เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 17, 2025, 05:05:50 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 36 37 38 [39] 40 41 42 ... 71
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความเห็นเรื่องแรงบิด แรงม้า ของสองรุ่นนี้หน่อยครับ  (อ่าน 197263 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #570 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 04:56:33 PM »

จาก spec ของเครื่อง 4G63 ผมเดาว่า เครื่องverสุดท้าย วิ่งดีกว่า เครื่องverแรก โดยถือสมมุติฐานว่า คงไม่มีใครทำของใหม่ให้ห่วยกว่าเดิม
ซึ่งถ้าดูข้อมูลแค่นี้ แล้ว บอกว่า แรงบิด=อัตราเร่ง

ในทางกลับกัน เราก็สามารถ ทำ ให้เครื่องมีแรงบิด ส.ส. เท่าเดิม โดยมีแรงม้า ส.ส. เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ทำกันอยู่ทั่วไปครับ เ็ป็นการtune step แรกๆ ซึ่งก็ทำให้มีอัตราเร่งดีขึ้นกว่าเดิม แล้วแบบนี้ ทำไมไม่อ้างกันบ้างหล่ะครับ ว่า แรงม้าคือความเร่ง

พี่สมชายตอบแบบฟิสิกส์ไปแล้วนะซึ่งเคลียร์และเข้าใจได้ไม่ยาก

นายสมชายว่าต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์แรงบิด มาจาก Torque นั่นคือแรงที่กระทำครับ หรือ moment of force แปลว่าแรงที่กระทำต่อแกนหมุน... แต่แรงม้า Horse Power คือพลังงาน Energy ครับ...

แรงบิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราเร่ง มาจากสูตรพื้นฐานคือ F = MA ครับ... ส่วนพลังงานมาจากผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ครับ...

Horse Power แปลงหน่วยเป็นวัตต์ เป็นจูลได้เพราะเป็น Energy, แต่แรงบิดแปลงหน่วยเป็นนิวตั้นได้เพราะเป็น Force ครับ... แรงบิดคืออัตราเร่งครับ...

แรงม้าสูงสุดคือพลังงานสูงสุด นั่นคือมี Kinetic Energy สูงสุดครับ... สูตรของพื้นฐานพลังงานจลย์คือ 1/2*m*v*v ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราเร่งครับ, แต่ยิ่งมีความเร็วสูงเท่าไหร่ก็ได้พลังงานจลย์สูง ซึ่งอาจสมดุลย์ไดนามิคอยู่ก็ได้ นั่นคือความเร็วคงที่ไม่ได้เร่งขึ้นเลย...


ส่วนผมจะตอบแบบเครื่องกล

ถ้าเพิ่มแต่แรงม้า แรงบิดไม่เพิ่ม  และยังใช้อัตราทดเกียร์เท่าเดิม  อัตราเร่งมันก็เท่าเดิมไง  เผลอๆจะแย่กว่าเดิม
ตัวแปรแรงม้ามาจากแรงบิดและรอบเครื่อง ถ้าขยับรอบของแรงบิดขึ้นไป แรงม้าจะเพิ่มขึ้นตามทันทีโดยที่ "ไม่ต้องเพิ่มแรงบิด"
ในกรณีแบบนี้อัตราเร่งจะดีขึ้นหรือไม่?  ถ้าออกตัวจากรอบเดินเบาอัตราเร่งช่วงต้นจะแย่ลงเพราะแรงบิดขยับไปอยู่ที่รอบสูงขึ้น
ความเร็วสูงสุดที่ทำได้จะมากขึ้น เพราะรอบเครื่องสูงขึ้นแรงม้าสูงขึ้น แต่อัตราเร่งที่จะขึ้นไปสู่ความเร็วสูงสุดนั้นเท่าเดิม หรือแย่ลง

แรงบิดเกิดจากการระเบิดภายในกระบอกสูบ  แรงระเบิดที่เกิดขึ้นดันชุดลูกสูบลงไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยงแรงบิดเกิดจากตรงนี้
ยิ่งระเบิดแรง ความเร็วเคลื่อนตัวของชุดลูกสูบยิ่งสูง แรงบิดก็ยิ่งสูง  ส่วนนี้แรงม้ายังไม่เกิด เพราะยังไม่มีรอบ

แรงบิดมันคือกำลังที่ทำให้ล้อหมุน คือกำลังที่ให้รถมีความเร็วเพิ่มขึ้น วัตถุที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นคือมี "ความเร่ง"
เมื่อความเร่งกลายเป็นศูนย์เรียกว่า "ความเร็ว" แรงม้าจะอยู่ตรงนี้คือจุดที่รถทำความเร็วได้สูงสุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2013, 05:08:53 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #571 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 04:58:08 PM »

นายสมชายว่าต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์แรงบิด มาจาก Torque นั่นคือแรงที่กระทำครับ หรือ moment of force แปลว่าแรงที่กระทำต่อแกนหมุน... แต่แรงม้า Horse Power คือพลังงาน Energy ครับ...

แรงบิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราเร่ง มาจากสูตรพื้นฐานคือ F = MA ครับ... ส่วนพลังงานมาจากผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ครับ...
สูตร F=ma  Fมันเป็นvectorครับ ต้องเป็นแรงที่ทำการดันรถตรงๆ เช่น วิ่งไปถีบรถ ให้เขยื้อน
ผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ คือ งาน ที่แรงกระทำต่อมวล ครับ เช่น ออกแรง1 N  ทำให้เคลื่อนที่ 1 m
ที่หน่วยtorqueเกิดขึ้น เพราะ แรง เป็นหน่วยที่คิดในแนวเส้นตรง แต่เครื่องยนต์ เป็นแรงในการหมุน

สมมติมีแขน1ฟุตต่อกับจุดหมุน เราออกแรง1ปอนด์ให้แรงตั้งฉากกับจุดที่ดันตลอดเวลา ใช้เวลา10วิ ทำให้หมุนครบหนึ่งรอบ
อีกคน ออกแรง1ปอนด์ เหมือนกัน แต่ใช้เวลา 20วิ ทำให้หมุนหนึ่งรอบ นั่นคือทั้่งคู่ ออกแรง1ปอนด์-ฟุต ได้งาน 2*(pi)*R หน่วยเป็นฟุต-ปอนด์
จะเห็นว่า ถ้ามีindicator เป็นtorqueกับworkเพียงอย่างเดียว เราไม่สามารถบอกความแตกต่างอะไร กับคนสองคนนี่ได้เลย ถูกต้องไหมครับ?

นี่คือจุดที่ต้องมีหน่วย แรงม้า เข้ามาช่วย ในการobserve การเคลื่อนที่ของรถ ทั้ง ความเร็ว และความเ้ร่ง

แรงม้าสูงสุดคือพลังงานสูงสุด นั่นคือมี Kinetic Energy สูงสุดครับ... สูตรของพื้นฐานพลังงานจลย์คือ 1/2*m*v*v ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราเร่งครับ, แต่ยิ่งมีความเร็วสูงเท่าไหร่ก็ได้พลังงานจลย์สูง ซึ่งอาจสมดุลย์ไดนามิคอยู่ก็ได้ นั่นคือความเร็วคงที่ไม่ได้เร่งขึ้นเลย...
1/2*m*v*v  เป็นสูตรคิด kinetic energy ถูกต้องแล้วครับ คือ ถ้ารถคันนี้ชนกับวัตถุใดๆ แล้วไปหยุดที่วัตถุนั้น สิ่งที่โดนชนก็จะได้รับพลังงานไปเต็มๆ

แรงม้า(Power)เป็นกำลัง ไม่ใช้ Energy อย่างที่พี่สมชายเข้าใจครับ ไปเปิด textbook ฟิสิกส์ที่ไหนก็ได้


บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #572 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 04:59:19 PM »

ในกรณีมีเกียร์ CVT อย่างที่พี่สมชายว่า คราวนี้คุยกันง่ายเลยครับ เพราะเราสามารถโยนกราฟแรงบิดหน้าเครื่องทิ้งไปได้เลย  รอบที่เหมาะสมที่สุดในการทำอัตราเร่ง ก็ไม่ใช่ ย่านแรงบิดสูงสุดครับ แต่รอบที่เหมาะสมที่สุดคือรอบที่แรงม้าpeakที่สุด เพราะเราสามารถสร้างtorque(ที่ล้อ)เท่าไหร่ก็ได้  ดังนั้น ถ้า คัน เบนซินหนักเท่าดีเซล ใช้เกียร์CVTที่มีคุณสมบัติในอุดมคติ แบบพี่สมชายว่ามา ก็จะได้ อัตราเร่ง เท่ากัน ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบครับ แต่ถ้าเอาแบบrealisticหน่อย คันเบนซิน จะมีอัตราเร่งขี่กว่ากันนิดๆ เพราะ รอบแรงม้าสูงสุด มีrangeที่กว้างกว่า คันดีเซลครับ

หากเป็น CVT แล้ว, คันที่แรงบิดสูงกว่าคือเครื่องดีเซลจะขี่เบ็นซินตั้งแต่ต้นจนปลายครับ... เริ่มต้นออกรถ ดีเซลก็จะไต่รอบขึ้นแรงม้าสูงสุดได้ก่อน แล้วเอาแรงบิดสูงเข้าห้ำหั่นโดยเลี้ยงรอบไว้ที่จุดแรงบิดสูงสุด โดยปล่อยให้อัตราเร่งไปลงที่ล้อด้วยการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ลดลงไปเรื่อยๆ ครับ...

