เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 07, 2025, 09:03:40 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คราฟต์เบียร์ไทย: การต้มเบียร์คืออาชญากรรม?  (อ่าน 8378 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 07:58:16 PM »

คํ่าคืนวันศุกร์เมื่อหลายเดือนก่อน ผมนัดเพื่อนไปนั่งกินดื่มกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ระหว่างที่กำลังสนทนากันอย่างออกรส ก็เหลือบไปเห็นคนใส่เสื้อยืดที่มีสกรีนข้อความสะดุดตามาก

เสื้อนั้นเขียนว่า WE DRINK ONLY GOOD BEERS.

ผมมาทราบภายหลังว่าเสื้อยืดนั้นทำขึ้นโดยกลุ่มคนที่รักการดื่มเบียร์ดีๆ

ผมเข้าใจดีว่าคำว่า"GOOD" นั้นหมายถึงคุณภาพและรสชาติของเบียร์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคราฟต์เบียร์หายากหรือเบียร์ราคาแพงเท่านั้น แต่เบียร์จากผู้ผลิตเจ้าใหญ่ๆ ก็มีคุณภาพที่ดีเข้าข่ายได้เช่นเดียวกัน

จะเจ้าใหญ่ เจ้ากลาง เจ้าเล็ก ในประเทศหรือต่างประเทศที่ไหนในโลกก็ไม่เกี่ยง ขอให้เป็นเบียร์ที่ดี ผู้บริโภคอย่างเราชอบหมด

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบดื่มเบียร์ดีๆ และสนุกที่ได้เสาะแสวงหาเบียร์แปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ ยิ่งในปัจจุบันที่กระแสคราฟต์เบียร์ในบ้านเรากำลังเฟื่องฟูอย่างมากก็ยิ่งมีโอกาสได้รื่นรมย์กับเบียร์มากหน้าหลายตามากขึ้น

แต่หลังจากที่ได้ลองเบียร์ต่างประเทศมาจนเกือบครบทุกทวีปวันหนึ่งผมก็เกิดสงสัยว่าแล้วเบียร์ในบ้านเราล่ะ นอกจากยี่ห้อสัตว์ป่าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสือ สิงห์ กระทิง แรดที่เราคุ้นลิ้นกินกันมาตั้งแต่รุ่นปู่แล้ว ยังมี Thai good beers ยี่ห้ออื่นๆ ให้เราได้ชิมบ้างไหม ทำไมเราไม่เคยเห็นคราฟต์เบียร์สัญชาติไทยบ้างเลย ทำไมเราจึงได้กินแต่เบียร์ไทยประเภท "ลาเกอร์" ทั้งที่จริงๆ มีเบียร์อีกหลายประเภทในโลก


ผมจึงเริ่มออกค้นหาคราฟต์เบียร์ไทย แล้วก็พบว่าตอนนี้กระแสคราฟต์เบียร์ไทยกำลังบูมอย่างมาก มีผู้ผลิตรายเล็กๆ มากกว่า 40 เจ้า และมีผู้บริโภคให้การต้อนรับที่ดีเยี่ยม

นอกจากนี้ ผมยังได้พบว่ามีความจริงบางอย่างที่ชวนสะอึกซ่อนอยู่ในน้ำสีอำพัน



ก่อนที่จะเล่าถึงปรากฏการณ์คราฟต์เบียร์ไทยผมต้องขอเล่าสั้นๆ สำหรับคนที่อาจจะยังไม่ได้มีพื้นฐานเรื่องคราฟต์เบียร์สักเล็กน้อย

กล่าวอย่างง่ายที่สุดคราฟต์เบียร์คือเบียร์ที่ไม่ได้ผลิตจากผู้ผลิตรายใหญ่ แต่ผลิตโดยผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งการที่ไม่ต้องเอาใจตลาดแมสทำให้พวกเขากล้าทดลองและนำเสนออะไรที่แปลกใหม่ได้มากกว่า ผลก็คือเบียร์ที่แตกต่างและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์

