 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #45 เมื่อ: มีนาคม 01, 2009, 04:15:06 PM »

แทงก์กิ้ว ท่านทัด
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

Ki-jang-aey
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 363


« ตอบ #46 เมื่อ: มีนาคม 02, 2009, 12:37:17 PM »

ความสบายของผู้โดยสารครับ......

ยิ่ง cabin altitude ใกล้พื้นเท่าไร ออกซิเจนก็มากกว่า....ความชื้นมากกว่า.....สบายกว่า....

แต่โครงสร้างต้องแข็งแรงกว่า....
.
.

ที่ 787  การที่มีความแตกต่างระหว่าง cabin altitude กับ aircraft altitude ได้มากกว่าเครื่องแบบเดิมๆเพราะ ตัวเครื่องของ 787 ใช้ composite material

จึงสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างลำตัว/น้ำหนักได้สูงกว่าโลหะล้วนอย่างเครื่องบินปัจจุบัน
.
.

ที่ความสูง 6000 ฟิต จะมีความดันภายในเคบินมากกว่าที่ความสูง 8000 ฟิต...ทำให้ความแตกต่างภายในกับภายนอกมากขึ้น ภาระของโครงสร้างมากขึ้น

โดยปรกติเครื่องบินสามารถรับความแตกต่างของความดันระหว่างภายในกับภายนอก ได้ประมาณ +8psi, -1psi

แต่ 787 น่าจะได้ประณ 9+ psi (ยังไม่ได้ spec แน่นอน)
ขอบคุณครับคุณทัดมาลา

ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ ว่า คุณทัดฯ มีรูปกราฟอย่างที่แสดงมาก่อนหน้านี้ สำหรับเครื่องบินแบบ B777-200ER  และ A340-500 หรือเปล่าครับ คืออยากจะเทียบดูน่ะครับ ว่าเครื่องสามารถบินไกลมากๆ ในทุกวันนี้ เขาออกแบบ Max. cabin altitude ไว้ที่ต่ำๆ (6000ft.) แบบ B787 หรือไม่? การที่รักษาระดับ cabin altitude ไว้ที่ 8000ft สำหรับการที่เดินทางไกลมากๆ จะมีผลต่อร่างกายของคน (Human factor ต่างๆ เช่นระบบสมอง, การไหลเวียนของเลือดในร่างกายผู้โดยสาร, อัตราส่วนผสมของออกซิเจนในเลือด ฯลฯ) ด้วยหรือไม่?

เอ.....หรือว่าเราควรจะตั้งคำถามกับคุณหมอทั้งหลายดีครับ?Huh
บันทึกการเข้า
flyingkob-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 361
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2396


"สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ


« ตอบ #47 เมื่อ: มีนาคม 02, 2009, 01:28:59 PM »

ความสบายของผู้โดยสารครับ......

ยิ่ง cabin altitude ใกล้พื้นเท่าไร ออกซิเจนก็มากกว่า....ความชื้นมากกว่า.....สบายกว่า....

แต่โครงสร้างต้องแข็งแรงกว่า....
.
.

ที่ 787  การที่มีความแตกต่างระหว่าง cabin altitude กับ aircraft altitude ได้มากกว่าเครื่องแบบเดิมๆเพราะ ตัวเครื่องของ 787 ใช้ composite material

จึงสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างลำตัว/น้ำหนักได้สูงกว่าโลหะล้วนอย่างเครื่องบินปัจจุบัน
.
.

ที่ความสูง 6000 ฟิต จะมีความดันภายในเคบินมากกว่าที่ความสูง 8000 ฟิต...ทำให้ความแตกต่างภายในกับภายนอกมากขึ้น ภาระของโครงสร้างมากขึ้น

โดยปรกติเครื่องบินสามารถรับความแตกต่างของความดันระหว่างภายในกับภายนอก ได้ประมาณ +8psi, -1psi

แต่ 787 น่าจะได้ประณ 9+ psi (ยังไม่ได้ spec แน่นอน)
ขอบคุณครับคุณทัดมาลา

ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ ว่า คุณทัดฯ มีรูปกราฟอย่างที่แสดงมาก่อนหน้านี้ สำหรับเครื่องบินแบบ B777-200ER  และ A340-500 หรือเปล่าครับ คืออยากจะเทียบดูน่ะครับ ว่าเครื่องสามารถบินไกลมากๆ ในทุกวันนี้ เขาออกแบบ Max. cabin altitude ไว้ที่ต่ำๆ (6000ft.) แบบ B787 หรือไม่? การที่รักษาระดับ cabin altitude ไว้ที่ 8000ft สำหรับการที่เดินทางไกลมากๆ จะมีผลต่อร่างกายของคน (Human factor ต่างๆ เช่นระบบสมอง, การไหลเวียนของเลือดในร่างกายผู้โดยสาร, อัตราส่วนผสมของออกซิเจนในเลือด ฯลฯ) ด้วยหรือไม่?