ส่วนเครื่องเบ็นซินกว่าจะไต่รอบขึ้นสู่แรงบิดสูงสุดได้ก็ช้ากว่าดีเซล แล้วถึงแม้จะเร่งเครื่องเขย่าคันเร่งให้รอบเครื่องวิ่งขึ้นเพื่ออาศัยย่านแรงบิดสูงที่กว้างกว่าหวังให้ได้เปรียบ แต่แรงกระทำที่มีต่อระบบเกียร์ก็มีน้อยกว่า(แรงบิดน้อยกว่า) อัตราเร่งก็เลยน้อยกว่าฯ(จากสูตร F = MA โดยให้มวลคงที่)... แล้วหากหวังจะใช้รอบเครื่องสูงสุดเพราะแรงม้าสูงสุด รอบเครื่องมันก็ไต่ไม่ขึ้นเร็วได้ดังใจเพราะแรงบิดมีน้อย เลยโดนน้ำหนักรถกระทำเป็นแรงต้านอัตราเร่งอยู่ ซึ่งหากจะให้รอบเครื่องขึ้นเร็วก็ต้องทดรอบที่เกียร์ให้สูง ก็จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ครับ...

แรงม้าคือพลังงานครับ แรงบิดคืออัตราเร่ง... คนละอย่างแต่เรื่องเดียวต่อเนื่องกัน, คือแรงบิดเร่งให้มวลเคลื่อนที่ แล้วเกิดพลังงานจลย์สูงสุดคือแรงม้าสูงสุด...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #573 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 05:07:23 PM »

นายสมชายว่าต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์แรงบิด มาจาก Torque นั่นคือแรงที่กระทำครับ หรือ moment of force แปลว่าแรงที่กระทำต่อแกนหมุน... แต่แรงม้า Horse Power คือพลังงาน Energy ครับ...

แรงบิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราเร่ง มาจากสูตรพื้นฐานคือ F = MA ครับ... ส่วนพลังงานมาจากผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ครับ...
สูตร F=ma  Fมันเป็นvectorครับ ต้องเป็นแรงที่ทำการดันรถตรงๆ เช่น วิ่งไปถีบรถ ให้เขยื้อน
ผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ คือ งาน ที่แรงกระทำต่อมวล ครับ เช่น ออกแรง1 N  ทำให้เคลื่อนที่ 1 m
ที่หน่วยtorqueเกิดขึ้น เพราะ แรง เป็นหน่วยที่คิดในแนวเส้นตรง แต่เครื่องยนต์ เป็นแรงในการหมุน

สมมติมีแขน1ฟุตต่อกับจุดหมุน เราออกแรง1ปอนด์ให้แรงตั้งฉากกับจุดที่ดันตลอดเวลา ใช้เวลา10วิ ทำให้หมุนครบหนึ่งรอบ
อีกคน ออกแรง1ปอนด์ เหมือนกัน แต่ใช้เวลา 20วิ ทำให้หมุนหนึ่งรอบ นั่นคือทั้่งคู่ ออกแรง1ปอนด์-ฟุต ได้งาน 2*(pi)*R หน่วยเป็นฟุต-ปอนด์
จะเห็นว่า ถ้ามีindicator เป็นtorqueกับworkเพียงอย่างเดียว เราไม่สามารถบอกความแตกต่างอะไร กับคนสองคนนี่ได้เลย ถูกต้องไหมครับ?

นี่คือจุดที่ต้องมีหน่วย แรงม้า เข้ามาช่วย ในการobserve การเคลื่อนที่ของรถ ทั้ง ความเร็ว และความเ้ร่ง

เวลาคิดเรื่องแรงที่กระทำในเรื่องนี้นั้นหากดูที่ตัวแกนหมุนเครื่อง ก็จะได้แรงเป็นโมเม็นต์ครับ, แต่แรงที่ว่านั้นจะทดผ่านระบบส่งกำลังออกมาเป็นแรงผลักรถยนต์ไปข้างหน้า... แต่ไม่ว่าจะมองตรงมวลทั้งก้อนคือรถยนต์ หรือตัดพิจารณาเฉพาะแกนเครื่องยนต์ ก็จะได้แรงบิดเป็น"แรง"อยู่ดีครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #574 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 05:15:35 PM »

1/2*m*v*v  เป็นสูตรคิด kinetic energy ถูกต้องแล้วครับ คือ ถ้ารถคันนี้ชนกับวัตถุใดๆ แล้วไปหยุดที่วัตถุนั้น สิ่งที่โดนชนก็จะได้รับพลังงานไปเต็มๆ

แรงม้า(Power)เป็นกำลัง ไม่ใช้ Energy อย่างที่พี่สมชายเข้าใจครับ ไปเปิด textbook ฟิสิกส์ที่ไหนก็ได้

"แรงม้า"คือหน่วยวัดพลังงานที่ปล่อยออกมาในช่วงเวลาหนึ่งครับ ไม่ใช่แรง(Force) ดังนั้นแรงม้าไม่ใช่อัตราเร่ง... แต่เป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากเครื่องในช่วงเวลา(เช่นวินาที)...
ใน Text เล่มไหนที่บอกว่าแรงม้าแปลงออกมาเป็นจูล/วินาทีไม่ได้ แสดงว่าเล่มนั้นเขียนผิด หรือไม่ก็คนอ่านเองอ่านไม่รอบคอบครับ...