มันคือเบียร์ที่ทำอย่างประณีตใส่ใจ มีความพิถีพิถันเหมือนงานศิลปะทำมือ

ความจริงแล้วคราฟต์เบียร์มีมานานนับพันปี จุดเริ่มต้นมาจากเบียร์ฝั่ง Old World ในแถบยุโรป เช่น เยอรมนี อังกฤษ และเบลเยียม ที่เต็มไปด้วยโรงหมักเบียร์รายย่อยเป็นพันๆ หมื่นๆ ราย ทั้งต้มกินเองในบ้าน (เรียกว่า Home Brew) ขายในผับ หรือผลิตกันในโบสถ์โดยนักบวช โดยเฉพาะเบียร์จากเบลเยียมที่ได้รับการยกย่องว่าเต็มไปด้วยนวัตกรรม เพราะไม่มีกฎตายตัวว่าต้องใช้วัตถุดิบแค่ 4 อย่าง (ได้แก่ น้ำ มอลต์ ฮอปส์ และยีสต์) เหมือนประเทศอื่นๆ เบียร์ของเบลเยียมจึงค่อนข้างหวือหวา จะใส่ผลไม้หรือช็อกโกแลตก็ใส่ได้เต็มที่

ผู้เชี่ยวชาญเบียร์บางคนให้ความเห็นว่าเบียร์เบลเยียมคือคราฟต์เบียร์ยุคเก่า พวกเขาคราฟต์กันมาพันปีแล้วเพียงแต่ไม่มีคนไปนิยามให้เท่านั้นเอง

คำถามคือ แล้วใครเป็นคนนิยามคำว่าคราฟต์เบียร์ในปัจจุบัน?

คำตอบคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือตัวแทนของเบียร์ฝั่ง New World

จากที่เคยมีกฎหมายห้ามผลิตเบียร์เอง จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อสหรัฐผ่านกฎหมายรับรองการผลิตเบียร์เพื่อบริโภคในชุมชนเล็กๆ การผลิตเบียร์ท้องถิ่นทั่วประเทศจึงเข้าสู่ยุคเบ่งบาน โดยในปี ค.ศ.1978 มีโรงผลิตเบียร์เพียง 42 แห่ง แต่ในปี ค.ศ.2013 มีโรงผลิตเบียร์ถึง 2,822 แห่ง

แม้ว่าจะเกิดขึ้นทีหลัง แต่ด้วยความหลากหลายทางธรรมชาติของแต่ละพื้นที่และความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรีในแบบอเมริกันชนก็ทำให้เกิดเบียร์สไตล์ใหม่ๆมากมาย สหรัฐกลายเป็นผู้จุดกระแสคราฟต์เบียร์ที่ถาโถมไปทั่วโลก ลุกลามไปถึงฝั่งโอลด์เวิลด์และข้ามไปสร้างกระแสที่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทย


แล้วกระแสคราฟต์เบียร์ไทยอย่างทุกวันนี้เกิดขึ้นตอนไหน?



จริงๆแล้วนอกจากเบียร์สิงสาราสัตว์ที่ครองตลาดมานับ 80 ปี เราก็พอจะเห็นผู้ผลิตเบียร์แบบไมโครบริวเวอรี่อยู่บ้าง เช่น โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง, Est.33 by Singha, Hua Hin Brewing (อยู่ในโรงแรมฮิลตัน), Hopf Brew House ที่พัทยา หรือบางคนก็รวม Phuket Beer ที่ไปโด่งดังในต่างแดนให้เป็นคราฟต์เบียร์ด้วย

แต่กระแสคราฟต์เบียร์ไทยหรือกระแสโฮมบริวแบบที่เห็นกันในวันนี้แท้ที่จริงแล้วก่อตัวขึ้นเล็กๆเมื่อประมาณ 3-4 ปีก่อน จากเบียร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ


ผู้จุดกระแสคือร้าน HOBS ซึ่งทำให้คนไทยรู้ว่ามีเบียร์ต่างประเทศยี่ห้ออื่นนอกเหนือจากแค่ Heineken โดยมีวีตเบียร์ (wheat beer) จากเบลเยียมอย่าง Hoegaarden เป็นพระเอก รวมไปถึงเบียร์ Leffe และ Stella Artois หลังจากนั้นก็เขื่อนแตก มีผู้นำเข้าเบียร์นอกไม่ต่ำกว่า 500 ไอเท็ม

