ความสบายของผู้โดยสารครับ......
ยิ่ง cabin altitude ใกล้พื้นเท่าไร ออกซิเจนก็มากกว่า....ความชื้นมากกว่า.....สบายกว่า....
แต่โครงสร้างต้องแข็งแรงกว่า....
.
.
ที่ 787 การที่มีความแตกต่างระหว่าง cabin altitude กับ aircraft altitude ได้มากกว่าเครื่องแบบเดิมๆเพราะ ตัวเครื่องของ 787 ใช้ composite material
จึงสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างลำตัว/น้ำหนักได้สูงกว่าโลหะล้วนอย่างเครื่องบินปัจจุบัน
.
.
ที่ความสูง 6000 ฟิต จะมีความดันภายในเคบินมากกว่าที่ความสูง 8000 ฟิต...ทำให้ความแตกต่างภายในกับภายนอกมากขึ้น ภาระของโครงสร้างมากขึ้น
โดยปรกติเครื่องบินสามารถรับความแตกต่างของความดันระหว่างภายในกับภายนอก ได้ประมาณ +8psi, -1psi
แต่ 787 น่าจะได้ประณ 9+ psi (ยังไม่ได้ spec แน่นอน)
ขอบคุณครับคุณทัดมาลา
ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ ว่า คุณทัดฯ มีรูปกราฟอย่างที่แสดงมาก่อนหน้านี้ สำหรับเครื่องบินแบบ B777-200ER และ A340-500 หรือเปล่าครับ คืออยากจะเทียบดูน่ะครับ ว่าเครื่องสามารถบินไกลมากๆ ในทุกวันนี้ เขาออกแบบ Max. cabin altitude ไว้ที่ต่ำๆ (6000ft.) แบบ B787 หรือไม่? การที่รักษาระดับ cabin altitude ไว้ที่ 8000ft สำหรับการที่เดินทางไกลมากๆ จะมีผลต่อร่างกายของคน (Human factor ต่างๆ เช่นระบบสมอง, การไหลเวียนของเลือดในร่างกายผู้โดยสาร, อัตราส่วนผสมของออกซิเจนในเลือด ฯลฯ) ด้วยหรือไม่?
เอ.....หรือว่าเราควรจะตั้งคำถามกับคุณหมอทั้งหลายดีครับ?

การที่เครื่องบินจะต้องรักษาระดับของความกดอากาศภายในไว้ที่ 8000 ฟุต ในขณะที่เครื่องบินจะบินอยู่ที่ระดับ 43000-51000 ฟุต หากเครื่องบินบินต่ำกว่านั้นความกดอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามระยะความสูงของเครื่องบิน ซึ่งในระดับความสูงตั้งแต่ ระดับน้ำทะเลหรือต่ำกว่าเล็กน้อยจนถึง 14000 ฟุต จะมีปริมาณอ๊อกซิเจนเพียงพอสำหรับมนุษย์ที่หายใจอย่างปรกติ แต่ที่เครื่องบินนั้นปรับความดันสูงสุดไว้ที่ 8000 ฟุตนั้นเป็นเรื่องของความปลอดภัย หากความกดอากาศสูงกว่าที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีความผิดปรกติของระบบปรับความดัน ซึ่งสามารถแก้ไขได้ และหากความกดอากาศทะลุไปถึง 14000 ฟุต หน้ากากอ๊อกซิเจนจะหล่นลงมาโดยอัตโนมัติ
มาถึงเรื่องอาการหูอื้อ เครื่องบินขึ้นหรือลง จะมีอัตราการไต่หรือลดระดับภายในห้องโดยสารอยู่ระหว่างไม่เกิน 1000 ฟุตต่อนาที ในขณะที่ตัวเครื่องบินอาจจะมีอัตราการไต่หรือลดระดับตั้งแต่ +4000 - -4000 ฟุตต่อนาที ซึ่งอัตรานี้ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับความสูงที่เปลี่ยนแปลงไป หากอัตราการไต่ภายในห้องโดยสารสูงมากเกินไป ความเปลี่ยนแปลงของความกดดันอากาศจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ เพราะอากาศที่อยู่ในแก้วหูชั้นในปรับตัวไม่ทันกับอากาศที่อยู่ในแก้วหูชั้นกลาง
เรื่องของ Human Factor ที่มีผลต่อการบินระยะไกล จะเกิดการเหนื่อยล้า ที่ที่เรียกกันว่า Jet-Lack เราจะรู้สึกอ่อนเพลียกับการนั่งเครื่องบินนานๆ วิธีที่จะลดความเมื่อยล้าจากการเดินทาง คือการพักผ่อนระหว่าเดินทางให้มากที่สุด งดการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ทานอาหารไม่อิ่มจนเกินไป ออกกำลังกายเล็กน้อย เช่นการเดินไปมาในห้องโดยสาร สิ่งเหล่านี้จะช่วยมากเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
แต่เรื่องการปรับตัวเข้ากับเวลาท้องถิ่นนั้น เป็นความสามารถเฉพาะตัว ส่วนตัวผมเองหากเดินทางไปอเมริกา จะบังคับให้ตัวเองหลับเมื่อถึงเวลาประมาณสามทุ่มเวลาท้องถิ่น หรือเดินทางโดยผ่านทางยุโรปเข้าอเมริกา ส่วนเวลาที่ยุโรปนั้นไม่ต่างจากเรามากเท่าไหร่และการเดินทางออกจากไทยจะเป็นเวลากลางคืนก็จะหลับตลอดเส้นทางเมื่อถึงที่หมายจะเช้าพอดี
หากยังสงสัยหรืออธิบายไม่เข้าใจ ลองโทรปรึกษาที่ สถาบันเวชศาสตร์การบิน โรงพยาบาลภูมิพล กรมแพทย์ทหารอากาศ 025342610, 025342621