หากค้นกูเกิ้ลด้วยคีย์เวิร์ดว่า "convert horsepower to joules" ก็จะได้ลิ้งก์นี้ครับ... http://www.google.com/search?q=horse+power&sourceid=ie7&rls=com.microsoft:en-us:IE-SearchBox&ie=&oe=#hl=en&sugexp=les%3B&gs_rn=1&gs_ri=serp&pq=convert%20horse%20power%20tu%20junkies&cp=24&gs_id=1u&xhr=t&q=convert+horsepower+to+joules&pf=p&tbo=d&rls=com.microsoft:en-us%3AIE-SearchBox&sclient=psy-ab&oq=convert+horse+power+to+j&gs_l=&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&bvm=bv.1355534169,d.bmk&fp=cb7ffadee94a7f12&bpcl=40096503&biw=1508&bih=869

นั่นเป็นเพราะแรงม้าคือพลังงานครับ ไม่ใช่แรง...
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #575 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 05:34:11 PM »

ด้วยความเคารพครับ พี่สมชาย ถ้าจะเอาแรงม้าเป็นพลังงาน เพราะมันแปลงเป็นจูลล์ได้ อย่างนี้ ความเร่งก็ต้องเป็นระยะทางด้วยหรือเปล่า
เพราะมันสามารถแปลงเป็นเมตร /(วินาที)^2 ได้

เรื่องเกียร์CVT ลองนึกภาพตาม เครื่องยนต์เหยียบอยู่ที่ย่านแรงม้าสูงสุด แรงบิดที่เครื่องเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องสน เพราะเราต่อกับเกียร์CVTที่ มีอัตราทดเป็นเท่าไหร่ก็ได้ ที่ไม่ทำให้รอบเครื่องตกจากรอบทีว่า จากออกตัว ต้องการต้องการtourqeที่ล้อเท่าไหร่ ก็คูณกันไป อัตราเร่งก็จะดีกว่า การที่จะแช่รอบเครื่องที่รอบแรงบิดสูงสุด เพราะ อย่างเครื่องดีเซลที่ยกกราฟมา จะเห็นว่า ที่รอบแรงบิดสูงสุด มันมี แรงม้า อยู่แค่ไม่เกิน 100Kw ทั้งๆที่ควรจะเอามาใช้ได้ 150Kw  พอจะนึกภาพออกมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #576 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 05:52:49 PM »

ด้วยความเคารพครับ พี่สมชาย ถ้าจะเอาแรงม้าเป็นพลังงาน เพราะมันแปลงเป็นจูลล์ได้ อย่างนี้ ความเร่งก็ต้องเป็นระยะทางด้วยหรือเปล่า
เพราะมันสามารถแปลงเป็นเมตร /(วินาที)^2 ได้

เรื่องแปลงหน่วยนี่นายสมชายอาจมีข้อผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เรียนมา... แต่ที่แน่ๆคือแรงม้าไม่ใช่แรงกระทำต่อมวลครับ แต่เป็น Work ที่เป็นผลลัพธ์จากแรง(Force) ครับ, ดังนั้นไม่ใช่อัตราเร่ง แต่เป็นงาน(Work) ที่รอบเครื่องสูงสุด...

เรื่องเกียร์CVT ลองนึกภาพตาม เครื่องยนต์เหยียบอยู่ที่ย่านแรงม้าสูงสุด แรงบิดที่เครื่องเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องสน เพราะเราต่อกับเกียร์CVTที่ มีอัตราทดเป็นเท่าไหร่ก็ได้ ที่ไม่ทำให้รอบเครื่องตกจากรอบทีว่า จากออกตัว ต้องการต้องการtourqeที่ล้อเท่าไหร่ ก็คูณกันไป อัตราเร่งก็จะดีกว่า การที่จะแช่รอบเครื่องที่รอบแรงบิดสูงสุด เพราะ อย่างเครื่องดีเซลที่ยกกราฟมา จะเห็นว่า ที่รอบแรงบิดสูงสุด มันมี แรงม้า อยู่แค่ไม่เกิน 100Kw ทั้งๆที่ควรจะเอามาใช้ได้ 150Kw  พอจะนึกภาพออกมั้ยครับ

