หมายถึง winglet ตามรูปนี้หรือเปล่าครับ

Wingtip vortices มักจะเกิดกับปีกที่ อ้วนๆ สั้นๆ มากกว่า ปีกที่เล็กเรียวครับ
การออกแบบปีกให้บางเพรียวและยาวจะลดการเกิด wingtip vortices ได้
แต่จะมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างและการควบคุมเครื่องบินตามมา
ถ้าปีกยาวมากๆย่อมมีการแอ่นตัวและผลจากโมเมนต์ ซึ่งถ้าวัสดุไม่ดีพอจะเกิดปัญหากับโครงสร้าง
อย่างที่ Airbus 380 พบอยู่ตอนนี้ เกิดปัญหาการแคร็กของวัสดุที่โคนปีก จึงทำให้ดีเลย์ก็การส่งมอบไปร่วมๆปีครับ
(** Boeing 747 เมื่อเข้าสภาพอากาศ ปลายสุดของปีกสามารถกระพือได้ 2 เมตรครับ ยังมีสปริงพอที่จะไม่เสียหายจากความล้า
ถ้าไปนั่งเห็นปีกกระพือขึ้นลงอย่าตกใจครับ เครื่องเค้ากำลังจะกลายเป็นนก อิอิอิอิ)
ตัวอย่างปีก ที่มีสัดส่วนความยาวต่อความกว้าง ต่ำ และสูงครับ

กลับมาเรื่อง winglet ครับ เจ้า winglet ตัวนี้ทำหน้าที่เหมือนการยืดปีกให้ยาวออกไป
แต่แทนที่จะยืดออกทางข้าง ซึ่งสร้างปัญหาทางโครงสร้าง และมีผลต่อระยะในหลุมจอดของอากาศยานทั่วไป
ก็ออกแบบให้โค้งขึ้น แต่จะเป็นมุมด้านหน้า ลู่หลัง หรือสูงแค่ไหนขึ้นกับการดีไซน์ตามจุดประสงค์การใช้งานเฉพาะแบบของเครื่อง
โดยรวมแล้วเจ้า winglet นี้ ช่วนลดแรงต้านอากาศ ช่วยเพิ่มแรงยกและเพิ่มแรงฉุด งงไหมครับว่าทำได้ยังไง
ถ้าดูดีๆเจ้า winglet จะอยู่ในมุมแอ่นขึ้น ซึ่งแรงต้านอากาศที่เห็นจากรูปก่อนๆที่เป็นวงม้วนจากด้านล่างเข้าหาปลายปีกนั้น
จากเดิมถ้าไม่มีเจ้า winglet นี่ อากาศนั้นมันจะไหลมาทำลายแรงยกและสร้างแรงต้านให้กับเครื่อง
แต่พอมีจะกำแพงชิ้นนี้ ความดันตรงนั้นโดนกั้นโดย winglet แล้ว ความดันนั้นที่ม้วนมาจากด้านล่างจะมายกปลายปีกขึ้น
ซึ่งจะช่วยสร้างแรงยก และในมุมของ winglet ที่เหมาะสม มันจะดันเครืองบินไปด้านหน้าด้วย ได้ประโยชน์สองต่อครับ
รวมถึงเจ้า winglet มันช่วยลด wingtip vortices ทำให้ เครื่องที่บินตามหลังปลอดภัยจากความปั่นป่วนของอากาศครับ
เราจะพบในเครื่องโดยสารที่บินในระยะทางไกลๆ เช่น airbus 340, boeing 747-400
อ้อประโยชน์อีกอย่างคือ บางสายการบินใช้ติดโฆษณาครับ