เอ.....หรือว่าเราควรจะตั้งคำถามกับคุณหมอทั้งหลายดีครับ?Huh



การที่เครื่องบินจะต้องรักษาระดับของความกดอากาศภายในไว้ที่ 8000 ฟุต ในขณะที่เครื่องบินจะบินอยู่ที่ระดับ 43000-51000 ฟุต หากเครื่องบินบินต่ำกว่านั้นความกดอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามระยะความสูงของเครื่องบิน ซึ่งในระดับความสูงตั้งแต่ ระดับน้ำทะเลหรือต่ำกว่าเล็กน้อยจนถึง 14000 ฟุต จะมีปริมาณอ๊อกซิเจนเพียงพอสำหรับมนุษย์ที่หายใจอย่างปรกติ แต่ที่เครื่องบินนั้นปรับความดันสูงสุดไว้ที่ 8000 ฟุตนั้นเป็นเรื่องของความปลอดภัย หากความกดอากาศสูงกว่าที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีความผิดปรกติของระบบปรับความดัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้ และหากความกดอากาศทะลุไปถึง 14000 ฟุต หน้ากากอ๊อกซิเจนจะหล่นลงมาโดยอัตโนมัติ

มาถึงเรื่องอาการหูอื้อ เครื่องบินขึ้นหรือลง จะมีอัตราการไต่หรือลดระดับภายในห้องโดยสารอยู่ระหว่างไม่เกิน 1000 ฟุตต่อนาที ในขณะที่ตัวเครื่องบินอาจจะมีอัตราการไต่หรือลดระดับตั้งแต่ +4000 - -4000 ฟุตต่อนาที ซึ่งอัตรานี้ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับความสูงที่เปลี่ยนแปลงไป หากอัตราการไต่ภายในห้องโดยสารสูงมากเกินไป ความเปลี่ยนแปลงของความกดดันอากาศจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ เพราะอากาศที่อยู่ในแก้วหูชั้นในปรับตัวไม่ทันกับอากาศที่อยู่ในแก้วหูชั้นกลาง

เรื่องของ Human Factor ที่มีผลต่อการบินระยะไกล จะเกิดการเหนื่อยล้า ที่ที่เรียกกันว่า Jet-Lack เราจะรู้สึกอ่อนเพลียกับการนั่งเครื่องบินนานๆ วิธีที่จะลดความเมื่อยล้าจากการเดินทาง คือการพักผ่อนระหว่าเดินทางให้มากที่สุด งดการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ทานอาหารไม่อิ่มจนเกินไป ออกกำลังกายเล็กน้อย เช่นการเดินไปมาในห้องโดยสาร สิ่งเหล่านี้จะช่วยมากเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง

แต่เรื่องการปรับตัวเข้ากับเวลาท้องถิ่นนั้น เป็นความสามารถเฉพาะตัว ส่วนตัวผมเองหากเดินทางไปอเมริกา จะบังคับให้ตัวเองหลับเมื่อถึงเวลาประมาณสามทุ่มเวลาท้องถิ่น  หรือเดินทางโดยผ่านทางยุโรปเข้าอเมริกา ส่วนเวลาที่ยุโรปนั้นไม่ต่างจากเรามากเท่าไหร่และการเดินทางออกจากไทยจะเป็นเวลากลางคืนก็จะหลับตลอดเส้นทางเมื่อถึงที่หมายจะเช้าพอดี

หากยังสงสัยหรืออธิบายไม่เข้าใจ ลองโทรปรึกษาที่ สถาบันเวชศาสตร์การบิน โรงพยาบาลภูมิพล กรมแพทย์ทหารอากาศ 025342610, 025342621
บันทึกการเข้า

ตึกยาวหลังนี้ สอนให้เรารู้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน
jane1
Full Member
***

คะแนน 42
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 406



« ตอบ #48 เมื่อ: มีนาคม 03, 2009, 01:17:16 PM »

ขอบคุณพี่่ flyingkob มากครับ
บันทึกการเข้า

ตึกยังรู้พัง
สตางค์ยังรู้หมด
แต่ไมตรีอันสวยสด
ไม่มีหมดเหมือนสตางค์
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #49 เมื่อ: มีนาคม 03, 2009, 03:58:20 PM »

..... ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ...................
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #50 เมื่อ: มีนาคม 03, 2009, 10:47:11 PM »

ผมไม่มีกราฟของทั้งสองเครื่อง เพราะไม่มี FCOM อยู่ในมือ....

