เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 20, 2025, 10:52:54 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมาทบทวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขออภัยนอกเรื่องครับ)  (อ่าน 6584 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #45 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 12:36:55 PM »

ไม่มีนัง 51
กระทู้นี้ยังไม่ยอมตกไปหน้า2

เรื่องนี้...ผมเคยได้แสดงความเห็นไปแล้ว ครับ..
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา....ครับ ท่านซับใน...
และผมเองก็มิได้เปลี่ยนแปลงความเห็นใด ๆ จากเดิม ครับ
เลยมิได้ post เพิ่มเติม...อีก...


ดังนี้.- ครับ

นับได้ว่า...เป็นครั้งแรกเลยครับ...
ที่ผมต้องเรียบเรียง...เนื้อความ....รวมไปถึง...วิเคราะห์ถึงเนิ้อความ...ที่จะ post ลงไปในกรอบ...

ต้องยอมรับเลยครับ...ว่า...คิดกลับไปกลับมาหลายตลบ....คริ คริ

ก่อนอื่น...ผมต้องขอเรียนให้ทราบก่อนว่า...
ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. หรือ EGAT)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. หรือ MEA)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. หรือ PEA)
ต่างค้ำประกันเงินกู้จากแหล่งเงินกู้...ให้กันและกันมานานแล้ว ครับ
รัฐไม่เกี่ยวครับ....สำหรับการค้ำประกัน....

กลับมาว่ากันถึง.....
รัฐวิสาหกิจ...ในประเทศไทย...มิได้เป็น...ในรูปของการแข่งขันมาตั้งแต่แรกเริ่ม...เดิมที ครับ...
แต่เป็นรูปแบบ...ของการผูกขาดโดยรัฐ  มาตลอด ครับ

พอมีการปรับเปลี่ยน...นำการแปรรูปฯ เข้ามาในปัจจุบัน...
ก็ผิดไปจากความเคยชิน....ที่ประสบกันมา...

ผมขอไม่กล่าวถึง  การตีราคา...รัฐวิสาหกิจ นะครับ....
ไม่ขอกล่าวถึง...ผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อมีการตีราคา....เกิดขึ้น....

แต่ขออนุญาตกล่าวถึง...แรงต่อต้าน....เมื่อครั้งสมัยที่มีการเร่งรัดให้แปรรูปฯ ใหม่ ๆ ก่อน...

แรกเริ่มเดิมที...พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าหน่วยงานใดก็ตาม...
ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับว่า...การแปรรูปฯ คืออะไร....
ไม่มีใครเข้าใจหรอกครับว่า...การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คืออะไร
ไม่มีใครเคยคิดว่า...คำ ๆ นี้ (แปรรูปฯ) จะถูกนำมาใช้ในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่...


มีการรวมตัวการคัดค้านการแปรรูปฯ จากรัฐวิสาหกิจ...หลายองค์กรครับ...
ซึ่งมี สหภาพพนักงาน กฟผ. เป็นแกนนำ....สำคัญ...ในการต่อต้านในครั้งนั้น
ท้ายสุด...พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ได้ดำเนินการถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
คัดค้านถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของรัฐบาล....(ในสมัยนั้น)

ซึ่งเรา..(พนักงาน) ก็ยังคงรอ...ถึงพระราชวินิจฉัย...ในเรื่องนี้อยู่....

หลังจากการถวายฎีกา...แล้ว โดยส่วนตัวผมทราบดีว่า....
ด้วยสาเหตุหลายประการ...และความเหมาะสม...ทั้งปวง....
เหตุการณ์หลังจากถวายฎีกา...แล้ว  จะดำเนินไปเช่นใด....


หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่ผ่านมา...
ปรากฎว่า...พรรคการเมืองพรรคเดิม...ได้กลับเข้ามามีอำนาจในสภาฯ อีกครั้งหนึ่ง....
การนำนโยบายการแปรรูปฯ...กลับเข้ามาในรัฐวิสาหกิจ...กระพือขึ้นมาอีกครั้ง...

พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ไม่มีทางเลือก...ครับ...
ครั้งหนึ่งเราเคยเลือกแล้ว....ที่จะปกป้อง...ที่จะคัดค้าน...
แต่เมื่อเสียงจากประชาชนส่วนใหญ่...ที่คิดว่า ดี...คิดว่า ชอบแล้ว....
เป็นเช่นนั้น...


สิ่งที่พนักงานรัฐวิสาหกิจ...กระทำก็คือ....
การยอมรับให้มีการปรับเปลี่ยนองค์กรตามนโยบาย...ซึ่งเคยคัดค้านมาโดยตลอด....

สิ่งที่กระทบต่อพนักงานเอง....เป็นสิ่งแรก...ที่พนักงานได้รับทราบ....
ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง...การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งของตนเองและองค์กร....
รวมไปถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ

คงไม่มีใคร...หรอกครับ...ที่ยอมรับผลกระทบ...แต่เพียงฝ่ายเดียว...

ดังเช่นที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันอยู่  ง่าย ๆ ก็คือ  สถานะภาพของพนักงานรัฐวิสาหกิจ...เปลี่ยนไป...
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนองค์กร....

ถ้าท่านตื่นขึ้นมา...ในเช้าวันรุ่งขึ้น...
ท่านพบว่าตัวท่านเอง...ไม่ได้เป็น...แบบที่ท่านเคยเป็นไปซะแล้ว....
ท่านจะทำอย่างไรครับ....

พนักงานหลายท่าน...ยอมรับความเปลี่ยนแปลงในตรงนี้....
แต่จะให้เขาไปขายเต้าฮวย...เป็นอาชีพเสริมหรือครับ...
ในเมื่อสิ่งที่เขาได้เพิ่มขึ้น...ก็มาจากน้ำพักน้ำแรงของเขาเอง...
มาจากการร่วมแรงร่วมใจ...ของพวกเขา...ไงครับ...


ท้ายสุด...ผลกระทบไปตกอยู่กับ...ประชาชน...ในประเทศ....

ผมเอง...คงมิต้อง post ว่า....แล้วใครล่ะ...ที่เสวยสุขไปบนกองเงินกองทอง...
ที่ได้มาจากการ ตีราคา...รัฐวิสาหกิจในครั้งนี้...

แต่เมื่อประชาชน...เป็นผู้เลือก...แล้ว...
พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลอง...แหละครับ....
เพราะพนักงานรัฐวิสาหกิจ...มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่...ในประเทศ....
และพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง...ก็มิได้มีบ้านที่สองอยู่ในต่างประเทศหรอกครับ...
พนักงานฯ ทุกท่าน...พร้อมที่จะตายเพื่อแผ่นดิน...นี้...เสมอ...เมื่อเวลา....นั้น มาถึง

เสียงจากประชาชน...เป็นสิ่งสำคัญ...ครับ
ที่เราต้องรับฟัง....

เรากระทำทุกวิถีทางแล้วครับ....ทั้งในแนวราบ..และในแนวดิ่ง..