คนไทยใช้เวลาปรับตัวกับอิมพอร์ตเบียร์ราวปีกว่า ก็มีบริษัทที่กล้านำเข้าคราฟต์เบียร์เป็นครั้งแรก โดยตัวแรกๆ ที่คนไทยได้จิบคือ Rogue ตามมาด้วย Brewdog และ Mikkeller หลังจากนั้นกองทัพคราฟต์เบียร์ก็บุกเข้ามาอีกเพียบ พร้อมกับบาร์คราฟต์เบียร์ที่ผุดขึ้นมากมาย เดินไปไหนก็มีแต่คนถามหาคราฟต์เบียร์

ในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนี่เอง คนไทยบางกลุ่มที่มองเห็นกระแสคราฟต์เบียร์ก็เริ่มมีความคิดว่า พวกเขาน่าจะทำเบียร์กินเองได้ ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้การต้มเบียร์ในบ้านเราง่ายขึ้นมี 2 ปัจจัยคือ

หนึ่ง อินเตอร์เน็ตที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลในการทำเบียร์ง่ายขึ้น

สอง มีคนนำเข้าอุปกรณ์และวัตถุดิบที่หาไม่ได้ในเมืองไทยมาขาย เช่น ฮอปส์


และผู้ที่ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกคราฟต์เบียร์ไทยคือ Chit Beer



ผมเดินทางไปยังร้าน Chit Home Brewery ที่ตั้งอยู่ที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในบ่ายวันหนึ่ง ชื่อของ "ชิตเบียร์" นั้นมาจากตัวผู้ก่อตั้งที่ใครๆ ก็เรียกเขาว่า "พี่ชิต" นั่นเอง บางคนเปรียบเปรยว่าการนั่งเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังเกาะเกร็ดคือเกาะสวรรค์ของคนรักเบียร์เลยด้วยซ้ำ

"ต้มเท่าไรก็หมดครับ"วิชิต ซ้ายเกล้า บอกผมว่า เขาเปิดเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ ทำมาประมาณ 8 ถัง เสิร์ฟได้ประมาณ 400 แก้ว แต่วันไหนคนเยอะหน่อย บ่ายๆ มาก็หมดแล้ว

จริงอย่างที่เขาพูด แม้การเดินทางจากตัวเมืองมาเกาะแห่งนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ร้านก็เต็มไปด้วยผู้คนจนแทบไม่มีที่นั่ง ทั้งหนุ่มสาวชาวไทย ชาวต่างชาติ หรือคอเบียร์ที่แวะเวียนมาทุกสัปดาห์

พี่ชิตเล่าให้ผมฟังว่า เขาเริ่มรู้ว่าคนธรรมดาก็ทำเบียร์กินเองได้ตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อหลายสิบปีก่อน โดยเพื่อนของเขาต้มเบียร์ให้กิน (ซึ่งรสชาติห่วยแตกมาก) จนเมื่อกลับมาเมืองไทยจึงได้ลองซื้อ brew kit (อุปกรณ์ทำเบียร์สำเร็จรูป) มาจากเว็บไซต์อะแมซอน และเริ่มหัดต้มเบียร์เอง

หลังจากล้มเหลวกับการทำเบียร์ช่วงแรกๆ เขาเริ่มเอาจริงเอาจังมากขึ้น ลองทำแบบมืออาชีพโดยไม่ใช้บริวคิต มีการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า เปลี่ยนหม้อให้ใหญ่ขึ้น สั่งซื้อมอลต์มาบดเอง บันทึกข้อมูลทุกๆ ถัง ทำเบียร์อะไร ต้มวันไหน บรรจุขวดวันไหน มีวัตถุดิบตัวใดที่เปลี่ยนจากสูตรเดิมบ้าง

เดือนธันวาคมปี ค.ศ.2012 Chit Home Brewery เปิดตัวอย่างเป็นทางการและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นแหล่งชุมนุมของกลุ่มคนรักเบียร์


เหตุผลที่ทำให้Chit Beer ได้รับความนิยมมากขนาดนี้ เพราะเบียร์ของเขามีความเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่ง นี่คือเบียร์ที่หากินได้ที่นี่ที่เดียวในโลก แม้จะเรียนรู้สูตรการทำเบียร์จากตะวันตก แต่เขาก็พยายามคิดค้นเบียร์ใหม่ๆ และนำวัตถุดิบของไทยเข้าไปผสม สร้างสรรค์ออกมาเป็นเบียร์ที่มีรสชาติและกลิ่นที่มีความเป็นไทย เช่น เบียร์เสาวรส (Passion Fruit Pale Ale) เบียร์เก๊กฮวย (Chrysanthemum Ale) เบียร์ฟักทอง (Pumpkin Ale) เบียร์ข้าวเหนียวดำ (Black Sticky Rice Weizen) และอื่นๆ อีกมากมาย

"เบียร์คือศิลปะ เหมือนการวาดรูป ไม่มีถูกผิด ต้องทดลองไปเรื่อยๆ" วิชิต บอกผม



กระแสตอบรับที่ดีเยี่ยมของ Chit Beer เป็นภาพสะท้อนของปรากฏการณ์คราฟต์เบียร์ไทยที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่ผมทราบ นอกจาก Chit Beer แล้ว ปัจจุบันมีคราฟต์เบียร์สัญชาติไทยแท้ๆ มากกว่า 40 เจ้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ เจ้าที่คุ้นหูก็เช่น Sandport Beer, Udomsuk Brewing หรือ Golden Coins และน่าจะมีอีกหลายกลุ่มที่กำลังซุ่มทดลองกันอยู่ ซึ่งมีจำนวนเยอะมากๆ จนผมเองก็ยังตามกินไม่ทัน

กลุ่มคนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า "Brew Master" พวกเขาฝึกฝนและทดลองทำเบียร์ด้วยตัวเอง โดยแต่ละเจ้าก็พยายามพัฒนาเบียร์ให้แตกต่าง มีเอกลักษณ์ และนำวัตถุดิบแบบไทยๆ เข้าไปผสม เช่น เบียร์ที่ใช้ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบ เบียร์มะตูม เบียร์ส้ม ไปจนถึงเบียร์กล้วยแขก! แล้วจึงนำของไปฝากขายตามบาร์ต่างๆ มีการเปิดเพจในเฟซบุ๊ก รวมตัวกันจัดอีเวนต์เล็กๆ หรือการแข่งขันประกวดเบียร์ไทย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยมทุกครั้ง

ในฐานะผู้บริโภค ผมคิดว่าเบียร์คือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มมูลค่าได้มาก การนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้จะช่วยสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ หากมีการสนับสนุนที่ดีและการจัดการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เบียร์จะเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน หรือถ้ามองไปไกลกว่านั้นอาจจะใช้ความได้เปรียบของพื้นที่ ผลิตผลการเกษตร สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเป็นรสชาติหรือกลิ่นเฉพาะตัว สร้างเป็นเรื่องราวที่สอดรับกับนโยบายท่องเที่ยวเหมือนกับการท่องเที่ยวชิมไวน์ในฝรั่งเศส

ฟังดูเหมือนอนาคตคราฟต์เบียร์ไทยน่าจะสดใสแต่ความจริงก็คือทุกคนยังคงต้องกินต้องซื้อกันอย่างหลบๆ ซ่อนๆ เพราะการผลิตเบียร์ในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

บางคนพูดถึงขั้นว่าการต้มเบียร์มีความผิดร้ายแรงไม่ต่างจากอาชญากรรม

แต่มันควรเป็นเช่นนั้นจริงหรือ?