แต่บอกได้เลยว่า Cabin altitude 8000 feet เป็นมาตรฐาน ICAO ค่าสูงสุดครับ....

แต่ถ้าเครื่องบินต่ำๆ เช่นจะไปยุโรป ช่วงแรกๆจนเลยอินเดีย Cabin Altitude อาจจะอยู่ที่ 5000 ฟิตครับ

แต่พอเครื่องน้ำหนักเบาลง ก็จะขอบินสูงขึ้น ถ้าสูงมากๆ Cabin Altitude จะเพิ่มขึ้นจนสูงสุดที่ 8000

การที่มีการเพิ่ม/ลดความดันในห้องโดยสารก็เพื่อให้ผู้โดยสารสบายสุด และชดเชยความแข็งแรงของโครงสร้างครับ

เครื่องบินสมัยใหม่ยิ่งบินสูง อากาศในเครื่องจะยิ่งแห้งมาก.....ออกซิเจนน้อย

ผิวแห้ง หน้าลอก เลือดข้น....ตาเหลือง เป็นเรื่องปรกติไปแล้วสำหรับผู้ทำงานในอากาศ

ยิ่งถ้าบิน Long haul กินอยู่ในเครื่องครั้งละ 12-13 ชม. ร่างกายยิ่งปรับสภาพให้เลือดข้นง่าย
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
bluebunny รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 144
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 235



« ตอบ #51 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 05:25:46 PM »

ผมไม่มีกราฟของทั้งสองเครื่อง เพราะไม่มี FCOM อยู่ในมือ....

แต่บอกได้เลยว่า Cabin altitude 8000 feet เป็นมาตรฐาน ICAO ค่าสูงสุดครับ....

แต่ถ้าเครื่องบินต่ำๆ เช่นจะไปยุโรป ช่วงแรกๆจนเลยอินเดีย Cabin Altitude อาจจะอยู่ที่ 5000 ฟิตครับ

แต่พอเครื่องน้ำหนักเบาลง ก็จะขอบินสูงขึ้น ถ้าสูงมากๆ Cabin Altitude จะเพิ่มขึ้นจนสูงสุดที่ 8000

การที่มีการเพิ่ม/ลดความดันในห้องโดยสารก็เพื่อให้ผู้โดยสารสบายสุด และชดเชยความแข็งแรงของโครงสร้างครับ

เครื่องบินสมัยใหม่ยิ่งบินสูง อากาศในเครื่องจะยิ่งแห้งมาก.....ออกซิเจนน้อย

ผิวแห้ง หน้าลอก เลือดข้น....ตาเหลือง เป็นเรื่องปรกติไปแล้วสำหรับผู้ทำงานในอากาศ

ยิ่งถ้าบิน Long haul กินอยู่ในเครื่องครั้งละ 12-13 ชม. ร่างกายยิ่งปรับสภาพให้เลือดข้นง่าย


แล้วอาการเลือดข้นนี่ ต้องทำยังไงถึงจะป้องกันได้คะ ?
บันทึกการเข้า

For King & For Country!
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #52 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 07:01:21 PM »

แล้วอาการเลือดข้นนี่ ต้องทำยังไงถึงจะป้องกันได้คะ ?

อาการเลือดข้น จะเกิดกับผู้ทำการในอากาศแบบสม่ำเสมอ คืออยู่บนเครื่องรอบละสิบชม. เดือนละสัก สิบครั้ง...

เพราะเม็ดเลือดทำการปรับตัวให้สามารถนำพาออกซิเจนไปได้มากขึ้น เนื่องจากที่สูงๆออกซิเจนเบาบาง

ถ้าแค่ผู้โดยสารธรรมดาๆ นานๆเดินทางที หรือ เดินทางบ่อย แต่ ชม. บินแค่ หนึ่งหรือสอง ชม... ไม่เป็นครับ

การป้องกันคือออกกำลังกายมากๆ ให้เม็ดเลือดสามารถนำพาออกซิเจนได้มากครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 10, 2009, 09:15:39 AM โดย ทัดมาลา » บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
bluebunny รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 144
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 235



« ตอบ #53 เมื่อ: มีนาคม 09, 2009, 07:35:05 PM »

ขอบคุณค่า
บันทึกการเข้า

For King & For Country!
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #54 เมื่อ: มีนาคม 09, 2009, 10:29:39 PM »

ผมไม่เคยเป็นตอนนั่งเครื่องเลยครับ

เคยปวดหูมากๆครั้งเดียว

ตอนเป็นหวัด แล้วเพื่อนชวนไปดำน้ำ

ลงไปยังไม่สี่สิยฟุตเลย  ปวดมากๆ  เคลียหูไม่ได้

ขึ้นเลย  เซ็ง Tongue
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง