ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้นครับพี่ ผมจะสื่อว่า โดยปกติรถจะมี redline ที่รอบสูงกว่าแรงม้าสูงสุดอยู่แล้วครับ
ย้ำอีกครั้ง ต้องการอัตราเร่งที่ดีที่สุด ต้องการ แรงบิดที่พื้นมากที่สุด ไม่ใช่แรงบิดสุงสุดที่เครื่องครับ
คุณกลืนน้ำลายตัวเองแล้วครับ โพสนี้ผมถือว่าคุณชัดเจนนะ "ว่าแรงบิดลงพื้นมากขึ้นอัตราเร่งจะดีขึ้น"
ผมจำหน้าตากราฟแรงบิดของตัวdieselได้ครับ อย่างที่นายสมชายว่าครับ บิดสูงสุดมีมาแคบๆ แล้วมันจะเหี่ยวไปเรื่อยๆ จนเหลือประมาณ 300 ครับ ที่ผมจำได้ เพราะตอนนั้น ผมเลือกระหว่างดีเซลกับเบนซินครับ จะเห็นได้ว่า แม้แรงบิดจะเหี่ยวอย่างไร มันก็ประมาณ บิดสูงสุดของตัวเบนซิน อยู่ดี แต่กลับวิ่้ง0-100เท่ากัน แล้วจะบอกว่า แรงบิดคือความเร่งกันอยู่ได้
คำถาม แรงบิดที่พื้นมาจากไหน?
คำตอบอยู่ในลิงค์
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=123995.msg3939062#msg3939062ซึ่งสิ่งที่ผมโพสมันก็คือคำตอบเดียวกับที่คุณบอกว่า "ต้องการอัตราเร่งที่ดีที่สุด ต้องการแรงบิดที่พื้นมากที่สุด"
แต่สิ่งที่คุณพลาดก็คือคุณไม่ได้คิดว่า "แรงบิดลงพื้น" ที่คุณว่าน่ะต้นกำลังมันมาจากไหน ถ้าไม่ใช่แรงบิดจากเครื่องยนต์
ถ้าขี้เกียจอ่านทั้งหมดผมจะลากย่อหน้ามาให้อ่าน
เมื่อคุยกันเรื่องเครื่องยนต์สิ่งที่ต้องทราบก่อนคือพื้นฐานการทำงาน
หลักการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายใน เกิดจากการระเบิดภายในกระบอกสูบ
การระเบิดคือการขยายตัวของก๊าซ ซึ่งแรงระเบิดนี้จะขยายตัวไปดันชุดลูกสูบให้เคลื่่อนที่ลง
ถ่ายกำลังไป "หมุน" ชุดเพลาข้อเหวี่ยง กำลังที่เกิดจากการหมุนนี้เรียกว่า "แรงบิด"
หน่วยของแรงบิดเช่น kg.m หมายถึงอะไร ตัวอย่างเครื่องยนต์มีแรงบิดสูงสุด 25kg.m @3500
หมายความว่าเครื่องยนต์ตัวนี้มีแรงที่จะหมุนคานยาว1m ที่มีน้ำหนัก25kgอยู่ที่ปลายคาน
แรงบิดมากขึ้นจะสามารถหมุนน้ำหนักมากขึ้นได้ในเวลาเท่าเดิม หากน้ำหนักเท่าเดิมก็จะใช้เวลาในการหมุนน้อยลง
ในความเป็นจริงแรงบิดจากเครื่องยนต์โดยตรงไม่เพียงพอจะทำให้รถยนต์ทั่วไปที่หนักมากกว่า1ตันให้เคลื่อนที่ได้
จึงต้องมีระบบส่งกำลังหรือชุดเกียร์เพื่อช่วยในการเพิ่มแรงบิด แรงบิดที่เพลาขับ = แรงบิดเครื่องยนต์สูงสุด x อัตราทดรวม
ตัวอย่าง รถยนต์มีเฟืองเกียร์6จังหวะ อัตราทดเกียร์1 = 3.313 \\ อัตราทดเฟืองท้าย = 4.50 แรงบิดเครื่อง = 25kg.m
อัตราทดรวม 3.313 x 4.50 = 14.909 \\ แรงบิดที่เพลาขับ 25 x 14.909 = 372.73kg.m @3500rpm
แรงบิดยิ่งมากก็ยิ่งมีกำลังในการหมุนน้ำหนักได้มากขึ้น หรือใช้เวลาในการหมุนน้อยลงนั่นคือ "อัตราเร่ง" เพิ่มขึ้นในเรื่องเครื่องยนต์แรงบิดที่มากขึ้นจะส่งผลให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนด้วยความเร่งมากขึ้น รอบเครื่องจะมีความเร่งตาม
ในเรื่องระบบส่งกำลัง เมื่อแรงบิดจากต้นกำลังมากขึ้นจะส่งผลให้ความเร่งในการหมุนที่เพลาขับสูงขึ้นตามไปด้วย
ผลคือล้อรถยนต์หมุนด้วยความเร่งเพิ่มขึ้น อัตราเร่งของรถยนต์ก็เพิ่มสูงขึ้นตามแรงบิดที่สูงขึ้นมีผลให้ความเร่งของรอบเครื่องสูงขึ้น รวมถึงความเร่งในการหมุนของล้อขับเคลื่อนสูงขึ้น
ซึ่งมันก็กลายมาเป็นข้อสรุปด้วยว่า ทำไมต้องเปลี่ยนเกียร์ให้รอบตกไปอยู่ในย่านที่แรงบิัดกำลังขึ้นสูงที่สุด
โพสนี้เป็นโพสสุดท้ายตามพี่สมชายครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ป่วยการจะคุยกันต่อ