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436965189



เบียร์นอกแพงนะขวดร้อยกว่าแน่ะ แต่มันก็อร่อยจริงๆ กินในร้านยิ่งแพงไปอีกแก้ว200+  ถ้าไม่ผูกขาดคนไทยก็น่าจะทำได้ไม่แพ้กัน  น้ำลายหก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2015, 11:53:54 PM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 08:21:26 PM »

คราฟท์เบียร์ในประเทศไทย



 WishBeer_May27_Aหนึ่งในวลียอดนิยมของอุตสาหกรรมเบียร์ก็คือ ‘คราฟท์เบียร์’  ในประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และอังกฤษ นักดื่มเบียร์เริ่มจะสังเกตเห็นเบียร์ที่วางขายอยู่จำนวนมากที่ไม่ได้ผลิตโดยผู้ผลิตรายใหญ่  ในฐานะนักดื่มเบียร์คุณน่าจะต้องเคยได้ยินชื่อของคราฟท์เบียร์บางยี่ห้อมาบ้าง หรืออาจเคยลองแล้วด้วยซ้ำไป  แต่คุณทราบหรือไม่ว่าคราฟท์เบียร์คืออะไร และทำไมจึงไม่ค่อยมีให้เห็นมากนักในเมืองไทย?

คราฟท์เบียร์คืออะไร?
คราฟท์เบียร์เป็นหนึ่งในวลียอดนิยมของอุตสาหกรรมเบียร์ หรืออาจนิยมมากที่สุดก็ได้ แต่หลายคนก็ยังไม่อาจเข้าใจได้ว่าที่จริงมันคืออะไร  ถ้าจะให้พูดง่ายๆ คราฟท์เบียร์ก็คือเบียร์อะไรก็ได้ที่ไม่ได้ผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่แบบเบียร์ช้างของไทยเบฟ

ถ้าจะให้คำนิยามลึกลงไปอีก สมาคมผู้ผลิตเบียร์ของอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความของผู้ผลิตคราฟท์เบียร์ คือ “ขนาดเล็ก อิสระ และเป็นแบบดั้งเดิม”  นี่หมายความว่า พวกเขาผลิตเบียร์น้อยกว่าหกล้านบาร์เรล (ประมาณ 700,000,000 ลิตร) และมีผู้ถือหุ้นในบริษัทน้อยกว่า 25% ที่เป็นผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่ได้ผลิตคราฟท์เบียร์

สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของคราฟท์เบียร์ก็คือนวัตกรรม  ลองพิจารณาเบียร์อย่าง จูนิเปอร์ เพล เอล ของโร้ก, เร้ด ไรซ์ เอล ของฮิตาชิโน่, หรือ พั้งค์ ไอพีเอ ของ บริวด๊อก ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่เฉพาะในด้านความรู้สึกที่มีต่อคำว่า ‘เบียร์’ ในแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยขยายขีดจำกัดของคำว่าเบียร์ออกไปอีก

เนื่องจากผู้ผลิตคราฟท์เบียร์หลายรายไม่ได้เป็นบริษัทใหญ่อย่าง อินเบฟ (ซึ่งรับผิดชอบผลิตภัณฑ์อย่าง บัดไวเซอร์ โฮการ์เด้น ฯลฯ) พวกเขาจึงสามารถเสี่ยงได้มากขึ้นอีกนิดที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ กับผลิตภัณฑ์  ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์เหล่านี้ทำให้เราได้เห็นความสำเร็จอันน่าทึ่งของ ไอพีเอ (อินเดีย เพล เอล) ในแถบอเมริกาตะวันตก, เพล เอล ในแถบอเมริกาตะวันออก และแม้กระทั่งเบียร์เอลสไตล์เบลเยี่ยมที่เห็นกันอยู่ทั่วโลก

เราไม่ได้บอกว่าเบียร์ที่ผลิตทีละมากๆ เป็นเบียร์ที่ไม่ดี เบียร์ที่ขายและบริโภคกันอยู่เป็นส่วนมากก็คือเบียร์ประเภทนี้ แต่คราฟท์เบียร์ได้ช่วยนำความหลากหลายและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาสู่ท้องตลาดทั่วโลก  คราฟท์เบียร์ถูกมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับขึ้นมาอีกมาก สิ่งนี้ทำให้ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้เกือบจะทั่วโลก  ที่เราใช้คำว่า ‘เกือบจะ’ เพราะยังมีบางประเทศที่ยังตามเทรนด์นี้ไม่ทัน  รวมทั้งประเทศไทยด้วย

