เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 04, 2025, 01:12:54 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@@@เฉลยแล้วครับ@@@@ ภาพเงากระสุนปริศนา@@@@  (อ่าน 12758 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #15 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 07:49:55 AM »

ผมเห็นว่าบ้านเราชอบกีฬาฟุตบอล ผมลองเสริชในเว็ป ภาพแรกออกมาดังนี้เลยครับ...



ต่อมาผมใช้คำว่า soccor shadow ก็ได้ภาพล่างนี้มา



การที่ใช้เหตุผลที่ว่าระยะทางจากลูกปืนและเงาลูกปืนถึงกล้องต่างกัน แสงใช้เวลาเดินทาง (กล้องมองเห็น) ต่างกันนั้น สามารถสรุปได้ชัดเจนโดยการใช้การคำนวณที่แน่นอนดังนี้
เริ่มโดยสมมุติง่าย ๆ ว่าระยะที่ต่างกันเป็น 5 ฟุต
1.   ระยะ 5 ฟุตแสงเดินทางใช้เวลา (1x5)/(186000x1760x3) = 5.0912e-9 วินาที
2.   เบสบอลความเร็วประมาณ 100 ไมล์/ชม. ในเวลา 5.0912e-9 วินาที เคลื่อนที่ได้ = 7.4671e-7 ฟุต หรือเท่ากับ 0.00896 มม.
3.   ลูกปืน M16 ที่ความเร็ว 975 ไมล์/วินาที ในเวลา 5.0912e-9 วินาที เคลื่อนที่ได้ = 7.2804e-6 ฟุต หรือเท่ากับ 0.0873 มม.

เส้นผมคนมีขนาดตั้งแต่ 0.04 – 0.25 มม. ครับ ดังนั้นจากตัวเลขข้างบน จะเห็นได้ว่า ถ้าเอาเหตุผลที่ว่า ระยะทางจากลูกปืนและเงาลูกปืนถึงกล้องต่างกัน แสงใช้เวลาเดินทาง (กล้องมองเห็น) ต่างกันนั้น ระยะแตกต่างของตำแหน่งลูกปืนหรือลูกเบสบอลกับเงาของมันนั้นจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นด้วยซ้ำ

ที่จริงข้างบนผมเขียนแบบสมองพาไป แต่ความจริงแล้วถ้าจะคิดให้เร็วขึ้น เราก็ใช้วิธีที่ว่า สมมุติว่าเงาห่างจากตัวจริง 5 นิ้ว แล้วคำนวณดูว่าระยะทางจากลูกปืนและเงาลูกปืนควรจะเป็นเท่าไหร่ แสงถึงจะใช้เวลาเดินทางแตกต่างกันจนได้ระยะทาง 5 นิ้วที่เราสมมุติขึ้น
1.   เบสบอลความเร็วประมาณ 100 ไมล์/ชม. ระยะ 5 นิ้วใช้เวลา 0.0028 วินาที ในเวลา 0.0028 วินาทีแสงเดินทางได้ 528.40 ไมล์ นั่นก็หมายความว่า ช่างภาพต้องอยู่ไกลถึง 528.40 ไมล์ เพื่อที่จะจับภาพให้ได้เงาลูกเบสบอลห่างจากตัวลูกบอล 5 นิ้ว  งานนี้ก็เป็นไปไม่ได้
2.   สำหรับลูกปืน เอาแค่ 1 นิ้วมาลองคิดดู ลูกปืน M16 ที่ความเร็ว 975 ไมล์/วินาที ระยะ 1 นิ้ว ใช้เวลา 5.8275e-5 วินาที และในเวลา 5.8275e-5 วินาทีนี้ แสงเดินทางได้ 10.83 ไมล์ ซึ่งผมคิดว่าไม่มีกล้องตัวไหนจะถ่ายได้ไกลขนาดนั้น

เป็นอันว่าสมมุติฐานที่ว่า “ระยะทางจากลูกปืนและเงาลูกปืนถึงกล้องต่างกัน แสงใช้เวลาเดินทาง (กล้องมองเห็น) ต่างกันนั้น” ไม่ถูกต้องนะครับ สรุปสั้น ๆ คือแสงมีความเร็วสูงมาก ถ้าจะเอาให้ได้ความแตกต่างของเงาและตัวจริงจนมองเห็นหรือกล้องจับได้ ก็ต้องใช้ระยะทางจุดตั้งกล้องที่เป็นไปไม่ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 07:52:26 AM โดย ดร.ธนาสิทธิ์ » บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 09:01:23 AM »

จำได้สมัยเรียนฟิสิกส์ เรื่องความเร็วแสง ระยะแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุ อะไรพวกนี้ล่ะครับ

ที่บอกภาพที่เราเห็นเป็นอดีตเพราะแสงต้องใช้เวลามาสู่ตาเรา แต่ระยะแค่ ไม่กี่เมตรคงไม่ต่างกันมาก  แต่ภาพที่กล้องอวกาศถ่ายการระเบิดของดาวฤษ ที่ถ่ายได้นั้นดาวนั้นหายไปตั้งนานแล้วแต่แสงเพิ่งเดินทางมาถึง Sensor กล้อง นั้นเอง

ลูกปืนเป็นแบบนี้รึป่าวครับ


ผิดประเด็นนะครับ  เราพูดกันถึงภาพและเงาที่ต่างตำแหน่งกัน....
ส่วนที่ว่าภาพที่เห็นเป็นอดีต...หมายถึงไม่มีภาพปัจจุบัน?Huh  ถ้างั้นก็คงจะมีแต่หมอดูละครับ ที่เห็นภาพในอนาคต
ในทางทฤษฎีก็ถูกต้องนะครับ...แต่คงเป็นอดีตสั้น ๆ ทั้งนั้น  ยกเว้นมองดูดาวที่ผมพูดไปแล้ว 
กระพริบตา เห็นความมืดชั่วพริบตา ลืมตา ก็เป็นอดีตไปแล้ว....
บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #17 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 09:06:45 AM »

จำได้สมัยเรียนฟิสิกส์ เรื่องความเร็วแสง ระยะแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุ อะไรพวกนี้ล่ะครับ

ที่บอกภาพที่เราเห็นเป็นอดีตเพราะแสงต้องใช้เวลามาสู่ตาเรา แต่ระยะแค่ ไม่กี่เมตรคงไม่ต่างกันมาก  แต่ภาพที่กล้องอวกาศถ่ายการระเบิดของดาวฤษ ที่ถ่ายได้นั้นดาวนั้นหายไปตั้งนานแล้วแต่แสงเพิ่งเดินทางมาถึง Sensor กล้อง นั้นเอง

ลูกปืนเป็นแบบนี้รึป่าวครับ



ผมกลับมาดูรูปแสงและเงาของคุณ marsman อีกครั้ง ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะถ้าฐานของวัตถุและเงาอยู่บนแกนหรือแนวเดียวกันแล้ว
วัตถุและเงาของมันต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันเสมอ เพียงแต่ความสูงหรือความยาวของเงาอาจเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 09:35:32 AM »

แล้วประเด็นเรื่องของมุมแสงส่องเข้าไปยังวัตถุละครับ  
เมื่อมุมที่แสงส่องเข้าต่างกัน รูปเงาก็ออกมาต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ถ้าแสงเข้าทางลูกบอล แม้ว่าลูกบอลจะยังไม่ถึงเท้านักเตะ
แต่เงาของลูกบอลก็จะบดบังเท้าของนักเตะแล้ว  ถ้าเป็นแบบนี้ดูเหมือนเงาเดินทางไปล่วงหน้า

แต่ที่ผมสงสัยคือ กระสุนถึงเป้าแล้ว ทำไมเงาจึงยังไม่ถึงเป้า
หรือว่าเป็นที่ความเร็วชัตเตอร์ ผสานกับรูรับแสงของกล้องที่เล็กมาก ทำให้มีผลต่อการเกิดภาพแบบนั้น
เรื่องรูรับแสงก็มีความสำคัญครับ เพราะรูรับแสงเล็กจะรับแสงได้แคบ ๆ และครั้นพอให้แสงเข้าเป็นช่วงเวลาหนึ่ง
โดยใช้ชัตเตอร์เปิดปิด  ชัตเตอร์เองก็ต้องเลื่อนไปมา ไม่ได้ปิดทีเดียวพร้อมกันทั้งรู
ตรงนี้อาจจะทำให้แสงในช่วงเวลาที่ต่างกันบันทึกลงบนแผ่นฟิลม์เดียวกัน
บันทึกการเข้า
ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 1428
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6023



« ตอบ #19 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 02:24:31 PM »

ถ้าตัดเรื่องระยะทางวิ่งของแสงออกไป  เหลือคำอธิบายทั้งภาพเงากระสุนปืนและเงาลูกเบสบอล คือ virtcal plane shutter ครับ
ซึ่งถ้าในกรณีของลูกปืน หากใช้วิธีเปิดหน้ากล้อง B กับ strobe เรื่องชัตเตอร์ก็ไม่มีผลครับ
ชัตเตอร์ เปิดให้แสงเข้าเป็นช่องแคบๆ วิ่งจากบนลงล่าง (ที่จริงคือล่างขึ้นบนในตัวกล้อง แต่ภาพกลับหัว) ความแตกต่างของเวลาคือความเร็วในการวิ่งของช่องเปิดที่ชัตเตอร์  ซึ่งช้ากว่าแสงมาก