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
ซึมเศร้า...เหงาเพราะ...ร๊ากกกก...team



อีกหน่อย...คงจะมีโครงการ...สามสิบบาท...ใช้ไฟทั้งเดือน  บ้างง่ะครับ...คริ คริ...
ซึ่งผู้สนองโครงการสามสิบบาท (รักษาทุกโรค) นี้...ก็ทราบดีว่า...แท้จริงมันเป็นอย่างไร...

ไม่แน่...นะครับ
ต่อไปอาจมี...บริษัท ปกครองและป้องกัน จำกัด (มหาชน) ก็เป็นได้...

เมื่อวันนั้นมาถึง....เสียงส่วนใหญ่ของประเทศ จะเป็นเช่นไร...

ผมเองไม่อยากให้มีสกู๊ปพิเศษ...ในสารคดีดัง ๆ ระดับโลกแบบที่ต่างประเทศเค้าผลิตหรอกครับ
.....น้อยใจลึก ๆ คริ คริ   ถึงแม้จะ...ควรมิควร...ก็ตาม   แต่ก็ทำไงได้ล่ะครับ...
ในฐานะที่ตราบนหน้าหมวกของบุพการี...เคยเลี้ยงเรามา....






ด้วยความเคารพในน้ำใจ...ของผู้สอบถาม...
และด้วยความเข้าใจในจิตใจของผู้ post เช่นกัน ครับ

น้องห้า-หนึ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2005, 12:44:06 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
Dhong
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 12:38:59 PM »

อ่านที่พี่51เขียนแล้วตลกมากครับ.............แต่อ่านลึกๆคิดเป็นจริงเป็นจังแล้วขำไม่ออกครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #47 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 12:45:12 PM »

วันที่ 20 ก.ย. 48 (วันนี้) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลายองค์กรและกลุ่มพันธมิตรจะรวมตัวกัน 1,000 คนที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อคัดค้านการกระจายหุ้น กฟผ.และการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่

ทำเต็มที่แล้วครับ

..
 
.. ขอบคุณมากครับ คุณฅนปั่นไฟ..  มีความคืบหน้า ฉันท์ใด แจ้งด้วย จะ update ได้ทันการณ์..ครับ.. Grin
บันทึกการเข้า

51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #48 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 12:53:35 PM »

อ่านที่พี่ 51 เขียนแล้วตลกมากครับ.............แต่อ่านลึก ๆ คิดเป็นจริงเป็นจังแล้วขำไม่ออกครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน

ครับ...โดยเฉพาะคำว่า..."มหาชน"

ถ้าผมยอมรับล่ะครับ...ว่า...
เรา..(พนักงานรัฐวิสาหกิจ) มิได้ต่อสู้เพื่อ...ทรัพย์สมบัติอะไรของชาติทั้งสิ้น...
เรา...ต่อสู้...เพื่อการเกลี่ยผลประโยชน์ที่ลงตัว....กันทั้งสองฝ่าย...

ถ้าการต่อสู้...จบลง...
เรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ได้ผลประโยชน์....(ค่าตอบแทน) เพิ่มขึ้น
รัฐ....ได้นำรัฐวิสาหกิจเข้าไประดมทุน...ในตลาดหลักทรัพย์....

แล้วผลเสียตกอยู่กับใครล่ะครับที่นี้...

ขณะนี้....ผลเสีย...ยังอยู่อีกไกลครับ ท่าน ๆ
และเมื่อเรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ) ได้เริ่มต้น...มาแล้ว  เมื่อครั้งก่อน....(ในสมัยที่แล้ว)
ผลเสีย...อาจจะอยู่ใกล้ท่าน ๆ มากกว่า...ในสมัยที่แล้วก็เป็นได้ครับ...

ผมคงไม่สามารถปลุกระดม...หรือโน้มน้าว...บุคคลได้ดีเท่าไรนัก...หรอกครับ
แต่...ผมบอกได้ว่า...
มัน (ผลกระทบ)  มาถึง...ท่าน ๆ เป็นแน่แท้ ครับ
ว่าแต่...เมื่อไรเท่านั้น

 

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...


บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #49 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 01:00:37 PM »

ในความคิดของผม....
ผมต้องการ "พลัง" ที่ยิ่งใหญ่......"แนวคิด" ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน....

สิ่งเหล่านี้...จะเกิดขึ้นได้ในทุกบุคคล...
ก็ต่อเมื่อ....มีความยากลำบาก ความเหนื่อย...ความหิว และความกลัวอด...ร่วมกันครับ

วันที่เรา...มีชะตากรรมร่วมกัน...มาถึงแน่...ว่าแต่เมื่อไรเท่านั้น...เอง ครับ

วันนี้...และเมื่อวานนี้...
...เรา (พนักงานรัฐวิสาหกิจ)  ได้ลงมือกระทำแล้ว...และยังคงกระทำอยู่


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2005, 01:04:52 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #50 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 01:10:10 PM »

 Smiley..ความเห็นของคุณ ๕๑ น่ารับฟังเป็นมุมมอง ที่หยิบ ความเห็นของ คน ปฟผ บางคน อย่างความเห็นว่า..

แต่เมื่อประชาชน...เป็นผู้เลือก...แล้ว...
พนักงานรัฐวิสาหกิจ...ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลอง...แหละครับ....
เพราะพนักงานรัฐวิสาหกิจ...มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่...ในประเทศ....
และพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง...ก็มิได้มีบ้านที่สองอยู่ในต่างประเทศหรอกครับ...
พนักงานฯ ทุกท่าน...พร้อมที่จะตายเพื่อแผ่นดิน...นี้...เสมอ...เมื่อเวลา....นั้น มาถึง

เสียงจากประชาชน...เป็นสิ่งสำคัญ...ครับ
ที่เราต้องรับฟัง....
..
 
..น่าเห็นใจ ความท้อแท้   ที่อาจเกิดจากมองรากเง่าของปัญหาไม่ชัดเจนของ คนกฟผ. เจ้าของความเห็นบางคน..  อาจแยกแยะไม่ถูก ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง.. เลือกเขาเข้ามาเป็นรัฐบาล บริหารประเทศ ตามของกฎหมาย.. ไม่ใช่ให้เข้ามาเอื้อประโยชน์ โกงกินผลประโยชน์ของชาติไปเป็นของกลุ่มพวกพ้องตัวเอง... ดีไม่มีใครว่า เลวใช่เลวแต่ตัว จะทำให้บ้านเมือง ประชาชนเดือดร้อน เสียหาย .. มันยอมกันไม่ได้..
   ผู้นำในการ ต่อสู้ ทุกแห่ง ทุกขบวนการ ต้องมีหลักคิดยืนหยัดแน่วแน่..ในปัญหาที่ต่อสู้.. หลักการที่ยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนคนส่วนใหญ่ คือสิ่งถูกต้อง จะต้องไม่ยอมประนีประนอม.อย่างเด็ดขาด..  ถึงคนจะเปลี่ยนแต่หลักคิดในการต่อสู้ ต้องไม่เปลี่ยน .. ยังคงอยู่สืบทอด ให้กับคนทั้งแถวที่ร่วมยืนหยัดด้วย..  :-*
  ถึงจะทานกระแสไม่ได้  แต่ยังไงก็ไม่เห็นด้วย อย่างเด็ดขาด...
 วันเวลาที่ผ่านฝ่ายต่อต้านสงบลง  แต่อีกฝ่ายไม่เคยละความพยายาม.. และที่สุดก็สามารถเอาชนะจิตใจ แกน นำ กฟผ บางคน..
 ไม่ได้ด้วยเลห์ ต้องเอาด้วยกล..  เอาชนะได้แต่เพียงบางคนเท่านั้น..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2005, 02:39:10 PM โดย Ro@d » บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #51 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 01:20:39 PM »

Smiley.. แกนนำของ กฟผ. บางคน เริ่มจากผลประโยชน์ฐานะส่วนตัว ความคิดนี้ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง..ต้องไม่ใช่ต่อสู้เพื่อตนเองเพียงอย่างเดียว..
    มิเช่นนั้น ถ้าเพียงได้รับผลปรโยชน์ คนเหล่านี้ ก็เฉา เลิกต่อสู้..   แล้วใครที่ไหน จะมาร่วมต่อสู้ด้วย..
   ..แต่การต่อสู้ของ คน กฟผ.. หลักการคือการรักษา ผลประโยชน์ที่เป็นของประชาชน..ให้ตกอยู่กับประชาชนคนไทยทั้งชาติ  ต่อไป  ไม่ให้ถูกแปรไปเป็นของส่วนตัว กับบางครอบครัว..    จึงถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อคนไทย ทั้งประเทศ.. เป็นความชอบธรรม ที่องค์กรต่าง ๆ จะโดดเข้าไปมีส่วนร่วมต่อสู้ด้วย.. :-*

   
บันทึกการเข้า

Army - รักในหลวงครับ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 151
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2251



« ตอบ #52 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 02:54:04 PM »

ทำใจ รอเลือกตั้งใหม่อย่างเดียว  Sad
บันทึกการเข้า
pitsanukorn
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #53 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 02:57:20 PM »

เปิดโปงแผน...


ขอย้ำ ต้องอ่าน เพราะเป็นแผนฯ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

บทที่ 6
การพัฒนาพลังงาน

1.   สรุปสถานการณ์พลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
1.1   ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวในอัตราสูงเกินกว่าเป้าหมายที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 กำหนดไว้มาก กล่าวคือ มีการขยายตัวในอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 10.5 ต่อปี เนื่องจากการส่งออก การลงทุน และการท่องเที่ยวขยายตัวสูงมาก นอกจากนี้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรชนบทสู่การผลิตภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยมีการกระจายธุรกิจอุตสาหกรรม ไปยังชุมชนศูนย์กลางในภูมิภาคต่างๆ และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพิ่มขึ้น
1.2    ผลการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มจาก 388 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2530 เป็น 605 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2533 โดยการใช้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 64 เป็นการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ในขณะที่การผลิตพลังงานในประเทศมีเพียงวันละ 177
พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2533 เท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
1.3    โดยเหตุที่ความต้องการใช้พลังงานในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การผลิตมีจำนวนจำกัด จึงต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งนี้ เป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเกือบทั้งหมด ทำให้สัดส่วนการนำเข้าต่อการใช้พลังงานของประเทศสูงถึงประมาณร้อยละ 60 เกินกว่าเป้าหมายที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศให้เหลือร้อยละ 49 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
1.4   สถานการณ์พลังงานของประเทศที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงปัญหาหลักของการพัฒนา
พลังงานซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาในระยะต่อไป หากไม่มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ
1.4.1   ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลทำให้
(1)   การพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะในช่วงสั้นไม่สามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
(2)   การลงทุนในการพัฒนาพลังงานเพิ่มขื้นมาก ทำให้ภารการลงทุนของรัฐเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากการพัฒนาส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการโดยภาครัฐบาลการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนยังดำเนินการไปได้ช้าและอยู่ในขั้นเริ่มต้น
1.4.2   ในช่วงต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากจากการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความไม่แน่นอนสูงมาก ซึ่งจะมี
ผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ
1.4.3   โครงสร้างและระดับราคาพลังงานยังไม่สะท้อนถึงต้นทุนการจัดหาที่แท้จริงหรือเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะเหตุผลทางด้านการเมือง ทำให้การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น และเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่ประหยัด โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้า
1.4.4   การผลิตและการใช้พลังงานบางประเภทมีผลทำให้สภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก โดยเฉพาะการใช้พลังงานของยานพาหนะในเมือง และการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวในช่วง 10 ปีข้างหน้า และอาจก่อให้เกิดปัญหาฝนกรดได้ในอนาคต เป็นต้น
1.4.5   กลไกการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐบางส่วนในด้านการพัฒนาพลังงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะพัฒนาพลังงานได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของความต้องการและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้านเพราะมีการเลื่อนย้ายออกจากหน่วยงานสูง
2.   เป้าหมายการพัฒนาพลังงาน
      แนวนโยบายการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มุ่งที่จะจัดหาพลังงานให้
เพียงพอกับความต้องการ โดยพัฒนาแหล่งงานในประเทศและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้นในการจัดหาแหล่งต้นพลังงานส่วนการบริหารจะจัดการและเร่งรัดให้มีการใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยผ่อนคลายการควบคุมเพื่อให้ระบบพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาดและมีการ
แข่งขันมากที่สุด รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการมากขึ้น ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 จึงกำหนดไว้ดังนี้
2.1    เพิ่มการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี จาก 280 พันบาเรล น้ำมันดิบ
ต่อวัน ในปี 2534 เป็น 410 พันบาเรลน้ำมันดิบต่อวัน ในปี 2539
2.2    ลดอัตราการเพิ่มการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศโดยส่วนรวม โดยให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.3    รักษาสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 60 ในปี 2539
2.4    เร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายการเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 หลุม ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ)
2.5   เพิ่มกำลังกลั่นปิโตรเลียมจาก 246 พันบาเรลต่อวันในปี 2534 เป็น 740 พันบาเรลต่อวัน ในปี 2539
2.6   กำหนดเป้าหมายการผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหินในประเทศ ดังนี้
                  ปี 2534   ปี 2539   
ก๊าซธรรมชาติ (ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน)              760        1,250   
ก๊าซธรรมชาติเหลว (บาเรล/วัน)            22,000    31,000
น้ำมันดิบ (บาเรล/วัน)               24,000     24,000
ถ่านหิน (ล้านตัน/ปี)                   14.6       18.5
(1) เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า                  12         14
(2) เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม                                               2.6         4.5

2.7   เพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าอีก 5,400 เมกกะวัตต์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 และกำหนด
เป้าหมายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ดังนี้
                  ปี 2534   ปี 2539   
ก๊าซธรรมชาติ :  Gwh               19,900      31,950   
         ล้าน ลบฟ./วัน                        566        780
ถ่านลิกไนท์ :  Gwh               12,431     14,275
          ล้านตัน                   12.1       14.0
ถ่านหินนำเข้า :  Gwh                          0        766
          ล้านตัน                                                 0       0.29