คราฟท์เบียร์ในประเทศไทย
ในขณะที่คราฟท์เบียร์กำลังได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก แต่ตลาดของคราฟท์เบียร์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเรื่องของการ ‘นำเข้าเท่านั้น’  จริงอยู่ว่าทั่วประเทศมีบาร์จำนวนมากที่เปิดเพิ่มขึ้นและเน้นการขายคราฟท์เบียร์เป็นหลัก แต่เกือบทั้งหมดก็เป็นการนำเข้า  แม้ว่าคราฟท์เบียร์ที่นำเข้าเหล่านี้ล้วนแต่สุดยอด แต่เมื่อไม่นานนี้ก็มีคำถามที่ผู้อ่านส่งมาว่า แล้วตลาด ‘คราฟท์เบียร์ของไทย’ อยู่ที่ไหน?

วันก่อนพวกเรานั่งกันอยู่ในออฟฟิศคุยกันเรื่องนี้  เราพบว่าคำตอบนั้นมันโคตรซับซ้อนมากกว่าที่มันควรจะเป็น  ต่อไปนี้คือเหตุผลหลัก 2 ข้อที่เราคิดว่าทำไมตลาดคราฟท์เบียร์ในประเทศไทยถึงไม่เปิดตัวเหมือนประเทศอื่นๆ เขาเสียที

1. กฎหมาย
กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปี ค.ศ. 1950 มาตราที่ 5 ได้กำหนดไว้ว่า การกลั่นและหมักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับการบริโภคและขายนั้นผิดกฎหมาย  นั่นหมายความว่า การผลิตเบียร์โดยไม่มีใบอนุญาต แบบที่คุณอาจจะทำกันเองที่บ้านนั้น เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แม้ว่าจะทำไว้เพื่อดื่มเองก็ตาม  และก็เหมือนกับกฎหมายทั่วไปคือใช้คำที่ค่อนข้างจะกำกวม เพราะกฎหมายนี้ก็มีเขียนต่อไปว่าบทลงโทษสำหรับการผลิตเบียร์เองคือค่าปรับที่ค่อนข้างต่ำคือ 200 บาทถ้าทำอย่างเดียว และ 5,000 บาทถ้าขายด้วย

ถ้าเป็นพวกธุรกิจที่ขายเบียร์และไม่ใช่ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ กฎหมายระบุไว้ว่าธุรกิจเหล่านี้สามารถผลิตเบียร์ได้แต่ต้องทำเพื่อการบริโภคทันทีเท่านั้น  นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราไม่เคยเห็น ลอนดอน พิลส์เนอร์ หรือ ตะวันแดง ดุงเคล บนชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ตเลย  ดูท่าทางแล้วกฎหมายนี้คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน

2. สภาพอากาศและแหล่งวัตถุดิบ
อีกเหตุผลหนึ่งที่คุณไม่ค่อยได้เห็นคราฟท์เบียร์ที่ผลิตในประเทศก็เพราะว่า สภาพอากาศในเมืองไทยไม่ได้เหมาะกับการทำเบียร์มากนัก  ถ้าคุณต้องการทำเบียร์ลาเกอร์ คุณจะต้องใช้อุณหภูมิต่ำเกือบศูนย์องศาเซลเซียส ซึ่งหมายความว่าคุณมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายมหาศาลในการทำความเย็น

นอกจากนั้น สามในสี่ขององค์ประกอบหลัก (ใบฮ็อพ ข้าวบาร์เลย์ และยีสต์) ก็ไม่ได้ปลูกได้เองตามธรรมชาติในเมืองไทย ซึ่งหมายความว่าจะต้องนำเข้ามา  และใครก็ตามที่เคยพยายามนำเข้าอะไรมาในประเทศไทยก็คงรู้ดีว่าอัตราภาษีนำเข้าสูงมาก