ในห้องภาพ อวป. เคยมีคำถาม ว่าทำไมคนยืนดูปกติ แต่มอเตอร์ไซค์ในภาพมันโย้  อธิบายได้แบบเดียวกันครับ
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=67897.0  (ภาพลบไปแล้ว แต่ข้อความยังอยู่ครับ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 02:34:05 PM โดย ผณิศวร รักเมืองไทย**รักในหลวง » บันทึกการเข้า

ผมเป็นลูกหลานจีนอพยพ  ทวดแซ่อิ๊ว ตาแซ่เล้า ปู่แซ่อึ๊ง   
เมืองไทยให้โอกาสทุกอย่าง  ไม่มีข้ออ้างเรื่องชนชั้น
ผมได้กราบแทบพระบาทในหลวงเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
Jacky_Cheng
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

กระทู้: 263


« ตอบ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 04:26:22 PM »

 ไหว้ ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 12:51:45 PM โดย Jacky_Cheng__(เช้ง) » บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2011, 08:50:23 PM »

เฉลยนะครับ....


แรกเริ่มกล้องรูเข็มนำทางมาด้วยรูน้อย ๆ ตายตัวได้ภาพหัวกลับมาประทับลงบนจอภาพด้านหลัง ต่อมาได้มีการพัฒนาชัตเตอร์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลีบดอกไม้ซ้อนกันเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ อยู่ในตัวเลนส์ จึงเรียกว่า leaf shutter เวลากดชัตเตอร์กลีบเหล่านี้จะหุบตัวเปิดไว้เพียงรูรับแสง (aperture) ตามขนาดที่ตั้งเอาไว้ และตามความเร็วชัตเตอร์ที่ตั้งเอาไว้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามชัตเตอร์แบบนี้มีขีดจำกัดอยู่ที่ความเร็วสูงสุดราว 1/500 เท่านั้น แต่ก็มีข้อดีคือสามารถ synchronize กับ flash  ได้ทุกความเร็ว



ด้านบนชัตเตอร์แบบ leaf ด้านล่างแบบม่าน


รูปบนสปีดช้า ม่านห่างกัน รูปล่างสปีดเร็วม่านชิดกัน


ข้างล่างแสดงอีกแบบให้เห็นการทำงาน




ต่อมาได้มีการพัฒนาชัตเตอร์ชนิดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Two-curtain shutters หรือ Focal-Plane shutter ซึ่งมีลักษณะเหมือนม่าน 2 ตัววิ่งตามกันด้วยความเร็วคงที่ แต่ถ้าเราตั้งความเร็วชัตเตอร์สูง เจ้าม่านตัวที่ 2 ก็จะตามท้ายม่านตัวแรกมาติด ๆ เปิดเป็นเพียงช่องสีเหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ ให้แสงลอดเข้ามาทำหน้าที่ของมัน  อนึ่งชัตเตอร์แบบนี้ มีทั้งแบบวิ่งซ้ายขวา และ บนล่าง แล้วแต่การออกแบบของยี่ห้อนั้น ตามรูปที่ผมแนบมา  อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับการตั้งกล้อง (ผมหมายถึงจะจับแบบธรรมดา หรือจะตะแคง 90 องศาไปทางซ้ายหรือทางขวา หรือแม้จะกลับหัวกล้องก็ได้) คุณสามารถจะตั้งให้เป็นแบบไหนก็ได้แล้วแต่การใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่างกันสำหรับกรณีเงากระสุนปริศนาที่เรากำลังพูดถึง

“รูปครู” หรือภาพที่การเรียนการสอนเรื่องกล้องใช้เป็นมาตรฐานในการอธิบายการทำงานของ Two-curtain shutters หรือ Focal-Plane shutter และผลแปลกตาที่ตามมาก็คือภาพที่ผู้เล่นเบสบอลตีลูกเบสบอล โดยที่ในภาพจะเห็นลูกเบสบอลติดหรือโดนไม้ แต่เงาที่พื้นด้านล่างลูกเบสบอลกลับอยู่ห่างจากไม้อย่างเห็นได้ชัด  ในกรณีนี้อธิบายได้ว่า ผู้ถ่ายนั้นใช้กล้องที่มีชัตเตอร์เป็นแบบ Two-curtain shutters หรือ Focal-Plane shutter โดยตั้งกล้องให้ได้ชัตเตอร์วิ่งในแนวจากล่างขึ้นบน  (อย่าลืมนะครับว่าภาพบนฟีล์มหรือ sensor จะกลับหัว) พอเริ่มยิงม่านตัวแรกจะเปิดตัวออกมาได้นิดนึงเจ้าม่านตัวที่สองก็จะวิ่งตามมา เปิดช่องไฟจับภาพเริ่มจากด้านบนหรือขาคนตี ต่อมาก็จับภาพเงาของลูกเบสบอลที่กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาแต่ยังห่างไม้อยู่พอควร ไล่จับภาพบริเวณลำตัว ขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งไม้ ซึ่งในขณะเดียวกันที่ผ่านมาลูกก็วิ่งมาถึงไม้พอดี ทำให้จับภาพลูกติดกับไม้ ซี่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้จับภาพเงาในช่วงแรกไปแล้ว
หมายเหตุ ในกรณีนี้ ถ้าท่านใช้กล้อง Two-curtain shutters หรือ Focal-Plane shutter แต่ตั้งกล้องแบบให้ชัตเตอร์วิ่งในแนวนอน หรือซ้าย-ขวา ก็จะไม่มีผลอย่างข้างบน เพราะช่องไฟจะเปิดช่วงลูกบอลกระทบไม้พอดีหรือใกล้เคียงกันกับตอนเงาลูกบอกกระทบไม้เช่นกัน

ภาพล่างคือผังแสดงให้เห็นว่ากล้องแต่ละยี่ห้อเขาออกแบบชัตเตอร์ม่านให้วิ่งไปทางไหน


ถ้ามีโอกาส ตอนนี้เรามีกล้องดิจิตัลก็ลองกันดูสิครับ

เกร็ดของเรื่อง.... Focal-Plane shutter นั้นความจริงมีมานานแล้ว คือเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1870 เป็นแบบ single-focal shutter โดยการใช้แผ่นไม้ปล่อยให้ตกลงมาเฉย ๆ ต่อมามีการใช้หนังยางช่วยดึงอีกแรง เพื่อเร่งความเร็ว ซึ่งตกราว 1/500 – 1/1000  ปี 1925 Leica ได้คิดค้น Two-curtain shutters ที่ทำด้วยผ้าดำ  มีความเร็วราว 1/1000 พอถึงปี 1960 Konica ได้ทำ Square-type metal-bladed focal-plane shutter ที่มีความเร็วถึง 1/2000  ในที่สุด ปี 1992 Nikon ได้ออก Minolta Maxxum 9xi ที่มีความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/12000  กลไกชัตเตอร์นั้นเป็นระบบ mechanism ล้วน  ๆ คือประกอบด้วย เฟืองเกียร์ กระเดื่อง คานโยก  คานงัด สปริง ฯลฯ และต้องผ่านการทดสอบให้ทำงานกว่า 1 แสนครั้งโดยไม่ผิดพลาด ดังนั้นในช่วงระยะเวลาไล่ ๆ กัน ปี 1966 Pentacon Praktica Electronic ได้ออกแบบ electronically controlled FP shutter โดยใช้ระบบวงจรไฟฟ้าเข้ามาควบคุมการทำงาน ต่อมา Asahi Pentax ES ในปี 1972 ได้ทำ electronic aperture-priority autoexposure โดยการเอา electronically controlled shutter มาใช้กับ exposure control light meter ปี 1980 Yashica Contax 139 Quartz ได้เผยตัว digital piezoelectric quartz ที่ให้ความแม่นยำสูง และแล้วในปี 1999   Nikon D1 digital SLR ก็ทำลายสถิติด้วยชัตเตอร์ที่ความเร็ว 1/16000 อย่างไรก็ตามต่อมาในปี 2003 ทางผู้ผลิตพบว่าไม่มีความจำเป็นในการที่จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขนาดนั้น จึงลดความเร็วสูงสุดมาที่ 1/8000 และกลับมาพัฒนาทางด้านความคงทนแทน  อนึ่งความเร็วที่พัฒนาได้นั้น มาจากการเปลี่ยนชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่นชัตเตอร์ที่เริ่มจาก ไม้มาเป็นโลหะเหล็ก ต่อมาเป็นอะลูมิเนียม พลาสติคผสมไฟเบอร์ ตลอดจนคาร์บอนเซรามิค ฯลฯ

เคยให้ลูกศิษย์ราว 30 คนออกไปถ่ายภาพรถสวนกันบนถนน ให้ฟีล์มคนละ 1 ม้วน กลับมาก็ถามว่า ตอนเล็งเห็นหรือเปล่าว่ารถสวนกันตอนกดชัตเตอร์ ทุกคนก็ตอบว่าเห็นด้วยความมั่นใจ พอล้างรูปออกมา มีเพียงคนเดียวที่ได้รูปรถสวนกันมา 1 รูปแบบเฉียดฉิว นอกนั้นมีแต่รูปถนนว่างเปล่า (ขอบอกว่าสมัยนั้นรถน้อย ต้องรอพักใหญ่กว่าจะมีรถมาสักคัน และต้องรอพักเบ้อเร่อกว่าจะมีรถสวนกัน) ก็สอนเขาไป 2 ประเด็นคือ ด้วยระบบของกล้อง สิ่งที่ท่านเห็นตอนกดชัตเตอร์จะไม่ใช่สิ่งที่ถูกบันทึกลงไปบนแผ่นฟีล์ม เพราะ ณ.จุดบันทึก กระจกจะกระเด้งขึ้นมาปิด pentaprism (ทำให้เราเห็นแต่สีดำ ๆ ในจอ) เพื่อเปิดทางให้แสงได้เข้าไปกระทบแผ่นฟีล์ม ส่วนอีกประเด็นคือ lag time วึ่งคือเวลาอันจำเป็นที่ต้องเสียไปตั้งแต่นิ้วเริ่มกดชัตเตอร์จนถึงเวลาที่แผ่นชัตเตอร์เคลื่อนตัว เพราะต้องผ่านกลไกต่าง ๆ  และแล้วก็หันกลับมาถามคนที่ถ่ายภาพรถสวนกัน 1 ภาพว่าได้มาอย่างไร เขาก็สารภาพว่าตื่นเต้น เผลอกดชัตเตอร์ไปเสียก่อนที่ตั้งใจไว้...555

ตอนที่ผมบ้ากล้อง ผมจะจดข้อมูลต่าง ๆ ของการถ่ายภาพแต่ละรูป ตั้งแต่ shutter speed, aperture, ASA ของฟีล์ม, เวลาที่ถ่ายของวันนั้น, สภาพอากาศและแสง, ตำแหน่งซูมของเลนส์ ฯลฯ พอล้างรูปออกมา ก็จะมาเทียบดูและศึกษา  ครั้งหนึ่งเคยล้างภาพเอง เข้าไปในห้องมืดวันอาทิตย์เช้าออกมานึกว่ายังเป็นวันเดิม ที่ไหนได้กลายเป็นวันจันทร์ไปแล้ว...555

ปิดฉาก ปัจจุบันอะไร ๆ ก็เป็นระบบไฟฟ้าไปเสียหมด แต่ความรู้สึกดี ๆ บางอย่างที่ได้รับจากการใช้ระบบกลไกยังตราตรึงในหัวใจมิรู้เลือน  ทางผู้ผลิตก็อดเอาใจผู้ใช้ไม่ได้ ก็เลยจัดให้ตามระเบียบ อาทิ เสียงชัตเตอร์ลั่นปลอม เพราะระบบจริงไม่มีเสียง หรือ จอปิดดำตอนชัตเตอร์ลั่น ก็ปลอมอีกเพราะระบบไฟฟ้าไม่ต้องใช้ return mirror ต่อไปก็ยังไม่รู้ว่าทางผู้ผลิตจะมีทีเด็ดอะไรมาตอบสนองความต้องการของเรา รู้แต่ว่าเตรียมเก็บเงินเอาไว้ก็แล้วกัน

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


ภาพบนจะเห็นได้ชัดเลยว่าผลที่เกิดขึ้นจากการใช้กล้องที่มีชัตเตอร์แบบ Two-curtain shutters หรือ Focal-Plane shutter ถ่ายภาพสิ่งของเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงแล้ว ภาพออกมาจะดูแปลกผิดหูผิดตาต่างจากที่เราคาดหวัง ภาพนี้ต่างจากลูกปืนหรือเบสบอลเพราะใบพัดไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง แต่หมุนรอบตัวทำให้ออกมาโค้งงอดังกล่าว  อนึ่งถ้าเป็นเฮลิคอปเตอร์จริงจะไม่ออกมาโค้งงอมากแบบนี้ดังรูปถัดไป  ทั้งนี้เพราะเฮลิคอปเตอร์จริงมีใบพัดขนาดยาวมาก ดังนั้นเมื่อหมุนด้วยความเร็วโดยเฉลี่ย 500 รอบต่อนาที ความเร็วของปลายใบพัดก็จะใกล้กับความเร็วของเสียงเข้าไปทุกที จึงทำให้เราได้ยินเสียง “ปั้บ ๆ ๆ ๆ” ดังกล่าว 






เฮลิคอปเตอร์ Mil V-12 (รูปถัดไปที่มีใบพีด 2 ชุด)หรือบางทีเรียกว่า Mi-12 เป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกหนักของรัสเซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ความเร็วใบพัดเพียง 114 รอบ/นาที  ส่วนเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุของเล่นนั้น มีความเร็วประมาณ 2000 – 3000 รอบ/นาทีทีเดียว  ผมเองนั้นชอบมาก แต่ตอนอยู่เมืองไทยที่ห้างอมรเมื่อหลายสิบปีก่อนราคาปาเข้าไปเกือบ 2 หมื่นบาท ได้แต่เดินไปมองแล้วมองอีก  พอได้ไปอเมริกา ผมนั่งรถไฟไปนิวยอร์คซื้อมาประกอบแล้วไปหัดบิน ต้องขับรถข้ามไปอีกรัฐเพื่อหาที่โล่งจะได้ไม่ไปชนอะไร  ตอนนั้นไปหัดบินทุกวัน เป็นเวลากว่า 6 เดือนเต็ม ๆ บินได้นานที่สุด คือลอยตัวในอากาศได้นานที่สุด............ 8 วินาที  บินตกเป็นร้อย ๆ ครั้ง ใบพัดที่หักก็นำมาแขวนไว้ข้างฝาบ้านเตือนใจ เต็มรอบทุกด้าน  ช่วงนั้นเรียกว่าถอดใจไปเลย  หยุดเล่นไปเกือบ 2 ปี จนมาเจอข้อมูลว่า สถิติโลกของเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุที่ลอยตัวได้นานที่สุดในอากาศโดยชาวเยอรมันซึ่งทำไว้ราวปีค.ศ. 1952 นั้น........5 วินาที  ผมก็เลยกลับมาเล่นใหม่ เล่นไปเล่นมามีกว่า 30 ลำ  ลำใหญ่ที่สุดขนาดประมาณ รถมินิคูเปอร์  ปัจจุบันเป็นแบบใช้ไฟฟ้าเสียส่วนมาก บินง่ายมากต่างจากสมัยก่อน ที่เขาบอกว่าถ้าหัดบิน 1 พันคนจะมีคนเดียวที่จะบินเป็น

ธนาสิทธิ์ ศิริลักษณ์
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ภาพแถมเพราะผมชอบ คนนี้เอาควันใส่เข้าไปลูกโป่งด้วย...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2011, 09:02:07 PM โดย ดร.ธนาสิทธิ์ » บันทึกการเข้า
ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 1428
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6023



« ตอบ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2011, 09:34:34 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ผมเป็นลูกหลานจีนอพยพ  ทวดแซ่อิ๊ว ตาแซ่เล้า ปู่แซ่อึ๊ง   
เมืองไทยให้โอกาสทุกอย่าง  ไม่มีข้ออ้างเรื่องชนชั้น
ผมได้กราบแทบพระบาทในหลวงเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
airarm
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 09:14:08 AM »

          ไหว้ขอบคุณครับ.

      ที่ ดร. ว่าเครื่องไฟฟ้าบินง่าย  จนถึงเดี๋ยวนี้ผมยังทำให้มันบินขึ้นและลงโดยไม่มีอะไรพังยังไม่ได้เลยครับ  หัวเราะร่าน้ำตาริน  เศร้า  จำใจต้องไปเล่นเครื่องเล็กๆ ไม่ถึงคืบ ตกไม่กลัว ชนไม่หวั่นแล้วครับ.  อ๋อย
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #24 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 09:21:52 AM »

ขอบคุณครับ สรุปว่าเป็นที่ชัตเตอร์ที่กำลังกวาดทำให้ภาพในห้วงเวลาต่างกันถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มเดียวกัน

บินเฮลิคอปเตอร์สงสัยจะบังคับยากกว่าบินแบบธรรมดาจริง ๆ
สิบกว่าปีก่อนโน้นสมัยกล้องดิจิตอลยังไม่แพร่หลายในไทยราคาสูงมาก ผมไปเป็นวิทยากรพิเศษให้กับนักเรียนนักบินสมัครเล่นที่สถาบันการบินพลเรือน
ในเรื่องของการนำเสนอสื่อ  ผมก็นำกล้องดิจิตอลไปใช้ในการอบรมด้วย ถ่ายภาพปุ๊บก็โหลดเข้าคอมเปิดให้ดูปั๊บ เป็นที่ตื่นเต้นของนักเรียนกันมาก
ไม่รู้จะเรียกนักเรียนดีหรือเปล่าเพราะแต่ละคนก็อายุมากกว่า

ทุกคนมีเครื่องบินประจำตัวหมดแต่เท่าที่ถามดูไม่เห็นใครมีเครืองบินเฮลิคอปเตอร์สักคน
  
หลังจากวันนั้นทำให้ผมได้รู้จักกับเจ้าของโรงงานใหญ่ ๆ ของประเทศ  บางวันก็มีโทรศัพท์ชวนผมไปบินรอบโลกบ้าง บินในต่างประเทศบ้าง
แต่ผมไม่เคยรับคำชวนเลยเพราะติดงานและถ้าไปคงมีหวังได้ถูกเชิญออกงานประจำเป็นแน่แท้  เนื่องจากไปแต่ละครั้งท่านชวนกันไปเป็นเดือน


Mi-12 เป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกหนักของรัสเซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ความเร็วใบพัดเพียง 114 รอบ/นาที  
ส่วนเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุของเล่นนั้น มีความเร็วประมาณ 2000 – 3000 รอบ/นาที    

ดูแล้วใบพัดของเครื่องจริงจะหมุนช้ากว่าก็ตาม แต่เนื่องจากใบพัดที่ใหญ่และยาวเมื่อหมุนเต็มที่ความเร็วปลายใบพัดจะมีความเร็วมากกว่าเสียง
ทำให้มีแรงยกไปที่เพลาหมุนและเพลาก็ไปยกลำตัวเครื่องบินอีกทอด
บันทึกการเข้า
oesakofc
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #25 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 11:48:57 PM »

เก็บเกี่ยวครับ
บันทึกการเข้า
maxmin
ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน
Full Member
***

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 188


ความสำเร็จอยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่อยู่ที่คำอธิฐาน


« ตอบ #26 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 01:14:13 PM »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ.. ไหว้
บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #27 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 08:54:57 PM »

          ไหว้ขอบคุณครับ.

      ที่ ดร. ว่าเครื่องไฟฟ้าบินง่าย  จนถึงเดี๋ยวนี้ผมยังทำให้มันบินขึ้นและลงโดยไม่มีอะไรพังยังไม่ได้เลยครับ  หัวเราะร่าน้ำตาริน  เศร้า  จำใจต้องไปเล่นเครื่องเล็กๆ ไม่ถึงคืบ ตกไม่กลัว ชนไม่หวั่นแล้วครับ.  อ๋อย

เครื่องขนาดเล็กที่มีเพียง 2-3 channels นั้นไม่สามารถควบคุม การเอียงซ้าย/ขวาได้ คือจะวิ่งเหมือนรถบนถนนที่ลอยได้ แต่ถ้าจะเอาแบบเหมือนของจริง ต้องใช้อย่างน้อย 4 channels  เวลาหัด พยายาม ให้ด้านหางอยู่ทางเราตลอดเวลา  เดินตามไปเรื่อย ๆ ก็ได้ เก่งแล้วบังคับให้มันหมุนรอบตัว แบบเอาหางเข้าเราตลอด  ต่อไป ให้บังคับเป็นรูปเลข 8 อยู่ข้างหน้าเรา โดยให้ด้านซ้ายบินตามเข็มนาฬิกา และด้านขวาทวนเข็ม เพราะถ้าบินกลับจะยากกว่ามาก ทำจนคล่องถึงหัดบินเป็น วงกลมอยู่ข้างหน้าเรา  ถ้าได้แล้ว ให้บินเอาหัวเข้าหาเราซึ่งจะยากมาก เหมือนตั้งต้นใหม่ทีเดียว  ส่วนบินผาดโผนต้องตั้งอะไรใหม่อีกหลายอย่างนะครับ  การบังคับบินเฮลิคอปเตอร์เหมือน ขับเครื่องบินด้วยมือซ้ายและขับรถยนต์ด้วยมือขวาในเวลาเดียวกัน  อนึ่งถ้าตกใจ อย่าปล่อยคันเร่ง แต่ต้องกลับเร่งให้มันขึ้นสูงเข้าไปอีก เพื่อที่จะได้มีเวลาแก้ไข ไม่เหมือนเครืองบินหลาย ๆ แบบ ที่ปล่อยมือแล้วมันจะแก้ไขตัวมันเองได้... หากได้ไปหัดกับคนที่เก่ง ๆ ให้เขาปรับเครื่องของเรา หรือบินของเราให้ดู เราจะได้ความมั่นใจมากขึ้น  บินแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 นาที  ไม่งั้นจะเกิดอาการ Pilot-induced oscillations
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #28 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 09:22:26 PM »

          ไหว้ขอบคุณครับ.

      ที่ ดร. ว่าเครื่องไฟฟ้าบินง่าย  จนถึงเดี๋ยวนี้ผมยังทำให้มันบินขึ้นและลงโดยไม่มีอะไรพังยังไม่ได้เลยครับ  หัวเราะร่าน้ำตาริน  เศร้า  จำใจต้องไปเล่นเครื่องเล็กๆ ไม่ถึงคืบ ตกไม่กลัว ชนไม่หวั่นแล้วครับ.  อ๋อย

เครื่องขนาดเล็กที่มีเพียง 2-3 channels นั้นไม่สามารถควบคุม การเอียงซ้าย/ขวาได้ คือจะวิ่งเหมือนรถบนถนนที่ลอยได้ แต่ถ้าจะเอาแบบเหมือนของจริง ต้องใช้อย่างน้อย 4 channels  เวลาหัด พยายาม ให้ด้านหางอยู่ทางเราตลอดเวลา  เดินตามไปเรื่อย ๆ ก็ได้ เก่งแล้วบังคับให้มันหมุนรอบตัว แบบเอาหางเข้าเราตลอด  ต่อไป ให้บังคับเป็นรูปเลข 8 อยู่ข้างหน้าเรา โดยให้ด้านซ้ายบินตามเข็มนาฬิกา และด้านขวาทวนเข็ม เพราะถ้าบินกลับจะยากกว่ามาก ทำจนคล่องถึงหัดบินเป็น วงกลมอยู่ข้างหน้าเรา  ถ้าได้แล้ว ให้บินเอาหัวเข้าหาเราซึ่งจะยากมาก เหมือนตั้งต้นใหม่ทีเดียว  ส่วนบินผาดโผนต้องตั้งอะไรใหม่อีกหลายอย่างนะครับ  การบังคับบินเฮลิคอปเตอร์เหมือน ขับเครื่องบินด้วยมือซ้ายและขับรถยนต์ด้วยมือขวาในเวลาเดียวกัน  อนึ่งถ้าตกใจ อย่าปล่อยคันเร่ง แต่ต้องกลับเร่งให้มันขึ้นสูงเข้าไปอีก เพื่อที่จะได้มีเวลาแก้ไข ไม่เหมือนเครืองบินหลาย ๆ แบบ ที่ปล่อยมือแล้วมันจะแก้ไขตัวมันเองได้... หากได้ไปหัดกับคนที่เก่ง ๆ ให้เขาปรับเครื่องของเรา หรือบินของเราให้ดู เราจะได้ความมั่นใจมากขึ้น  บินแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 นาที  ไม่งั้นจะเกิดอาการ Pilot-induced oscillations


Pilot-induced oscillations  เป็นอาการของคน หรือ เป็นอาการของเครื่องครับ
บันทึกการเข้า
ดร.ธนาสิทธิ์
Full Member
***

คะแนน 117
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


« ตอบ #29 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 11:46:34 AM »

Pilot-induced oscillations หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIO นั้น เกิดขึ้นจากตัวคนขับที่พยายามบังคับแก้ไข โดยการให้คำสั่งตรงกันข้าม เช่นเครื่องเอียงซ้าย ก็บังคับให้เอียงขวา แต่ทำเกินไป ทำให้เครื่องเสียหลัก เปลี่ยนทิศทาง ซึ่งคนขับก็จะพยายามแก้ไขและต่อสู้กับอาการนี้ไปเรื่อย ๆ บางทีก็มีผลทำให้เครื่องแกว่งไปมา บังคับไม่ได้  เป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย แต่ที่พบมากคือในเครื่องบิน สำหรับพวกยานบังคับวิทยุก็เช่นกัน  ปกติคนที่จะบังคับได้ดี จะต้องอ่านทิศทางของยานเก่ง ว่ามันกำลังจะหันเหออกนอกลู่ไปทางใด เราต้องให้คำสั่งดักเอาไว้ก่อน และยังต้องวางแผนล่วงหน้าอีกด้วยว่า ในวินาทีต่อ ๆ ไปเราจะมีเส้นทางบินอย่างไร  ผู้ที่ชำนาญจะมองออกว่า สภาพยานที่กำลังทำท่าแปลก ๆ นั้น เกิดขึ้นจาก PIO หรือยานขัดข้อง
ตอนผมหัดทำ LOOP เฮลิคอปเตอร์ ต้องบินสวนทางลม ดิ่งหัวลง แล้วเชิดขึ้น พอถึงตินบนสุด ต้องลด pitch ณ.จุดที่ฮ.กำลังหงายท้อง ไม่งั้นมันจะตกฮวบ แต่ถ้าลดมากเกินไป มันจะลอยตัวและทำให้ใบพัดท้ายเปลี่ยนมุมผิด แก้แรงบิดผิดทาง ฮ.จะออกนอกวง ก็นับว่าเป็น PIO ที่ผมต้องฝึกเป็นเดือน ๆ
ข้างล่างคือคลิปตัวอย่างของ PIO ครับ

Chase plane view of F-8 DFBW pilot-induced oscillations

F22 Pilot Induced Oscillation (PIO)


Shuttle pilot induced oscillation (PIO)

PIO jet airplane landing

Hang Gliding - PIO (Pilot-induced oscillations)
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.15 วินาที กับ 23 คำสั่ง