หากไม่สนแรงบิดฯ มันก็เร่งไม่ขึ้นครับ, ที่รอบสูงสุด(แรงม้าสูงสุด)มันมีแรงบิดน้อยกว่าก็เร่งขึ้นช้ากว่าครับ... แรงบิดมันคือ Force สำหรับชนะแรงเสียดทานครับ...
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #577 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 06:21:14 PM »

ผมตัดแปะเอาดีกว่า ขี้เกียจพิมพ์

อ้างอิงจากคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/engine/enginethai.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/fpte/fptethai.htm
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #578 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 06:25:41 PM »

ด้วยความเคารพครับ พี่สมชาย ถ้าจะเอาแรงม้าเป็นพลังงาน เพราะมันแปลงเป็นจูลล์ได้ อย่างนี้ ความเร่งก็ต้องเป็นระยะทางด้วยหรือเปล่า
เพราะมันสามารถแปลงเป็นเมตร /(วินาที)^2 ได้

เรื่องแปลงหน่วยนี่นายสมชายอาจมีข้อผิดพลาดได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เรียนมา... แต่ที่แน่ๆคือแรงม้าไม่ใช่แรงกระทำต่อมวลครับ แต่เป็น Work ที่เป็นผลลัพธ์จากแรง(Force) ครับ, ดังนั้นไม่ใช่อัตราเร่ง แต่เป็นงาน(Work) ที่รอบเครื่องสูงสุด...

เรื่องเกียร์CVT ลองนึกภาพตาม เครื่องยนต์เหยียบอยู่ที่ย่านแรงม้าสูงสุด แรงบิดที่เครื่องเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องสน เพราะเราต่อกับเกียร์CVTที่ มีอัตราทดเป็นเท่าไหร่ก็ได้ ที่ไม่ทำให้รอบเครื่องตกจากรอบทีว่า จากออกตัว ต้องการต้องการtourqeที่ล้อเท่าไหร่ ก็คูณกันไป อัตราเร่งก็จะดีกว่า การที่จะแช่รอบเครื่องที่รอบแรงบิดสูงสุด เพราะ อย่างเครื่องดีเซลที่ยกกราฟมา จะเห็นว่า ที่รอบแรงบิดสูงสุด มันมี แรงม้า อยู่แค่ไม่เกิน 100Kw ทั้งๆที่ควรจะเอามาใช้ได้ 150Kw  พอจะนึกภาพออกมั้ยครับ

หากไม่สนแรงบิดฯ มันก็เร่งไม่ขึ้นครับ, ที่รอบสูงสุด(แรงม้าสูงสุด)มันมีแรงบิดน้อยกว่าก็เร่งขึ้นช้ากว่าครับ... แรงบิดมันคือ Force สำหรับชนะแรงเสียดทานครับ...
ที่ผมบอก พื้นฐานฟิสิกส์ เป็นเรื่องสำคัญ ในเรื่องนี้ครับ
นิยามของงาน คือ
งาน = แรง x ระยะทางตามแนวแรง ครับ เอาแขนต่อข้อเหวี่ยง ไปฟาดตั้งฉากกับลูกบอล ให้วิ่งไป1เมตร นี่คือ ทอร์ค x ระยะทาง คือ งาน ไม่ใช่แรงม้าครับ  
แรงม้า คือ กำลัง ที่บอกว่า ทำงาน ได้เท่าไหร่ ในหนึ่งช่วงเวลา นึกภาพตามที่ J.watts ทดลองเลยครับ เอาม้า ต่อเชือก กับรอกในแนวดิ่ง ไปดึงถังน้ำ1ลิตร วิ่งสุดแรง ยกน้ำสูงได้ 1 เมตร ใช้เวลา1วินาที สมมุติว่า = 1 แรงม้า ถ้าอยากให้เร็วกว่านี้ ม้าบอกไม่ไหว ต้อง ลดน้ำหนัก ลดลง เหลือครึ่งลิตร ก็ยังวิ่ง ครึ่งวิไม่ได้ เป็นข้อจำกัดของม้า เลยต้องต่อเกียร์ทดรอบ ไปหมุนรอก คราวนี้ วิ่งไปแค่ 0.5 เมตร ใช้เวลาครึ่งวิ จบตามrequirement

มันสัมพันธ์กันอย่างนี้ แล้วจะไปแยก กันได้อย่างไรครับ ว่าแรงม้าคือความเร็วสูงสุด แรงบิด คือ ความเร่ง

แรงบิดมันคือ Force สำหรับชนะแรงเสียดทานครับ... มันคือ torque ที่ล้อครับ ไม่ใช่ที่เครื่องยนต์
เรากำลังคุยกันจาก เสปคเครื่องยนต์ แล้วบอกว่า คันนี้ วิ่งดีกว่าคันนั้น เพราะ แรงบิดสูงสุด มันมากกว่าอีกคัน แล้วก็ไปติต่าง เอา ว่าแรงบิดสะท้อนอัตราเร่ง แรงม้าสะท้อนความเร็วสูงสุด
ซึ่งมันจะเป็นอย่างนั้นครับ ถ้าเอาเครื่องไปวิ่งโทงๆกับพื้น แล้วก็แข่งอัตราเร่งกันแค่ ที่รอบแรงบิดสูงสุดแล้วหยุด เช่น spec เบนซ์ที่เอามาคุยกัน จับวางต่อกับล้อ อัตราทด1-1 แล้วเหยียบ ไปถึงแค่ 1600-1800 รอบ แบบนี้ไม่ต้องสนแรงม้าครับ ขอแค่ให้มีพอลากน้ำหนัก ดีเซลชนะแน่นอนครับ เพราะ พ.ท.ใต้กราฟ เยอะกว่า แต่นี่ผมกำลังพูดถึงรถ ที่มีเกียร์ ซึ่งการมีเกียร์มันช่วยขยายrangeรอบการทำงานของเครื่องครับ อัตราเร่ง จะดูแค่ เลขบิด peak แล้วบอกว่าคันไหนวิ่งกว่ากันไม่ได้

ย้ำอีกครั้ง ว่า ถ้ามีเกียร์CVTในอุดมคติ แล้ว จะให้อัตราเร่งสูงสุด ก็ต้องเหยียบแช่ ให้อยู่ในรอบ ย่านแรงม้าสูงสุด ไม่สนทอร์คหน้าเครื่องจะเป็นเท่าไหร่ เพราะเราทดรอบได้ไม่จำกัดโดย ซึ่งจะแปลงเป็นทอร์คที่พื้นเท่าไหร่ก็ได้ ที่ไม่ทำให้หลุด ย่านแรงม้าสูงสุด ถึงจะไม่ใช่CVT เวลาคำนวน อย่างรถ dragที่ออกแบบเกียร์มาเน้นอัตราเร่งเท่านั้น ก็สับเกียร์ในรอบม้าสูงสุดกันทั้งนัน้ครับ



 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2013, 06:54:57 PM โดย TakeFive » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #579 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 06:55:12 PM »

ที่ผมบอก พื้นฐานฟิสิกส์ เป็นเรื่องสำคัญ ในเรื่องนี้ครับ
นิยามของงาน คือ
งาน = แรง x ระยะทางตามแนวแรง ครับ เอาแขนต่อข้อเหวี่ยง ไปฟาดตั้งฉากกับลูกบอล ให้วิ่งไป1เมตร นี่คือ ทอร์ค x ระยะทาง คือ งาน ไม่ใช่แรงม้าครับ  
แรงม้า คือ กำลัง ที่บอกว่า ทำงาน ได้เท่าไหร่ ในหนึ่งช่วงเวลา นึกภาพตามที่ J.watts ทดลองเลยครับ เอาม้า ต่อเชือก กับรอกในแนวดิ่ง ไปดึงถังน้ำ1ลิตร วิ่งสุดแรง ยกน้ำสูงได้ 1 เมตร ใช้เวลา1วินาที สมมุติว่า = 1 แรงม้า ถ้าอยากให้เร็วกว่านี้ ม้าบอกไม่ไหว ต้อง ลดน้ำหนัก ลดลง เหลือครึ่งลิตร ก็ยังวิ่ง ครึ่งวิไม่ได้ เป็นข้อจำกัดของม้า เลยต้องต่อเกียร์ทดรอบ ไปหมุนรอก คราวนี้ วิ่งไปแค่ 0.5 เมตร ใช้เวลาครึ่งวิ จบตามrequirement

มันสัมพันธ์กันอย่างนี้ แล้วจะไปแยก กันได้อย่างไรครับ ว่าแรงม้าคือความเร็วสูงสุด แรงบิด คือ ความเร่ง

เครื่องรถ10ล้อ Mitsubishi 6D24-TL Engine Maximum output 243 PS // Engine Maximum torque 1,245 N.m @1,500rpm
เครื่อง Ferrari Tipo F131 Engine Maximum power 405 PS // Engine Maximum torque 373 N.m @4,750rpm

เครื่อง Tipo F131 แรงม้าเยอะกว่ากันเกือบเท่าตัว เอาไปยัดใส่รถบรรทุกวิ่งไหวมั้ยครับ
กลับกัน 6D24-TL แรงบิดเยอะกว่ากันมากกว่า3เท่า เอามายัดใส่เฟอรารี่ ความเร็วปลายจะเท่าเครื่องเดิมมั้ยครับ

คราวนี้ต้องแยกมั้ยครับ ว่าอะำไรคือกำลังฉุดลากหรืออัตราเร่ง  อะไรคือความเร็วสูงสุด

พื้นฐานฟิสิกส์ เป็นเรื่องสำคัญ  แต่ในเมื่อคุยกันเรื่องเครื่องยนต์ พื้นฐานวิชาเครื่องกลสำคัญกว่า
เพราะเรื่องเครื่องยนต์มันเป็นของที่จับต้องได้ ต้องดูที่ความเป็นจริงด้วย ไม่ใช่เอาแต่นั่งพิสูจน์สูตรในกระดาษ



อย่างรถ dragที่ออกแบบเกียร์มาเน้นอัตราเร่งเท่านั้น ก็สับเกียร์ในรอบม้าสูงสุดกันทั้งนั้นครับ

รถสำหรับแข่ง Drag Race ใช่ครับว่าเป็นรถที่เน้นอัตราเร่งสูงสุด
แต่การคำนวนอัตราทดรวม เขาคำนวนให้สับเกียร์แล้วรอบเครื่องตกลงมาอยู่ในช่วง "แรงบิดสูงสุด" แบบนี้จึงจะได้ "อัตราเร่ง" สูงที่สุด
ไม่ใช่สับเกียร์ที่รอบแรงม้าสูงสุด เพราะรถแข่งแบบนี้ต้องการ "อัตราเร่ง" ไม่ใช่ "ความเร็ว"  ผลการแข่งขันวัดกันที่ "เวลา" ไม่ใช่ "ระยะทาง"
ความเป็นจริงรถแข่งที่ใช้ "เวลาตัดสิน" เซ็ทรถแบบนี้ทั้งนั้น

ยกเว้นรายการหนึ่งที่ผมนึกออกคือ 24 Hours of Le Mans ที่ใช้ "ระยะทาง" เป็นตัวตัดสินในเวลา24ชั่วโมง ซึ่งสนามเป็นทางโล่งยาวเน้น "ความเร็ว"
แบบนี้การเซ็ทรถและอัตราทดรวมจะเน้นที่ "ความเร็วสูงสุด" เพื่อให้ได้ระยะทางมากที่สุดในเวลา24ชั่วโมง และแรงบิดเพียงพอที่จะเร่งไปหาความเร็วสูงสุดนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2013, 07:21:14 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #580 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 07:40:07 PM »

ที่ผมบอก พื้นฐานฟิสิกส์ เป็นเรื่องสำคัญ ในเรื่องนี้ครับ
นิยามของงาน คือ
งาน = แรง x ระยะทางตามแนวแรง ครับ เอาแขนต่อข้อเหวี่ยง ไปฟาดตั้งฉากกับลูกบอล ให้วิ่งไป1เมตร นี่คือ ทอร์ค x ระยะทาง คือ งาน ไม่ใช่แรงม้าครับ 
แรงม้า คือ กำลัง ที่บอกว่า ทำงาน ได้เท่าไหร่ ในหนึ่งช่วงเวลา นึกภาพตามที่ J.watts ทดลองเลยครับ เอาม้า ต่อเชือก กับรอกในแนวดิ่ง ไปดึงถังน้ำ1ลิตร วิ่งสุดแรง ยกน้ำสูงได้ 1 เมตร ใช้เวลา1วินาที สมมุติว่า = 1 แรงม้า ถ้าอยากให้เร็วกว่านี้ ม้าบอกไม่ไหว ต้อง ลดน้ำหนัก ลดลง เหลือครึ่งลิตร ก็ยังวิ่ง ครึ่งวิไม่ได้ เป็นข้อจำกัดของม้า เลยต้องต่อเกียร์ทดรอบ ไปหมุนรอก คราวนี้ วิ่งไปแค่ 0.5 เมตร ใช้เวลาครึ่งวิ จบตามrequirement

มันสัมพันธ์กันอย่างนี้ แล้วจะไปแยก กันได้อย่างไรครับ ว่าแรงม้าคือความเร็วสูงสุด แรงบิด คือ ความเร่ง

แรงบิดมันคือ Force สำหรับชนะแรงเสียดทานครับ... มันคือ torque ที่ล้อครับ ไม่ใช่ที่เครื่องยนต์
เรากำลังคุยกันจาก เสปคเครื่องยนต์ แล้วบอกว่า คันนี้ วิ่งดีกว่าคันนั้น เพราะ แรงบิดสูงสุด มันมากกว่าอีกคัน แล้วก็ไปติต่าง เอา ว่าแรงบิดสะท้อนอัตราเร่ง แรงม้าสะท้อนความเร็วสูงสุด
ซึ่งมันจะเป็นอย่างนั้นครับ ถ้าเอาเครื่องไปวิ่งโทงๆกับพื้น แล้วก็แข่งอัตราเร่งกันแค่ ที่รอบแรงบิดสูงสุดแล้วหยุด เช่น spec เบนซ์ที่เอามาคุยกัน จับวางต่อกับล้อ อัตราทด1-1 แล้วเหยียบ ไปถึงแค่ 1600-1800 รอบ แบบนี้ไม่ต้องสนแรงม้าครับ ขอแค่ให้มีพอลากน้ำหนัก ดีเซลชนะแน่นอนครับ เพราะ พ.ท.ใต้กราฟ เยอะกว่า แต่นี่ผมกำลังพูดถึงรถ ที่มีเกียร์ ซึ่งการมีเกียร์มันช่วยขยายrangeรอบการทำงานของเครื่องครับ อัตราเร่ง จะดูแค่ เลขบิด peak แล้วบอกว่าคันไหนวิ่งกว่ากันไม่ได้

ย้ำอีกครั้ง ว่า ถ้ามีเกียร์CVTในอุดมคติ แล้ว จะให้อัตราเร่งสูงสุด ก็ต้องเหยียบแช่ ให้อยู่ในรอบ ย่านแรงม้าสูงสุด ไม่สนทอร์คหน้าเครื่องจะเป็นเท่าไหร่ เพราะเราทดรอบได้ไม่จำกัดโดย ซึ่งจะแปลงเป็นทอร์คที่พื้นเท่าไหร่ก็ได้ ที่ไม่ทำให้หลุด ย่านแรงม้าสูงสุด ถึงจะไม่ใช่CVT เวลาคำนวน อย่างรถ dragที่ออกแบบเกียร์มาเน้นอัตราเร่งเท่านั้น ก็สับเกียร์ในรอบม้าสูงสุดกันทั้งนัน้ครับ

เรื่องพื้นฐานฟิสิกส์มันสำคัญก็ใช่ครับ, เปิด Post มาด้วยหลักการทางฟิสิกส์ อธิบายหลักพื้นฐาน หากจะแย้งก็คงต้องไปค้นกูเกิ้ลเอามาแย้ง แล้วก็ไม่ต้องค้นจะดีกว่า เพราะเรื่องหลักการมันก็เหมือนกันแหละครับ...

แต่ตอนท้าย Post บอกว่าเกียร์ CVT ควรจะแช่รอบเอาไว้ที่แรงม้าสูงสุดเพื่อให้เร่งขึ้นได้เร็วสุดนี่บอกได้เลยว่าไม่ใช่แน่ๆครับ เพราะใครที่เคยขับรถ CVT จะรู้ดีว่าเวลาขับจริงนั้น เวลาเร่งเครื่องฯ รอบเครื่องจะไม่ขึ้นสูงสุดตามสเปคแรงม้าสูงสุดหรอกครับ แต่จะป้วนเปี้ยนแถวย่านแรงบิดสูงสุด แล้วความเร็วรถจะขึ้นฯ โดยรอบเครื่องไม่ขึ้น... คนไม่คุ้นก็จะบอกว่าเสียงเครื่องมันแปลกๆ "ตีรอบสูง"ไปตั้งแต่แรกเหมือนคลัทช์ลื่น ซึ่งไม่ใช่...

ยืนยันเหมือนเดิมครับ ว่าแรงบิดสูงสุดคืออัตราเร่งดีที่สุด เลยย่านนั้นไปแล้วเร่งขึ้นได้ช้ากว่า... ส่วนที่รอบสูงสุดแรงม้าสูงสุดนั่นเร่งไม่ออกแล้วครับ ทุกเกียร์เลย ไม่ว่าจะเกียร์กระปุก เกียร์ออโต้ หรือเกียร์ CVT ก็ตาม เพราะรอบมันตันแล้วครับ ต้องเปลี่ยนเกียร์ฯ...
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #581 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 07:53:22 PM »

เอาเปนว่า ถ้ายังไม่เชื่อกันว่าอัตราเร่งดีที่สุด ต้องสับเกียร์ที่ช่วงแรงม้าสูงสุด ไม่ใช่บิดสุงสุด เดี๋ยวผมหาreference มาให้ดูล่ะกัน ไม่ใช่ว่าผมคิดเองเออเอง
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #582 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 07:59:09 PM »

สารภาพว่าไม่อยากให้เค้าเลิกถกกันเลยครับ

กำลังเก็บเกี่ยวอย่างเมามันส์  Grin



ขอบคุณทั้ง3ท่านเลย  หลงรัก
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #583 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 07:59:38 PM »

ยาวเลยเนี่ย   Grin Grin Grin  
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #584 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 08:15:27 PM »

+ทุกท่านครับ ตามอ่านต้องตั้งใจอ่านเลยทีเดียว  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
หน้า: 1 ... 36 37 38 [39] 40 41 42 ... 71
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.217 วินาที กับ 21 คำสั่ง