ดังนั้น กฎหมายที่ค่อนข้างจะเข้มงวด (บางคนใช้คำว่าทารุณ) ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เหมาะกับการทำเบียร์ และภาษีนำเข้าอันมหาศาล ทำให้การผลิตเบียร์เพื่อให้เกิดกำไรนั้นไกลเกินเอื้อมสำหรับคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  สรุปว่าในตอนนี้ตลาดคราฟท์เบียร์ของไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าเกือบจะทั้งหมด

แต่เราก็คิดว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้น เพราะความจริงที่นี่ก็มีคราฟท์เบียร์เจ๋งๆ ขายอยู่ แต่ถ้าเราได้เห็นการปฏิวัติของวงการเบียร์ในประเทศไทยบ้างก็คงจะดีไม่น้อย

http://blog.wishbeer.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97/
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 08:55:57 PM »




อันนี้พอหาซื้อได้เอาไว้เปิดนำก่อนมันหอมชื่นใจดี  รสนุ่ม+แรง หอมกำลังดี

แต่จะติตรงเบียร์พวกนี้ต้องดูวันที่หมดอายุข้างขวด  ถ้าเลือกได้เลืิอกที่เพิ่งผลิตมาใหม่ๆจะหอมกว่า ถ้านาน6-7เดือนขึ้น รู้สึกรสชาติด้อยลงครับ  Grin






ยี่ห้อยอดนิยมในตลาด  Grin
http://www.priknum.com/beer-republic-nimman11-chiangmai/
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 10:27:01 PM »

พวกเบียร์แปลกๆ จะ homebrew หรือ พวก private draught ของเยอรมันที่ว่าเด็ดๆกัน
ผมดื่มแล้วไม่เคยอร่อยเลย มันจืดๆ ที่ชอบคือสิงค์นี่แหละอร่อยสุดแล้ว
ยกเว้นยี้ห้อหนึ่งจำชื่อไม่ได้ ดื่มที่โรงแรมที่ อูเทรคค์ ฮอลแลนด์ เป็นเบียร์ดำ alcohol หนักหน่อย ประมาณ 8-10% ถ้าค้นรูปเจอจะมาโพสให้ดูครับ
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 12:39:30 AM »

แถวอเมริกาเหนือ Canada จะมีเยอะมากตามร้านอาหารจะมีหัวก๊อกเรียงตามยี่ห้อเลยไม่ต่ำกว่า 5 เขาเรียกว่า Micro Brewery ครับรสชาติออกแนวตะวันแดงนี่แหละราคา 6 - 8 เหรียญต่อแก้ว 500 ml ถ้าเป็นเบียร์เยอรมันผมชอบ Lowenbrau กระป๋องฟ้า
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 12:45:41 AM »

ตะวันแดงเคยไปนานมากแล้ว เบียร์เค้าอร่อยดีครับ แปลกใจ ทำไมคนไทยทำน้อยมาก  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
worth
Hero Member
*****

คะแนน 474
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3069


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:13:01 AM »

 ผมชอบเบียร์ดำฟองครีม ตอนนี้หาซื้อยากแล้ว GUINESS IRISH BEER
บันทึกการเข้า

รักเธอ....ประเทศไทย
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:13:38 AM »

สำหรับคนไทยการดื่มเบียร์คือการเสพแอลกอฮอล์ให้มึนเมา
แต่เบียร์รสชาติดี บางยี่ห้อบางผู้ผลิตรายย่อย ดันดื่มแล้วสดชื่น....
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:48:18 AM »

shit beer Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:57:12 AM »