2.8    กำหนดให้กำลังผลิตสำรองของระบบไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดต่อปี
2.9    กำหนดเป้าหมายการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยเอกชนสำหรับระบบการผลิตพลังานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกันอย่างน้อย 500 เมกกะวัตต์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.10    กำหนดเป้าหมายการลดการใช้พลังงานจากมาตรการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าในระดับ 4,500 จิกกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.11    จำกัดจำนวนไฟฟ้าดับต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งรายในรอบปี ดังนี้
                         หน่วย  :  จำนวนครั้ง/ปี/ผู้ใช้หนึ่งราย
               ในเขตการไฟฟ้านครหลวง      ในเขตการไฟฟ้าภูมิภาค
               2533      2539            2533           2539
   ไฟฟ้าดับถาวร         6.7      3.3             10.0            7.0
   ไฟฟ้าดับชั่วครู่         10.3      5.0             24.0           17.0
   รวม            17.0      8.3             34.0                       24.0
2.12    กำหนดเป้าหมายให้มีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษที่มีสารตะกั่วภายในปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
2.13    จำกัดระดับการปล่อยสารอันตรายจากการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ไม่เกินระดับดังนี้
                        2533      2539
   สารตะกั่วจากยานพาหนะ (ตัน)               1,030      300
   ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จากยานพาหนะ (พันตัน)         950      750
   ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (พันตัน)               840      860
      - ยานพาหนะ               100      50
      - การผลิตไฟฟ้า               555      620
      - อุตสาหกรรมและอื่นๆ             205      190
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2005, 08:35:48 AM โดย ฅนปั่นไฟ » บันทึกการเข้า
pitsanukorn
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #54 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 03:00:39 PM »

3. แนวทางการพัฒนาพลังงาน
      เพื่อดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายการพัฒนาพลังงานดังกล่าวแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาพลังงานไว้ดังต่อไปนี้
3.1   จัดหาพลังงานให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการและให้มีความมั่นคงในราคาที่เหมาะสม โดย
3.1.1   เร่งการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลี่ยม
(1)   ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร บุคลากรและระบบข้อมูลปิโตรเลียมของกรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อมและคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการถ่ายเทบุคลากรสู่ภูมิภาคเอกชน เพื่อรองรับ
พระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับ พ.ศ. 2532
(2)   จัดทำแผนปฏิบัติการรวมว่าด้วยการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศให้ชัดเจน โดยเฉพาะการผลิตและการใช้ปิโตรเลียมจากแหล่งต่างๆ ที่ได้มีการค้นพบแล้ว และส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทเพิ่มขึ้น
(3)   ศึกษาและประเมินศักยภาพธรณีวิทยาปิโตรเลียมในบริเวณที่เป็นที่สนใจของเอกชน เพื่อเผยแพร่เป็นข้อมูลจูงใจให้มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น
(4)   เร่งรัดการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ให้เป็นรูปธรรมและปฏิบัติการได้โดยเร็ว เพื่อนำไปสู่การเจรจาอนุญาตให้บริษัทน้ำมันสามารถสำรวจและพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาใช้ประโยชน์โดยเร็ว
(5)   เร่งรัดให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติสายประธานให้เพียงพอต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามเป้าหมาย เช่น การก่อสร้างท่อส่งก๊าซสายประธานจากอ่าวไทย-ระยอง สายที่สอง
3.1.2   เร่งการสำรวจและพัฒนาถ่านหิน
(1)   ปรับปรุงวิธีการดำเนินการและองค์กรและบุคลากรของกรมทรัพยากรธรณี และปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาถ่านหิน โดยเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและให้การพัฒนาถ่านหินเป็นระบบมากขึ้น
(2)   สนับสนุนบทบาทภาคเอกชนในการลงทุนสำรวจและพัฒนาถ่านหินปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรแหล่งถ่านหินให้ภาคเอกชนเข้าพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งให้เอกชนเข้ามาพัฒนาแหล่งถ่านหินที่ได้กันไว้ให้แก่การไฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและยังไม่มีการพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า
(3)   พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้ถ่านหินให้มีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น การผลิตภัณฑ์ถ่านหินในรูปถ่านโค้กและถ่านอัดและผลิตภัณฑ์อื่นๆ
3.1.3   เร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อ
(1)   ร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งน้ำร่วมกับประเทศลาวและพม่า การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกับพม่า มาเลเซีย
เวียดนามและกัมพูชา รวมทั้งพิจารณากำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนที่ชัดเจน โดยเน้นการเพิ่มบทบาทของเอกชน
(2)   ซื้อพลังงาน ได้แก่ การซื้อก๊าซธรรมชาติจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และการซื้อถ่านหินหรือร่วมลงทุนพัฒนาถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย ลาว และพม่า เป็นต้น
3.1.4   ดำเนินการเพื่อให้ระบบการค้า การกลั่น และการขนส่งน้ำมันในประเทศมี
ประสิทธิภาพและมีการแข่งขันสูงต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
(1)   ส่งเสริมตลาดการค้าน้ำมันสำเร็จรูปให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เช่น ส่งเสริมให้มีสถานีบริการน้ำมัน
ภายใต้เครื่องหมายการค้าหลายชนิดมากขึ้น โดยขจัดนโยบายและกฎเกณฑ์ของรัฐที่เป็นอุปสรรครวมทั้งปรับปรุงกฏเกณฑ์ในการจัดซื้อน้ำมันของ
หน่วยงานราชการ โดยลดการผูกขาดจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะการจำหน่ายน้ำมันให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณสูง นอกจากนั้นต้องปรับปรุงขั้นตอนการขออนุญาตตั้งสถานีบริการน้ำมันให้มีความรวดเร็ว และการแก้ไขกฎเกณฑ์การตั้งสถานีบริการให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อกระจายสถานีบริการสู่ภูมิภาคและลดต้นทุนในการประกอบกิจการในเขตเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง
(2)   ส่งเสริมตลาดก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นอย่างเป็นธรรมทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการยกเลิกการควบคุมการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(3)   ปรับโครงสร้างของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทัดเทียมกับบริษัทเอกชนและให้กิจการน้ำมันที่รัฐถือหันอยู่ทุกแห่งสามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี
(4)   ลงทุนเพิ่มกลังกลั่นปิโตรเลียมในประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังกลั่นปิโตรเลียมให้
ใกล้เคียงกับความต้องการใช้โดยเร่งการก่อสร้างโรงกลั่นใหม่ในภาคตะวันออก ขยายโรงกลั่นที่ศรีราชาภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม ดำเนินการออกประกาศเชิญชวนลงทุนสร้างโรงกลั่นปิโตรเลียมฉบับใหม่ และขจัดกฎเกณฑ์และ
ข้อกำหนดของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันกับโรงกลั่นน้ำมันใน
ต่างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ภายในช่วง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(5)   ปรับปรุงระบบการส่งน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวของประเทศให้มี
ประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการขนส่งน้ำมัน กระจายศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวออกจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ และลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร โดยเร่งดำเนินการก่อสร้างท่อน้ำมันศรีราชา-ดอนเมือง-สระบุรี และท่อน้ำมันบางจาก-ดอนเมือง-บางปะอิน ให้เสร็จโดยเร็ว ส่งเสริมให้มีการขนส่งน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางรถไฟมากขึ้น การคลังน้ำมันร่วมกัน และการก่อสร้างคลังน้ำมันในภาค
ตะวันตกและทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร
(6)   ตรวจสอบ ควบคุม ดูแล ให้คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้หน่วยงานของรัฐมีอุปกรณ์ กำลังคนในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ
3.1.5   ลงทุนและปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า
(1)   เร่งพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการได้แก่ การสำรวจและพัฒนาถ่านหินในประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาพลังน้ำขนาดเล็กที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ และสนับสนุนให้มีการผลิตก๊าซธรรมชาติมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า
(2)   ปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้เพียงพอ มีความมั่นคงมีคุณภาพและปลอดภัยในการจ่ายไฟยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคต่างๆ และปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีกำลังความสามารถในการถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
(3)   พิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าทั้งทางเศรษฐศาตร์เทคโนโลยีและความปลอดภัย และเริ่มประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
(4)   เร่งนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและเมืองใหญ่ในส่วน
ภูมิภาค และสนับสนุนให้การไฟฟ้าประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงาน
ผังเมืองอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การรวมระบบสาธารณูปโภคสอดคล้องกับการวางผังเมือง
3.1.6   ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการใช้พลังงานนอกแบบที่มีแนวโน้ม
คุ้มค่าเชิงพาณิชย์และเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะ
(1)   การผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนด้วยพลังงานนอกแบบ ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและ
อุตสาหกรรม เช่น ชานอ้อย แกลบ และขยะ
(2)   การผลิตสารเพิ่มค่าออกแทนในน้ำมันเบนซินโดยวัสดุทางการเกษตรเพื่อลดปริมาณสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันเบนซินในยานพาหนะ
(3)   การส่งเสริมให้เอกชนปลูกป่าไม้พลังงาน เพื่อทำฟืนและเผาถ่านเป็น
อุตสาหกรรมพลังงานชนบท ตลอดจนส่งเสริมและรณรงค์ให้ราษฎรในหมู่บ้าน นักเรียนในโรงเรียนปลูกป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ว่างเปล่าของหมู่บ้านและ
โรงเรียนของตน เพื่อใช้ไม้ทำฟืนและเผาผลิตถ่านสำหรับไว้ใช้เองและจำหน่ายเป็นรายได้ของหมู่บ้านและโรงเรียน
(4)   การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและการใช้อุปกรณ์พลังงานที่คุ้มค่า
เชิงพาณิชย์แล้ว เช่น เตาหุงต้มใช้ฟืนและถ่าน เตาเผาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง เตาเผาชีวมวล ฯลฯ และเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานเพื่อให้มีการผลิตและการใช้ให้ได้คุณภาพ และมีมาตรฐานเพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์
3.2   ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
การใช้พลังงานอย่างประสิทธิภาพและประหยัด นอกจากจะช่วยลดการลงทุนในการจัดหา
พลังงานแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบของการใช้พลังงานต่อสภาวะแวดล้อมอีกด้วยมาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการทางด้านราคา ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ การปรับปรุงและส่งเสริมบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมจิตสำนึกของ
ประชาชน
3.2.1   ปรับปรุงโครงสร้างและระดับราคาพลังงาน รวมทั้งระบบการกำหนดราคาให้สะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และเป็นไปตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับการเมือง เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
(1)   ดำเนินการให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ระบบ “ลอยตัวเต็มที่” โดยการยกเลิกการควบคุมราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
ต่อเนื่องจากที่ได้ยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีกแล้ว
(2)   ดำเนินการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว โดยให้มีการนำระบบ “ลอยตัวเต็มที่” มาใช้ภายในช่วงต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 รวมทั้งยกเลิก
ชดเชยค่าคลังและค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังขายส่งทั่วประเทศ
(3)   กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติให้ชัดเจนและโปร่งในทั้งในระหว่างผู้ผลิตก๊าซ (บริษัทผู้รับสัมปทาน) กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและระหว่างผู้ขายก๊าซ (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย) กับผู้ใช้ (การ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและผู้ใช้รายอื่นๆ) โดยให้กิจการท่อก๊าซเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งดำเนินการให้มีการทำสัญญาซื้อขายก๊าซระยะยาว ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศกับผู้ใช้ก๊าซอื่นๆ เพื่อให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงและพลังงานที่ใช้ทดแทน รวมทั้งคุณภาพของเชื้อเพลิงด้วยและในขณะเดียวกันให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ผลิตและผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ
(4)   ปรับปรุงโครงสร้างและระดับราคาไฟฟ้า รวมทั้งปรับปรุงการจัดกลุ่มประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และจูงใจให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมี
ประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามราคา
เชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติโดยลดข้อพิจารณาทางสังคมและการเมืองให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(5)   ขยายขอบเขตของระบบอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงวันที่แตกต่างกันที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้วในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ให้ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท
อุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหมด และพิจารณาขยายขอบเขตให้ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นด้วย
(6)   ปรับปรุงระบบภาษีสำหรับยานพาหนะ โดยใช้ภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับ
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดใหญ่
(7)   ลดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูงบัลลาสต์ที่กินไฟน้อย เครื่องปรับอากาศที่กินไฟน้อย เป็นต้น
(Cool   ลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อลดการนำเข้าพลังงาน ประหยัดพลังงานหรือมลภาวะ
3.2.2   กำหนดและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
(1)   เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานในลักษณะให้การ
ส่งเสริมการประหยัดพลังงานที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้น
(2)   ปรับปรุงข้อบังคับและเทศบัญญัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร โดยเน้นให้มีข้อพิจารณาด้านประหยัดพลังงาน เช่น มาตรฐานอัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยพื้นที่อาคารไว้ด้วย
(3)   ปรับปรุงระเบียบจัดซื้อของทางราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดซื้อเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
(4)   กำหนดข้อบังคับมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องใช้พลังงานในบ้านอยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์
(5)   เพิ่มอัตราภาษีสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น
3.2.3   ส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพสูง และการผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุก่อสร้างที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
3.2.4   ปรับปรุงระบบการขนส่งและการจราจร โดยสนับสนุนให้มีการใช้รถไฟฟ้าขนส่ง
มวลชน รถรางไฟฟ้า ฯลฯ ตามที่ได้จัดเตรียมโครงการไว้ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 และกำหนดกฎระเบียบไม่ให้มีการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากหรือผ่านกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ไปยังภูมิภาค
3.2.5   ปรับปรุงบทบาทขององค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ
(1)   ให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ดำเนินการด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าโดยจัดองค์กรร่วมเพื่อดำเนินการที่ชัดเจน และใช้มาตรการทางด้านการให้สิ่งจูงใจควบคู่ไปกับการแก้ไขกฎระเบียบของทางราชการ และการฝึกอบรมให้คำ
แนะนำ
(2)   ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา สถาบันทางการเงิน คณะกรรมการวิชาชีพและหน่วยงานต่างๆ มีบทบาทมากขึ้น และร่วมมือกันดำเนินการด้านการประหยัดพลังงานอย่างจริง
3.2.6   เสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประหยัด โดยรณรงค์ ให้การแนะนำ ให้บริการการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการนิยมใช้อุปกรณ์
พลังงานประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานอย่างประหยัด
3.3   ส่งเสริมบทบาทเอกชนและการพัฒนาองค์กรของรัฐ
3.3.1   ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมทุนกับรัฐด้านพลังงานมากขึ้นต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เพื่อลดภาระการร่วมทุนของรัฐบาล เพิ่มการแข่งขันอันจะนำไปสู่การใช้การจัดหา และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนและการระดมเงินออมจากภาคเอกชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาพลังงานด้วย โดย
(1)   ในกิจการปิโตรเลียม ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านการกลั่น
น้ำมัน (เช่น โรงกลั่นบางจาก) การจำหน่ายน้ำมัน การขนส่งก๊าซธรรมชาติ และการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและ / หรือนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกประเทศไทย
(2)   ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายเล็กเข้าลงทุนและดำเนินการผลิตไฟฟ้าในรูปการผลิต
พลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนอกแบบโดยเร่งการออก “ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก” โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำเพื่อจำหน่ายในเขตนิคมอุตสาหกรรม
(3)   เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อรับซื้อโรงไฟฟ้าบางโรงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนำหุ้นกระจายเข้าตลาดหลักทรัพย์ เช่น โรงไฟฟ้าระยอง ขนอมและอ่าวไผ่ และระยะปานกลาง เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ใน
รูปแบบอื่นๆ ได้ด้วย เช่น การมาลงทุนและบริการด้วยตัวเองหรือแบบบีโอโอ โดยกำหนดเงื่อนไขในการลงทุนที่ชัดเจนและเหมาะสม
(4)   แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการร่วมทุนกับเอกชน หรือกฎหมายที่เป็น
อุปสรรคต่อการเพิ่มการแข่งขันในการให้บริการด้านพลังงานด้านสาธารณูปโภค
(5)   ในการพัฒนาถ่านหิน ส่งเสริมให้เอกชนได้เข้าทำการสำรวจและทำ
เหมืองถ่านหินในพื้นที่ที่รัฐได้ทำการสำรวจเบื้องต้นไว้แล้วหรือในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมิได้ใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า เช่น แอ่งเวียงแหง
3.3.2   พัฒนาองค์กรของรัฐในสามารถบริหารและดำเนินการด้านพลังงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
(1)   ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานให้เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น หรือให้เป็นในรูปบริษัทเอกชน เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการบริหาร การลงทุน และการพัฒนาบุคลากรรวมทั้งเพิ่มการแข่งขัน อันจะนำไปสู่การยกเลิกการควบคุมราคาพลังงานในอนาคต ขณะเดียวกันก็เพื่อเตรียมการสำหรับเพิ่มทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยการจำหน่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติของรัฐวิสาหกิจ เช่น พระราชบัญญัติการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้เกิดความคล่องตัวในการร่วมทุนกับภาคเอกชนและเสริมสร้างการแข่งขัน
(2)   ดำเนินการยกฐานะของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานถาวรระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีพระราชบัญญัติรองรับโดยเร็วที่สุด เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายพลังงาน และเปลี่ยนแปลงสำนักงานพลังงานแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้เป็นหน่วยงานวิจัย พัฒนา กำกับดูแลและปฏิบัติการเพื่อให้การบริหารพลังงานของประเทศมี
เอกภาพ มีความคล่องตัวสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์พลังงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถประสานงานพัฒนาพลังงานของหน่วยงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ
(3)   ยกฐานะกองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี ให้เป็นหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและจัดหางานปิโตรเลียมและถ่านหิน
(4)   ปรับปรุงการบริหาร การพัฒนาบุคลากรและการดำเนินงานของหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพลังงาน ให้เป็นไปตามบทบาท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บันทึกการเข้า
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #55 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 03:28:01 PM »

คุณคนปั่นไฟครับ  ผมสนใจเรื่อง ไฟฟ้าพลังลมและแสงแดด นะครับ อยากจะทำตัวเล็กๆใช้ตามบ้าน
พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ Grin
 
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #56 เมื่อ: กันยายน 20, 2005, 03:35:43 PM »

Smiley..องค์การ ด้านไฟฟ้า ท้งหมด เปรียบเสมือน เส้นเลือด ในกายมนุษย์..
     ..มี เม็ดเลือดขาว คือ คนของการไฟฟ้าเองคอยดูแล  อยู่ อยู่ ..ก็มีตัวอะมีบ้า.. ไวรัสเอด ที่ไหน ไม่รู้ ติดมากับเข็มฉีดยา.ยาฉีด.ที่อ้างว่าเพื่อรักษาโรคให้กับเจ้าของร่าง.ที่ผอมแห้ง รอเงินช่วยไม่ไหว..
       เม็ดเลือดขาวน้อยลง ถูกทำลายลง ที่สุด เจ้าของร่างกาย ก็ยากจะทรงกายอยู่ได้ ..
       เมื่อต้องเอาไปชำระล้างด้วยไฟ  อะมีบ้า ไวรัสเอด มันก็ต้องวอดวาย ตามเจ้าของร่างไปด้วย.. Smiley
ตกใจ
บันทึกการเข้า

pitsanukorn
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #57 เมื่อ: กันยายน 21, 2005, 09:19:45 AM »

คุณคนปั่นไฟครับ ผมสนใจเรื่อง ไฟฟ้าพลังลมและแสงแดด นะครับ อยากจะทำตัวเล็กๆใช้ตามบ้าน
พอจะแนะนำได้มั๊ยครับ Grin
 

เรียนท่าน BEAMSOUND ครับ
            การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานลมและจากพลังงานแสงอาทิตย์ นั้น งบประมาณที่ใช้มีมูลค่าสูงมากครับ ประกอบกับสภาพภูมิประเทศของประเทศไทย ความเร็วลมสูงสุดจะอยู่ที่บริเวณชายฝั่ง บริเวณเกาะต่างๆ ในอ่าวไทย และในบริเวณภาคใต้ของประเทศเท่านั้นครับ ที่สำคัญพบว่ายังคงมีปัญหาเรื่องชิ้นส่วนบางชนิดชำรุดได้ง่าย เช่น ใบกังหัน หรือตลับลูกปืนชำรุด นอกจากนี้ บางกรณี ยังมีปัญาหาเรื่องการจัดซื้ออะไหล่จากต่างประเทศได้ล่าช้าอีกด้วยครับ
           สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์นั้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ส่วนใหญ่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ได้แก่ ซิลิคอน เยอรมันเนียม หินต่างๆ    การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า(อิเลคตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้ครับ

            จากข้อมูลข้างต้น ผมขอนำข้อมูลและผลการวิจัยเรื่องพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มาให้รับทราบ ดังนี้ครับ

             พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้ว ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้าและในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายในอดีต
             งานศึกษาและทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว กฟผ. ได้ศึกษาและติดตามวิทยาการด้านนี้ทั้งใน และต่างประเทศ อีกทั้งได้สาธิต ทดสอบ ตลอดจนติดตั้งกังหันลมขึ้นทดลองใช้งาน และเก็บข้อมูลของการทดสอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางที่จะพัฒนาระบบให้ดีขึ้น และให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
              ในขั้นแรก กฟผ. ได้รวบรวมข้อมูลศักยภาพพลังงานลมทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความเร็วลมในประเทศไทยโดยเฉลี่ยจัดอยู่ในระดับปานกลาง - ต่ำ คือ ต่ำกว่า 4 เมตร ต่อวินาที โดยส่วนที่ความเร็วลมสูงสุดจะอยู่ที่บริเวณชายฝั่ง บริเวณเกาะต่างๆ ในอ่าวไทย และในบริเวณภาคใต้ของประเทศ
               ต่อมาในปี พ.ศ.2526 กฟผ. ได้เลือกบริเวณแหลมพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาที เป็นที่ติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นแห่งแรกของ กฟผ. ซึ่งกังหันลมนี้ได้ผลิตไฟฟ้าร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน
               ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 - 2535 กฟผ. ได้เริ่มติดตั้งกังหันลมขนาดเล็ก เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่สถานีแห่งนี้เพิ่มเติมอีก จำนวน 6 ชุด พร้อมติดตั้งอุปกรณ์บันทึกข้อมูลคือ Digital Data Logger และ Strip Chart Recorder ไว้อย่างครบถ้วน
               สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็นำมาใช้ให้แสงสว่างในบริเวณ สถานีทดลองฯ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สรุปได้ว่า การใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ที่บริเวณสถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพนี้ ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องชิ้นส่วนบางชนิดชำรุด เช่น ใบกังหัน หรือตลับลูกปืนชำรุด นอกจากนี้ บางกรณี ยังมีปัญาหาเรื่องการจัดซื้ออะไหล่จากต่างประเทศได้ล่าช้าอีกด้วย
               เมื่อการทดลองใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้าปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ ในปี พ.ศ.2531 กฟผ. จึงได้กำหนดแผนงานเชื่อมโยงระบบกังหันลมผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อการใช้งานจริง และเพื่อศึกษาหาประสบการณ์ในการเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายไปพร้อมๆ กัน โครงการดังกล่าวดำเนินไปด้วยดีตามแผนงาน โดยได้รับความร่วมมือจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2533 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานลมมาใช้งานได้ โดยผลิตและส่งผ่านระบบจำหน่ายไฟฟ้า
               นอกเหนือจากการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว ที่บริเวณสถานีพลังงานทดแทนพรมหมเทพแห่งนี้ กฟผ. ยังได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อใช้งานร่วมกับกังหันลม และเชื่อมโยงระบบการผลิตนี้เข้ากับระบบจำหน่ายเช่นกัน
               จากความสำเร็จในการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมดังกล่าว ทำให้ กฟผ. มีความมั่นใจในการศึกษาและติดตั้งกังหันลมเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ.2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 10 กิโลวัตต์ เพิ่มอีก 2 ชุด โดยเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าด้วย
               จากประสบการณ์ที่ได้รับจากการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก มากกว่า 13 ปี ตลอดจนผลการติดตามเทคโนโลยีด้านกังหันลมมาโดยตลอด ทำให้ กฟผ. มีความพร้อมที่จะติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ขึ้น ในปี พ.ศ.2539 กฟผ. จึงติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 150 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นกังหันลมขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยติดตั้งมาในประเทศไทย รวมทั้งกังหันผลมชนิดนี้ มีเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้สำหรับการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน ได้ยกเลิกการใช้งานกังหันลมขนาดเล็กที่ต้องซ่อมบำรุงบ่อย หรือชำรุดเสียหาย ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมจากกังหันลมเหลือเพียง 170 กิโลวัตต์ ต่อมา ในปี พ.ศ.2541 กฟผ. ได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มเติมอีก จึงมีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 180.124 กิโลวัตต์
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์ จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานได้ทำการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในลักษณะต่างๆ กัน
               กฟผ. ได้รวบรวมข้อมูลด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งใน และต่างประเทศ และได้ทดลองนำเอาเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานตามหน่วยงานต่างๆ ของ กฟผ. ในลักษณะต่างๆ กับ เช่น ใช้วิทยุสื่อสาร สัญญญาณไฟกระพริบ ไฟแสงสว่างสำหรับเจ้าหน้าที่สำรวจ ต่อมา กฟผ. ได้ขยายการใช้งาน โดยการสร้างสถานีพลังงานทดแทนเพื่อสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว คือ ที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึง ระบบต่อร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น ได้แก่ ต่อร่วมกับพลังน้ำ ที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และต่อร่วม (Hybrid) กับพลังงานลมที่สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
               นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้สร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 500 กิโลวัตต์ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้เริ่มผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2547 เป็นต้นมา

เซลล์แสงอาทิตย์
             เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ส่วนใหญ่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ได้แก่ ซิลิคอน เยอรมันเนียม หินต่างๆ    การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า(อิเลคตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ความเป็นมาของโครงการ
            จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันตกที่อยู่บนสุดของ ประเทศไทย สภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบสองฝั่งลำน้ำและที่ราบในหุบเขาส่วนใหญ่แม่ฮ่องสอน จึงเป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังไม่สามารถสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 115 kV. ผ่านเข้าไปได้ด้วยเหตุผลทางด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ กฟผ. จึงต้องจ่ายไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าขนาด 22 kV. ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร ประกอบกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 4.7 MW และโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน ขนาด 5.4 MW ที่มีอยู่นั้น เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไม่อาจขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปีได้
             กฟผ. ได้พิจารณาทางเลือกการผลิตไฟฟ้าในอนาคตแล้ว พบว่า การก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 kV. ผ่านเขต จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ไม่อนุมัติให้หน่วยงานใดใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงเหลือทางเลือกเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าที่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าใกล้เคียงกัน คือ โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือโดยใช้ เซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ กฟผ. จึงได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทางเลือกนี้ได้ให้ผลดีมากกว่าในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง ด้านความปลอดภัยในการขนส่งเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสการศึกษาวิจัย เพื่อขยายผลในอนาคตขึ้นอีกด้วย
ลักษณะของโครงการ
             การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้ ซึ่งตัวโครงการมีลักษณะเป็นโครงการสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 500 กิโลวัตต์ เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดย กฟผ. จะผลิตร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าดีเซลที่มีอยู่เดิม
วัตถุประสงค์โครงการ
             1. เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและรักษา สิ่งแวดล้อมของจังหวัด
             2. เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านเทคนิค และผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากระบบผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
             3. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับศึกษาแนวทางที่จะนำไปสู่กระบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
งบประมาณ
              กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ โดยใช้งบประมาณ ทั้งหมดเป็นเงิน 187.11 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นเงิน 163.36 ล้านบาท (87.31 %) ส่วนที่เหลือ กฟผ. ออกเงินสมทบ 23.75 ล้านบาท (12.69 % )
ระยะเวลาการดำเนินงาน
             เริ่มก่อสร้าง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
             แล้วเสร็จ 9 เมษายน พ.ศ. 2547
             ทั้งนี้ได้เริ่มทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบส่ง 22 kV. ของ กฟภ. ตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 และได้นำโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เข้าใช้งานโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547
ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
             ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล แบตเตอรี่ และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งมีรายละเอียดด้านสมรรถนะทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล
             1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิกอนแบบผลึกรวม ( Poly Crystalline) กำลังผลิตต่อแผง 300 วัตต์ จำนวน 1,680 แผง มีประสิทธิภาพแผง (Module Efficiency) ประมาณ 13.0% ภายใต้สภาวะแวดล้อม ตามมาตรฐานการทดสอบ (JIS C8918, IEC1215) คือความเข้มแสงที่ตกกระทบตั้งฉากกับแผงเซลล์ 1,000 วัตต์ต่อตารางเมตร และอุณหภูมิแผงเซลล์ 25 องศาเซลเซียส เพื่อนำแผงเซลล์ขนาด 300 วัตต์มาต่ออนุกรม 12 แผงต่อสตริง(String) รวมจำนวน 140 สตริง จะได้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 614.4 โวลต์ต่อสตริง
            2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter/Converter) จำนวน 2 ชุด พร้อมระบบควบคุม ประกอบด้วย Inverter ขนาดกำลังผลิต 250 kVA. จำนวน 2 เครื่อง ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และ Power Converter ขนาดกำลังผลิต 200 kVAจำนวน 2 เครื่อง เมื่อใช้งานร่วมกับระบบ Batterry จะมีประสิทธิภาพในการแปลงกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 94 % ได้ค่าแรงเคลื่อน ไฟฟ้าด้าน DC-Side 450-650 V. ด้าน AC-Side 400 V. 3 Phase โดยมีค่า Power Factor ไม่ต่ำกว่า 95 %
             3. แบตเตอรี่ (Battery Storage) เป็นชนิดตะกั่วกรด แบบ Stationary Battery จำนวน 280 ลูก มีแรงดันไฟฟ้า 560 V. รวมความจุ 1,200 Ah. แบตเตอรี่จะจ่ายไฟฟ้าเสริมให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เมื่อกำลังผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงกระทันหัน (เช่น ในกรณีที่เฆมเคลื่อนตัวเข้าบดบังแสงอาทิตย์อย่างรวดเร็ว) การใช้แบตเตอรี่เพื่อแก้ปัญหากำลังผลิตไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์ที่อาจเปลี่ยนแปลงกระทันหันนี้ จะช่วยลดผลกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีสภาพไม่มั่นคง เช่น ที่เป็นอยู่ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนลงได้
             4. ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล (System Controller and Data Acquisition) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง แปลงกระแสไฟฟ้าทั้ง 2 ชุด ควบคุมการเก็บประจุและคายประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ เพื่อให้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มีค่าสม่ำเสมอ ระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลจะมีข้อมูลระบบไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นทั้งหมดทุกช่วงเวลา
             5. ระบบจำหน่าย ประกอบด้วย Transformer, Switch Gear, ระบบป้องกัน และ Metering ระบบนี้ จะทำหน้าที่เพิ่ม แรงดันให้มากพอสำหรับจ่ายเข้าระบบส่งของ กฟภ. โดยมีอุปกรณ์วัดเก็บข้อมูล และแสดงผลค่าทางไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ในการซื้อขายไฟฟ้า รวมทั้งมีระบบควบคุมความปลอดภัยที่เชื่อมต่อกับระบบส่งของ กฟภ.
การทำงานของระบบ
             1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้ติดตั้งไว้ เซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้ เป็นไฟฟ้ากระแสตรงผ่านระบบควบคุมเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า โดยมีระบบ Maximum Power Point Tracking (MPPT) ที่เลือกค่าแรงดันไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่ากำลังผลิตสูงสุดในแต่ละเวลาตามค่าความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ได้รับ
            2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และจ่ายเข้าระบบจำหน่ายของการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจะเป็นระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพเฉลี่ยของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้ามีค่าสูงกว่า 94 % ตลอดทุกช่วงของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ แม้จะมีกำลังผลิตที่ต่ำกว่าปกติมากในช่วงเช้าและเย็นก็ตาม
            3. ในช่วงที่มีเมฆลอยผ่านหรือมีหมอกควันเคลื่อนเข้ามาบังแสงอาทิตย์อย่างกระทันหัน กำลังผลิตไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะลดลงไปทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไฟฟ้าในระบบจำหน่าย เนื่องจากทำให้ความถี่และแรงเคลื่อนไฟฟ้าของระบบส่งเปลี่ยนแปลงไป (ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของกำลังผลิตที่ขาดหายไป) ในกรณีดังกล่าวกำลังผลิตจะลดหายไปในช่วงเวลาสั้นๆ (1-3 นาที) ซึ่งระบบผลิตนี้ได้เตรียมการปรับแก้ไว้แล้ว โดยใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่เข้ามาแทนในช่วงนั้น
             4. ในระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ กำลังผลิตที่ลดหายไปย่อมมีผลกระทบต่อระบบจำหน่ายเป็น อันมาก โดยเฉพาะระบบจำหน่ายที่ไม่มั่นคง เช่น ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จึงต้องใช้แบตเตอรี่ช่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่เกิดปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบขนาดคลังแบตเตอรี่ให้สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้นานไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน
             5. ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ จะผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบจำหน่ายเฉพาะ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ทำให้สามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่สะงา (เก็บน้ำในอ่าง) ในเวลากลางวันลงได้ เพื่อนำน้ำไปใช้ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงกว่า และจะช่วยลดการผลิตไฟฟ้า ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลลงได้มาก
 
สรุป
             โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยไม่ปล่อยของเสีย หรือสิ่งรบกวนใดๆ ที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ระบบผลิตไฟฟ้าของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสภาพมั่นคงเพิ่มขึ้น
              นอกจากนั้น สถานที่นี้ยังเป็นแหล่งสาธิตการใช้พลังงานทดแทนที่สะอาด เพื่อการศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ



บันทึกการเข้า
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #58 เมื่อ: กันยายน 21, 2005, 09:33:45 AM »

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล   Grin 
บันทึกการเข้า
Chayanin-We love the king
ฟ้าสว่างสดใสไร้มลทิน เพียงเมฆินบังเบียดเสนียดฟ้า แกว่งยางยูงปัดป้องท้องนภา ผู้แก่กล้าโปรดอย่าว่าตัวข้าเลย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2610



« ตอบ #59 เมื่อ: กันยายน 21, 2005, 11:00:55 AM »

โดย หรุปแล้ว  เราต้องรอให้โอกาสสุกงอมเสียก่อน 
บันทึกการเข้า

ไม่อยากเป็นมะเร็ง   ก็ใช่ว่าต้องเป็นโรคหัวใจ
สุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ยาก
สุขภาพที่ดีของประเทศไทย   อยู่ที่สภาวะปราศจากโรคร้าย
ไม่ใช่อยู่ที่ต้องเลือกระหว่าง  มะเร็ง  กับ โรคหัวใจ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.129 วินาที กับ 21 คำสั่ง