พูดแล้วก็เหมือนเดิม คือทุกเรื่องของประเทศไทยนายสมชายว่ามันเกิดจาก... 1) คนโง่มันแยะเกินไป คิดมักง่าย(ตรงนี้คนออกแบบถนนก็ต้องช่วยแก้ด้วย แต่คนออกแบบก็ส่วนใหญ่โง่ - โดยเฉพาะป้ายบอกทางไม่ค่อยได้ผล), และ 2) คนบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ มักอ้างว่าเข้มเกินไปก็โดนบ่น โดนชาวบ้านด่า แล้วก็เลยกลายเป็นปล่อยเลย หรือไม่ก็ประชดด้วยการหาเรื่องแกล้งจับ ไม่เคยพอดี...
อืม..ถ้าคิดว่าคนออกแบบส่วนใหญ่โง่..ทำไมถึงคิดแบบนั้นละครับ ถ้างั้นรบกวนพี่แนะนำข้อมูลหน่อย ผมจะได้ไปบอกข้อมูลพี่ๆที่ออกแบบให้ พอดีผมพอรู้จักหลายคนอยู่ครับ
ส่วนเรื่องทางกลับรถ ทางหลวงสาย32นั้นต้องมีเพราะการขยายช่องทางจราจรมากขึ้น การกลับรถตรงเกาะกลางถนนนั้นอันตรายมาก โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่เช่นรถบัสโดยสาร หรือรถบรรทุกขนาดใหญ่
การวิ่งย้อนทิศทางจราจรนั้นผมว่าเป็นเรื่องของความมักง่ายและเห็นแก่ตัวมากกว่า ผมเคยไปช่วยคนที่ประสบเหตุเพราะขับรถย้อนศร ทั้งที่ที่กลับรถห่างไปไม่ถึง100เมตร ถ้าทำตามกฏสักนิดวันนั้นคนที่ย้อนศรคงไม่ตาย คนที่ขับมาตามทาง
ก็ไม่ต้องบาดเจ็บ ดีที่รถที่วิ่งมาตามทางคาดเข็มขัดนิรภัยมาทั้งคันไม่งั้นแย่แน่ ... คนมันจะมักง่ายที่กลับรถห่างบ้านแค่ไม่กี่เมตรมันยังย้อนศรเลย
ถ้าจะปรับปรุงผมว่าน่าจะเป็นเรื่องวินัยจราจรและการบังคับใช้กฏหมายที่ควรต้องปรับปรุงมากกว่าครับ

เรื่องออกแบบตำแหน่งว่าตรงไหนควรจะมีสะพานลอยคนข้ามถนน หรือสะพานลอยสำหรับมอเตอร์ไซค์นั้น ท่านอื่นบอกไปแล้วครับ... มีที่นายสมชายพูดบ่อยและยังไม่ได้รับการแก้ไขคือเรื่องทางโค้งรัชดาหน้าศาลอาญา กับเรื่องป้ายบอกทาง"ก่อน"ถึงทางแยะน่ะครับ...
เรื่องทางโค้งรัชดาหน้าศาลอาญา มีการคุยกันไปแล้วว่าเป็นเพราะส่วนโค้งของถนนมันมี"หัก"ซ้อนข้างในโค้งครับ ทำให้รถยนต์มุ่งหน้าเข้าแยกรัชโยธินที่เลี้ยงแรงเหวี่ยงพอดีกับแรงเสียดทานที่พื้นถนนแบบเป๊ะๆ พอถึงโค้งแล้วต้องหักโค้งซ้อนในโค้ง เลยมักหลุดโค้งครับ, ตรงนี้ในกระทู้เก่าเคยคุยกันว่าออกแบบไม่ดี ทหารช่างมาสร้างแล้วพบว่าไม่ถูกต้องขอแก้ไข แต่ทางคนออกแบบไม่ได้แก้แบบครับ... เรื่องนี้คนประมาทมันก็ขับกันเร็วเกิน แต่คนออกแบบน่าจะเผื่อคนประมาทเอาไว้ด้วยครับ...
เรื่องป้ายบอกทางทั่วไป... คือมาตรฐานประเทศไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันมาก, ของประเทศไทยบอกก่อนถึงแยกกระชั้นชิดเกิน โดยนายสมชายเข้าใจว่าคนออกแบบใช้ความเร็วมาตรฐานไม่เกิน 90 กม./ชม. เป็นตัวตั้ง, ทีนี้เวลาคนขับรถ 120 กม./ชม.(เกินความเร็วขั้นสูงตามกฎหมายแน่ๆ) ก็เลยกลายเป็นมองป้ายไม่ทัน...
สำหรับ"ทางราบ"นั้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ป้ายบอกทางบนถนนวิภาวดีจากดินแดงไปรังสิต มีป้ายเล็กๆบอกโน่นนี่เป็นระยะๆ แล้วบางป้ายก็มีต้นไม้บังอีกต่างหาก... นี่ไม่นับป้ายบนถนนอื่นอีกทั่วประเทศครับ, ก็คือใครก็ตามที่ผ่านมาครั้งแรกต้องหลงก่อนทุกครั้ง...
ส่วนบนทางด่วนก็คือป้ายบอกแยกต่างๆ ที่ไปแปะเอาไว้กับ"ง่ามตัววาย"พอดีเป๊ะ เช่นป้ายบอกแยกไปหลานหลวง ไปสาทร เป็นต้น... เรื่องนี้เคยได้ยินผู้ใหญ่ในประเทศไทยบอกว่าสาเหตุที่รถยนต์"ตก"ทางด่วนก็เพราะไม่ชินเส้นทาง...
นายสมชายเคยขับรถยนต์ที่ต่างประเทศทริปเดียว 20,000 กิโล(สองหมื่น) ก็เคยครับ... เอาที่ USA เขาจะมีป้ายบอกเป็นระยะ"ก่อนถึง"ห่างพอให้คนขับย้ายเลนล่วงหน้าได้ทัน, และหากป้ายบอกสถานที่หลายแห่ง เขาก็จะเรียงตามลำดับ ที่ไหนถึงก่อนจะมีตำแหน่งอยู่ซ้ายมือสุด, สถานที่ห่างออกไปแห่งใหม่จะปรากฎครั้งแรกที่ขวามือสุด แล้วค่อยๆเลื่อนมาทางซ้ายมือเมื่อใกล้ถึงครับ...
สำหรับป้ายบนทางด่วนที่เมืองไทยนั้น คนขับต้องรู้ว่า"หลานหลวงถึงก่อนบางนา"ม่ายงั้นงงเลยครับ... เย้...