พวกเบียร์แปลกๆ จะ homebrew หรือ พวก private draught ของเยอรมันที่ว่าเด็ดๆกัน
ผมดื่มแล้วไม่เคยอร่อยเลย มันจืดๆ ที่ชอบคือสิงค์นี่แหละอร่อยสุดแล้ว
ยกเว้นยี้ห้อหนึ่งจำชื่อไม่ได้ ดื่มที่โรงแรมที่ อูเทรคค์ ฮอลแลนด์ เป็นเบียร์ดำ alcohol หนักหน่อย ประมาณ 8-10% ถ้าค้นรูปเจอจะมาโพสให้ดูครับ
ตอนไปเที่ยวเยอรมัน ฝรั่งมันสอนผมครับว่า ช่วงเช้าต้องเป็นเบียร์อ่อน ช่วงเที่ยงบ่ายๆปานกลาง ช่วงค่ำหนักหน่อย ต้องเลือกญี่ห้อตามเวลาครับ น้ำลายหก
บันทึกการเข้า

Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 11:53:09 AM »

ตอนนี้มีมาให้ชิมอีกแล้วที่ Top supper  ยี่ห้อ Kaisordom กระป๋อง 1 ลิตรเบียร์ขาวกับเบียร์ดำ 195 บาทเย็นนี้ไปเอาอีกสักกระป๋อง  น้ำลายหก
บันทึกการเข้า
...อภิสิทธิ์ ...
จะรักและซื่อสัตย์ต่อลูกโม่ S&W ตลอดไปชั่วฟ้าดินสลาย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 652
ออฟไลน์

กระทู้: 3595



« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 12:44:32 PM »

เมืองไทยเมืองพุทธครับ ห้ามเอกชนตาดำๆต้มเหล้าต้มเบียร์ แต่ปีๆสั่งเหล้านอกเข้ามาดื่มเป็นลำเรือๆ ห้ามเดินขายตัวตามสวนลุม แต่ถ้าเข้าสังกัดชูวิทย์ ก็ตามสบาย
บันทึกการเข้า

There are experienced shooters who are just die-hard fans of revolvers. They do practice regularly and have had plenty of training, and for whatever reason they just prefer revolvers over semi-autos. And for the record, no, not all of them are dudes with gray hair.
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 01:47:49 PM »

+ทุกท่านครับ  Grin


เมืองไทยเมืองพุทธครับ ห้ามเอกชนตาดำๆต้มเหล้าต้มเบียร์ แต่ปีๆสั่งเหล้านอกเข้ามาดื่มเป็นลำเรือๆ ห้ามเดินขายตัวตามสวนลุม แต่ถ้าเข้าสังกัดชูวิทย์ ก็ตามสบาย

วัตถุดิบผลไม้บ้านเราเยอะมาก เสียดายน่าทำโอท๊อปพวกนี้นะครับพี่นายห้าง  สมัยก่อนทำOTOPพวกไวน์สมุนไพร,ผลไม้   ผมว่าไวน์ชาวบ้านยังไม่คุ้นเคย ถ้าเป็นเหล้าหรือเบียร์น่าจะไปได้เยอะกว่า จะได้ต่อยอดสร้างstoryให้ชูแหล่งท่องเที่ยวแต่จะจังหวัดได้ด้วย

แต่คงยาก นายทุนเจ้าสัวเค้าผูกขาดวงการนี้มาชั่วอายุคนแล้ว ยังไม่ปล่อย รวยให้เข็ดเบอร์ต้นๆของไทย  คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 02:00:21 PM »

มาเลเป็นประเทศมุสลิม แต่หาเหล้าเบียร์ไวน์ได้ตลอดเวลาเดินเข้าร้านเหล้านี่เลือกไม่ถูกเลยเยอะไปหมด
อ้อ Bin2 ที่ Cold Storage ขายขวดละห้าร้อยกว่าเองนะเมืองไทยเจ็ดแปดร้อย
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 02:48:53 PM »

มาเลเป็นประเทศมุสลิม แต่หาเหล้าเบียร์ไวน์ได้ตลอดเวลาเดินเข้าร้านเหล้านี่เลือกไม่ถูกเลยเยอะไปหมด
อ้อ Bin2 ที่ Cold Storage ขายขวดละห้าร้อยกว่าเองนะเมืองไทยเจ็ดแปดร้อย
ตอนซื้อ จอนห์นี่บลู มาเลเซีย ขวดละ 6,000.-บาท ประเทศไทย 8,000.-บาทครับ น้ำลายหก
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง