เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 16, 2025, 08:03:59 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 34 35 36 [37] 38 39 40 ... 71
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความเห็นเรื่องแรงบิด แรงม้า ของสองรุ่นนี้หน่อยครับ  (อ่าน 197173 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #540 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 09:16:41 AM »

อ้างถึง

รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่ง ดีกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่าพูดง่ายๆก็คือ แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี

อันนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดๆ มันเกือบถูกครับที่ว่า รถที่ torque เยอะกว่า เร่งได้ดีกว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า torque คืออะไร แรงม้า คืออะไร
จะทึกทักเอาไม่ได้ครับว่าเป็นอย่างที่อ้่าง จะยกตัวอย่าง Spec ของ E-CLASS  ซ้ายเป็นตัวเลขของDiesel ขวาเป็นเครื่องBenzine ครับ

Rated output (kW [hp] at rpm) 150(204)/4200            150 [204]/5500
Rated torque (Nm at rpm)        500/1600–1800          310/2000–4300
Acceleration 0-100 km/h (s)    7.8                               7.8

จะเห็นว่า ตัวเลขแรงบิด ฝั่งซ้าย ดีกว่ามาก แต่ทำไม0-100วิ่งเท่ากัน
จะให้ถูกต้องบอก ว่า ถ้ามีรถ2คัน มีกราฟแรงม้าเหมือนกันทุกประการ ต่างตรงกราฟแรงบิด ถ้าเป็นกรณีนี้ อ้่างได้ครับ

เหตุผลเพราะอะไร ต้องว่ากันยาวครับ อธิบายไป จะเข้าใจต้องมีความรู้ฟิสิกส์พื้นฐานก่อนครับ

คู่นี้ถ้าทำอัตราเร่งเท่ากัน ไม่ได้เป็นผลมาจากแรงบิดของเครื่องยนต์หรอกครับ 

อัตราทดเกียร์ต่างหากที่ทำให้อัตราเร่งเท่ากัน ไม่ได้สลับซับซ้อนขนาดต้องไปเรียนฟิสิกส์
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #541 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 04:11:24 PM »

อ้างถึง

รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่ง ดีกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่าพูดง่ายๆก็คือ แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี

อันนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดๆ มันเกือบถูกครับที่ว่า รถที่ torque เยอะกว่า เร่งได้ดีกว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า torque คืออะไร แรงม้า คืออะไร
จะทึกทักเอาไม่ได้ครับว่าเป็นอย่างที่อ้่าง จะยกตัวอย่าง Spec ของ E-CLASS  ซ้ายเป็นตัวเลขของDiesel ขวาเป็นเครื่องBenzine ครับ

Rated output (kW [hp] at rpm) 150(204)/4200            150 [204]/5500
Rated torque (Nm at rpm)        500/1600–1800          310/2000–4300
Acceleration 0-100 km/h (s)    7.8                               7.8

จะเห็นว่า ตัวเลขแรงบิด ฝั่งซ้าย ดีกว่ามาก แต่ทำไม0-100วิ่งเท่ากัน
จะให้ถูกต้องบอก ว่า ถ้ามีรถ2คัน มีกราฟแรงม้าเหมือนกันทุกประการ ต่างตรงกราฟแรงบิด ถ้าเป็นกรณีนี้ อ้่างได้ครับ

เหตุผลเพราะอะไร ต้องว่ากันยาวครับ อธิบายไป จะเข้าใจต้องมีความรู้ฟิสิกส์พื้นฐานก่อนครับ

คู่นี้ถ้าทำอัตราเร่งเท่ากัน ไม่ได้เป็นผลมาจากแรงบิดของเครื่องยนต์หรอกครับ 

อัตราทดเกียร์ต่างหากที่ทำให้อัตราเร่งเท่ากัน ไม่ได้สลับซับซ้อนขนาดต้องไปเรียนฟิสิกส์

เกี่ยวสิครับ ก็เพราะอัตราทดที่ต่างกันนี่แหละ ทั้งๆที่โจทย์เดียวกัน คือ เป็นรถ sedan โดยสาร ไม่ต้องบรรทุกหนัก เดินทางไกลไม่ต้องใข้รอบสูง เป็นต้น
สาเหตุที่อัตราเร่งเท่ากัน ไม่ใช้ว่าเค้าตั้งใจทำ อัตราทดคันดีเซลที่มีแรงม้าเท่ากัน แต่มีแรงบิดสูงกว่า ให้วิ่งแย่ลงเท่าเครื่องCGI นะครับ
 คนทั่วไป เวลาคุยกัน ชอบเอาแรงม้า-บิด สูงสุดมาคุย แล้วก็ชอบเอา2อย่างนี้มาแยกออกจากกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ตัวเลขทั้ง2ตัว มันเป็นค่าที่แสดงcharacteristic ของเครื่องยนต์นั้นๆ ณ รอบการทำงานหนึ่งๆ ว่ามีความสามารถสร้างงานได้เท่าไหร่(สามารถทำให้รถที่มีมวลหนัก1.5ตัน วิ่งด้วยความเร็ว100KM/hrs.ได้ แบบนี้คืองาน ซึ่งก็คือแรงม้า) มีความสามารถในการทำให้แขนที่ต่อกับจุดหมุนจุดหนึ่งเขยื้อนได้เท่าไหร่(เครื่องสามารถหมุนเกียร์ เฟืองท้าย ให้หมุนเร็วขั้นอย่างไร แบบนี้คือแรงบิด)  ซึ่งจะคุยกันรู้เรื่อง ก็ต้องมีพื้นฐานก่อนว่า ตัวเลขทั้ง 2 ความหมายคืออะไรครับ

 แล้วจะบอกว่าไม่ต้องมีความรู้ฟิสิกส์ก็ได้ ก็จะเกิดบทความด้านบนนี่ไงครับ ที่นั่งเทียนออกบทความผิดๆออกมา แล้วย้อนกลับไปดูที่มา น่าตกใจมาก เพราะ ตอนแรกคิดว่ามาจากนักเลงรถลูกทุ่งตามwebboardทั่วไปๆ แต่กลับกลายว่า มาจากสถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมของรัฐซะด้วย ก็ขอให้ว่าผู้เขียน เป็นแค่นิสิต ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอนก็แล้วกันครับ เพราะเล่นแยกม้า/บิด ออกจากกันเสียดื้อๆ แล้วก็มาสรุปว่า แรงบิดคือความเร่ง แรงม้า คือ ความเร็วสูงสุด


บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #542 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 05:01:50 PM »

สมมุติว่ารถ MB E-CLASS คันข้างบน ซึ่งรถคันนี้ มีน.น. รวมคนขับ2ตัน ต้องการแรงม้า 204 ps(ซึ่งเป็นแรงม้าสูงสุดที่เครื่องทำได้พอดี) ในการทำให้มันวิ่งต้านอากาศ ด้วยความเร็วคงที่ ที่240 km/h  ณ จุดนั้น ต่อให้เพิ่มแรงบิดเข้าไป เป็นพันเป็นหมื่น Nm. เหยีบมิดยังไง ก็ไม่สามารถทำให้มันวิ่งเร็วไปกว่านี้ได้ครับ ความเร็วไม่สามารถเพิ่มได้ แสดงว่าอัตราเร่งก็ต้องเท่ากับ 0  แต่ถ้า สมมุติรถคันนี้แต่เดิม มีค่าCd.(ยิ่งมาก ยิ่งต้านลม) เท่ากับ 0.26 เราเอามา เปลี่นกระจังหน้า ฝากระโปรง spoiler แล้วทำให้ ค่า Cd. มันเหลือ 0.24 ก็จะทำให้ ค่า HP consumption ที่ แต่เดิมต้องการ 204 ps ถึงจะทำให้วิ่ง240ได้ อาจจะเหลือ 195 ps คราวนี้ ถ้าแรงบิดยังเหลือ เกียร์ไปได้ ก็อาจจะเร่งจาก240ไปได้อีก

แล้วจะบอกว่า แรงบิดเป็นความเร่งได้ แรงม้า คือ ความเร็วสูงสุด ได้อย่างไร จริงไหมครับ?
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #543 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 07:46:44 PM »

แรงบิดคือกำลังฉุดลากหรืออัตราเร่ง  และแรงม้าคือความเร็ว "ถูกต้องแล้ว"

รถ2คัน แรงม้าเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน อัตราทดเกียร์+เฟืองท้ายเท่ากัน คันที่1มีแรงบิด25kg.m คันที่2มีแรงบิด45kg.m
รถคันไหนจะทำอัตราเร่งจนถึงความเร็วสูงสุดได้ก่อน


อีกกรณีหนึ่ง รถ2ทั้งคันน้ำหนัก1000kg. อัตราทดเกียร์+เฟืองท้ายเท่ากัน คันที่1 มีกำลัง500BHP@9000rpm คันที่2มีกำลัง 300BHP@9000rpm
รถคันไหนจะทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่ากัน


แรงม้าและแรงบิดมันแยกกันไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันอยู่
พื้นฐานการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายใน เกิดจากการระเบิดภายในกระบอกสูบดันชุดลูกสูบถ่ายแรงไปหมุนข้อเหวี่ยงลงสู่ BDC
จุดหมุนของก้านสูบผ่านจุดที่มีระยะห่างจากเพลาข้อเหวี่ยงมากที่สุด กำลังที่เกิดจากส่วนนี้เรียกว่า "แรงบิด" ฉะนั้นแรงบิดคือ "ต้นกำลังของแรงม้า"


ซึ่งแรงม้าสามารถคำนวนได้โดย แรงม้า (BHP) = [แรงบิด (ปอนด์.ฟุต) x (รอบ/นาที)] / 5252
จากสูตรนี้ กำลังของเครื่องยนต์จะสัมพันธ์กับความเร็วรอบ รวมถึงความสามารถในการเอาชนะแรงเสียดทานนั่นคือ แรงม้าของเครื่องยนต์
กำลังทั้งหมดที่เครื่องยนต์สร้างได้จะผ่านออกไปที่ระบบเกียร์ เฟืองท้าย เส้นผ่านศูนย์กลางล้อ และเส้นรอบวงของยางซึ่งเป็นอัตราทดสุดท้ายก่อนจะถ่ายลงพื้น


เมื่อแรงม้ามีความสัมพันธ์กับความเร็วรอบ เครื่องยนต์ที่มีแรงม้าสูงย่อมสามารถเอาชนะแรงเสียดทานภายในใด้มากกว่าเครื่องยนต์ที่มีแรงม้าน้อยกว่า
และรวมไปถึงแรงเสียดทานในระบบส่งกำลัง ความฝืดของยาง รวมถึงแรงต้านอากาศ (Drag coefficient) แรงม้าและความเร็วรอบจึงมีผลต่อความเร็วสูงสุด


เรื่องกำลังในวิชาฟิสิกส์ กับเรื่องกำลังของวิชาเครื่องกลมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่ต่างกันที่วิธีใช้งานและการอธิบาย ไม่งั้นเรียนแค่ฟิสิกส์เบื้องต้นก็พอ
ไม่ต้องมีสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ไม่ต้องมาเรียนวิชาเครื่องกลเพิ่มเติมอีก


การที่ผู้มีความรู้บางท่านอธิบายว่า แรงม้าคือความเร็ว  แรงบิดคือกำลังฉุดลาก หรือ อัตราเร่งของเครื่องยนต์ให้ไปสู่แรงม้าสูงสุด
มันคือการอธิบายให้คนที่ "ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องเครื่องกล" เข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายที่สุด


ถ้าต้องอธิบายให้คนไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์เลย คุณจะอธิบายว่า แรงบิดขนาด 1 กิโลกรัม.เมตร คือแรงที่สามารถยกของหนัก1กิโลกรัม ที่ปลายคานยาว1เมตร
หรือจะกางตำราฟิสิกส์มานั่งสอนกันแบบนักเรียน  หรือจะเลือกอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและใกล้เคียงที่สุดแทน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 12:24:49 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #544 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 08:02:24 PM »

เยี่ยมครับน้าอั้ม .... เดี๋ยวจัดให้ลูกค้าหลงทางต่อไป   Cheesy
บันทึกการเข้า

                
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #545 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 08:05:46 PM »

เยี่ยมครับน้าอั้ม .... เดี๋ยวจัดให้ลูกค้าหลงทางต่อไป   Cheesy

ผมก็ตอบงูๆปลาๆไปตามประสาผมแหละครับลุงปู  ไหว้ ไหว้   ไม่ได้เรียนไม่ได้จบวิศวกรรมเครื่องกลซะด้วยซ้ำ  Grin Grin
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #546 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 08:51:58 PM »

คุมปัจจัย-สิ่งแวดล้อมให้เหมือนกัน อัตราทดเกียร์เหมือนๆกัน ประสิทธิภาพของระบบส่งกำลังเท่าไกน

รถที่แรงบิดสูงกว่า อัตราเร่งแซงจะดีกว่า ก็ถูกแล้วนิครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #547 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 09:38:16 PM »

แรงม้าสูง แต่แรงบิดเนิบไม่ฉูดฉาดจะขับยากกว่าครับ, ขับมุดในเมืองต้องสับเกียร์เลี้ยงรอบ เมื่อยมือเมื่อยเท้าและสมาธิเสียครับ... มีดีอย่างเดียวคือเวลารอบสูงๆ เสียงมันหวานหูเท่านั้นเองครับ... แฮ่ๆ...
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #548 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 10:11:35 PM »

แรงม้าสูง แต่แรงบิดเนิบไม่ฉูดฉาดจะขับยากกว่าครับ, ขับมุดในเมืองต้องสับเกียร์เลี้ยงรอบ เมื่อยมือเมื่อยเท้าและสมาธิเสียครับ... มีดีอย่างเดียวคือเวลารอบสูงๆ เสียงมันหวานหูเท่านั้นเองครับ... แฮ่ๆ...

ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบนั้นครับ  แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้างเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #549 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 05:16:48 PM »

แรงบิดคือกำลังฉุดลากหรืออัตราเร่ง  และแรงม้าคือความเร็ว "ถูกต้องแล้ว"

รถ2คัน แรงม้าเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน อัตราทดเกียร์+เฟืองท้ายเท่ากัน คันที่1มีแรงบิด25kg.m คันที่2มีแรงบิด45kg.m
รถคันไหนจะทำอัตราเร่งจนถึงความเร็วสูงสุดได้ก่อน


แล้วมันจะเป็นไปได้ยังไงหล่ะครับ กราฟแรงม้าเท่ากัน แต่แรงบิดไม่เท่ากัน มันเป็นไปไม่ได้ทั้งทางตำรา หรือ ทางปฎิบัติครับ
แล้วท่านจะอ้างได้อย่างไรหล่ะครับ ว่าคันไหนเร่งดีกว่ากัน เอาอะไรมาคำนวนครับ? มีทาง

อย่างที่ผมยกตัวอย่างมา E-Class diesel ถ้าตามสมมุติฐานของท่าน แรงม้าเท่ากัน แรงบิดเยอะกว่า วิ่งดีกว่า มีเหตุผลอะไรที่ MB ต้องทำอัตราทด ให้ มันวิ่ง "แย่" เท่าเบนซินล่ะครับ?

ผมไม่ใช่พวกหัวหมอ ที่ต้องเวลาจะคุยอะไร ต้องเอาเป๊ะๆ แค่อยากจะลบ ความคิดที่ว่าแรงบิด คือ ความเร่ง แรงม้าคือความเร็วสูงสุด ออกไปเสียที แล้วก็หยุดการเผยแพร่ความเข้าใจผิดๆอย่างบทความนี้ครับ

ถ้าเราอยากจะประเมิน สมรรถของรถว่าคันไหนแรงกว่า โดยที่เรามีข้อมูลคร่าวๆแค่กระดาษA4 เช่นเวลาไปเดินmotor show เราควรคุยกันที่ แรงม้า/นน. ยังจะmake sense กว่าอีกนะครับ เพราะ ถ้าเราเอา ม้า หาร นน โดยเทียบกับ รถประเภทเดียวกัน กระบะต่อกระบะ เก๋งต่อเก๋ง (อัตราทด กระบะ จะสูงกว่า เน้นแรงบิด ไว้ลากน้ำหนัก) ระบบอัดอากาศแบบเดียวกัน ค่อนข้างจะได้ผลถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ครับ

ตัวผมเองก็ไม่ได้จบเครื่องกลครับ ผมจบวิศวคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ที่จับครั้งสุดท้่าย คือ ตอนปี1เทอม1 ซึ่งตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว แต่สิ่งที่เราคุยกัน แรงม้า แรงบิด ความเร่ง ความเร็ว อัตราทด มันไม่ได้ซับซ้อนเลยครับ จับเด็กสายวิทย์ ม.6 ที่สนใจเรียนมาซักคน อธิบายไม่เกิน 3 ชม ก็จบครับ

สมมุติ เครื่องยนต์A มี ม้า 300 แรงม้า ที่ 3000 รอบ จากสูตร TORQUE = HP x 5252  / RPM แสดงว่า ณ 3000 รอบ "จำเป็นต้องมีแรงบิดอย่างน้อย" 525 ปอนด์ ถ้าเร่งไปที5000 รอบแล้ว ณ จุดนั้น มีแรงม้า 500 ก็ "จำเป็นต้องมีแรงบิดอย่างน้อย" 525 ปอนด์   ถ้ามีเครื่องยนต์B สามารถสร้าง แรงบิด 1025 ปอนด์ ที่ 3000-5000 รอบ ถ้าท่านอรชุน จะเอาให้มันมี 300-500แรงม้า/รอบหนึงๆ เท่ากัน คงต้อง เล่น ที่ ECU แล้วหล่ะครับคือ มีแรงเหลือแต่บังคับให้รอบมันขึ้นช้่่าลง  ถึงจะบังคับให้ได้ตาม สิ่งที่ท่านอรชุนต้องกาน แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถ ทำให้คันB มีอัตรเร่ง ดีกว่า เครื่องA ได้ เพราะ โจทย์ คือ แรงม้าเท่ากัน คำว่า เท่ากัน ก็ ต้องเท่ากันทุกรอบด้วย จริงไหมครับ ดังนั้น  แล้วแรงม้าก็ต้องขึ้นใน อัตราส่วนที่เท่ากัน แรงที่จะเอาไปทำความเร่ง ก็คือ (แรงบิด x ทดเกียร์ x ทดเฟืองท้าย)/รัสมีล้อ x น้ำหนัก รถ คราวนี้ ทุกอย่างมันเท่ากันหมด มันก็ต้องวิ่งเท่ากัน เพราะ กราฟแรงม้า/รอบ เหมือนกัน มันก็ไปบังคับ ให้ กราฟแรงบิด/รอบ หน้าตาเหมือนกันอยู่ดี

ถ้าสมมติเครื่องยนต์ C มีแรงบิดม้าและบิดที่3000รอบ เท่าA ถ้าอยากให้Cวิ่งดีกว่า แปลว่าเราไม่สนว่าCจะมีแรงม้าสูงสุดเป็นอย่างไรก็ได้ จะน้อยหรือมากกว่าAก็ได้ แต่พีื่นที่ใต้กราฟแรงบิดของCจำเป็นต้องสูงกว่าA ถ้าถือสมุติฐานแค่นี้แล้วติต่างไปเอง บอกว่า แรงบิดคืออัตราเร่ง มันก็ดูกำปั้นทุบดินไปหน่อยเพราะCมีม้าสูงสุดอาจจะแค่ 450 ส่วน B มี500แต่Cวิ่งดีกว่า เพราะถ้าดูกราฟแรงม้าประกอบ ก็จะเห็นว่าพื้นที่ใต้กราฟของมัน ก็มากกว่าAอยู่ดี (พื้นที่ใต้กราฟ คือ ค่า เฉลี่ย) แล้วทำไม ไม่พูดกันบ้างหล่ะครับ ว่าแรงม้า คือ ความเร่ง

อธิบายมายืดยาว สรุป ยังจะเอา แรงม้าคือความเร็ว แรงบิดคือความเร่ง กันหรือเปล่าครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 05:46:59 PM โดย TakeFive » บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #550 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 05:46:20 PM »

คุมปัจจัย-สิ่งแวดล้อมให้เหมือนกัน อัตราทดเกียร์เหมือนๆกัน ประสิทธิภาพของระบบส่งกำลังเท่าไกน

รถที่แรงบิดสูงกว่า อัตราเร่งแซงจะดีกว่า ก็ถูกแล้วนิครับ 

ถูกต้องครับ แต่แรงม้ามันก็ถูกบังคับให้สูงกว่าไปด้วยครับ ถ้าจะไปมันเร่งดีกว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 05:48:37 PM โดย TakeFive » บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #551 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 05:47:03 PM »

นายสมชายยังไม่เห็นกราฟของ E-Class สองคันที่ว่าครับ... แต่คันเครื่องดีเซลนั่นมีรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุด(1600 - 1800)ห่างกับรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดไม่มาก(4200) แปลว่าแรงบิดมาไม่ต่อเนื่อง, และแรงบิดสูงสุดมีย่านแค่ 200 รตน.(1800 - 1600 รตน.) หากทดเกียร์ไม่ดีแล้วรอบขึ้นสูงเลยย่านแรงบิดสูงสุด อัตราเร่งจะตกครับ, แต่ถ้าหากได้เกียร์ที่ทดละเอียด หรือไร้รอยต่อไปเลยเช่น CVT จะเลี้ยงอัตราทดให้รอบอยู่แถวแรงบิดสูงสุดตลอด คันเบ็นซินจะสู้ไม่ได้ครับ...

ส่วนคันเครื่องเบ็นซินรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุดเป็นแบนด์กว้าง(ตั้งแต่ 2000 - 4300 รตน.)แล้วรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดที่ 5500 ห่างจากจุดที่แรงบิดสูงสุดแค่นิดเดียว แปลว่าแรงบิดมาตั้งแต่ 2000 รอบแล้วยังฉูดฉาดได้จนเกือบรอบเครื่องสูงสุด(แรงม้าสูงสุด)... เลยทำให้ 0 - 100 ได้เวลาสั้นเพราะสม่ำเสมอกว่าครับ...

2 คันนี้นายสมชายว่าคันเบ็นซินขับง่ายกว่า เพราะไม่ต้องเขย่าเท้า(หรือกระทืบให้คิกดาวน์)ไล่ให้เกียร์ออโต้เปลี่ยนเกียร์... ช่วงเขย่าเท้า(หรือกระทืบฯ)ก็จะเสียจังหวะเร่ง...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 05:52:11 PM โดย นายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #552 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 05:54:45 PM »

แต่ถ้าคันดีเซลเป็นเกียร์ CVT ที่เลี้ยงรอบได้แถวแรงบิดสูงสุด แล้วเร่งความเร็วด้วยการเปลี่ยนอัตราทดไปเรื่อยๆ... คนเบ็นซินจะสู้ไม่ได้ทั้งต้นและปลายครับ, นั่นคือแรงบิดแยะกว่าจะได้เปรียบครับ...
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #553 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 06:15:34 PM »

นายสมชายยังไม่เห็นกราฟของ E-Class สองคันที่ว่าครับ... แต่คันเครื่องดีเซลนั่นมีรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุด(1600 - 1800)ห่างกับรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดไม่มาก(4200) แปลว่าแรงบิดมาไม่ต่อเนื่อง(ช่วงห่างแค่ 200 รตน.) หากทดเกียร์ไม่ดีแล้วรอบขึ้นสูงเลยย่านแรงบิดสูงสุด อัตราเร่งจะตกครับ, แต่ถ้าหากได้เกียร์ที่ทดละเอียด หรือไร้รอยต่อไปเลยเช่น CVT จะเลี้ยงอัตราทดให้รอบอยู่แถวแรงบิดสูงสุดตลอด คันเบ็นซินจะสู้ไม่ได้ครับ...

ส่วนคันเครื่องเบ็นซินรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุดเป็นแบนด์กว้าง(ตั้งแต่ 2000 - 4300 รตน.)แล้วรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดที่ 5500 ห่างจากจุดที่แรงบิดสูงสุดแค่นิดเดียว แปลว่าแรงบิดมาตั้งแต่ 2000 รอบแล้วยังฉูดฉาดได้จนเกือบรอบเครื่องสูงสุด(แรงม้าสูงสุด)... เลยทำให้ 0 - 100 ได้เวลาสั้นเพราะสม่ำเสมอกว่าครับ...

2 คันนี้นายสมชายว่าคันเบ็นซินขับง่ายกว่า เพราะไม่ต้องเขย่าเท้า(หรือกระทืบให้คิกดาวน์)ไล่ให้เกียร์ออโต้เปลี่ยนเกียร์... ช่วงเขย่าเท้า(หรือกระทืบฯ)ก็จะเสียจังหวะเร่ง...
ผมจำหน้าตากราฟแรงบิดของตัวdieselได้ครับ อย่างที่นายสมชายว่าครับ บิดสูงสุดมีมาแคบๆ แล้วมันจะเหี่ยวไปเรื่อยๆ จนเหลือประมาณ 300 ครับ ที่ผมจำได้ เพราะตอนนั้น ผมเลือกระหว่างดีเซลกับเบนซินครับ จะเห็นได้ว่า แม้แรงบิดจะเหี่ยวอย่างไร มันก็ประมาณ บิดสูงสุดของตัวเบนซิน อยู่ดี แต่กลับวิ่้ง0-100เท่ากัน แล้วจะบอกว่า แรงบิดคือความเร่งกันอยู่ได้

เรื่องขับยาก ไม่มีปัญาหาอย่างที่นายสมชายว่าเลยครับ เพราะ ECU มันค่อนข้างฉลาดมากครับ มันจับอาการ อ่านใจเราได้หมดว่า ณ ตอนนั้นเราต้องการทำอะไร จะด้อยกว่าตรงfeeling  ความเร้าใจของเสียง ตอนเร่งนั้นแหละ ประกอบกับ ณ ตอนนั้น รถดีเซล มี defectเยอะ เลยจำใจเล่น เบนซินครับ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #554 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 07:38:58 PM »

แล้วมันจะเป็นไปได้ยังไงหล่ะครับ กราฟแรงม้าเท่ากัน แต่แรงบิดไม่เท่ากัน มันเป็นไปไม่ได้ทั้งทางตำรา หรือ ทางปฎิบัติครับ
แล้วท่านจะอ้างได้อย่างไรหล่ะครับ ว่าคันไหนเร่งดีกว่ากัน เอาอะไรมาคำนวนครับ?

ไม่ต้องคำนวนหรอก เอาของจริงนี่แหละ แล้วพิจารณาเองเองว่าเป็นไปได้หรือไม่
Saab B204R Engine Power 200bhp // Torque 280 N·m
Honda H22A Engine Power 200bhp // Torque 218 N·m

Dodge Charger 2009 3.6 Engine Power 250bhp // Torque 340 N·m
Honda F20C 2.0 Engine Power 250bhp // Torque 218 N·m


อีกส่วนที่ท่านยกตัวอย่างมาคือ
E-Class แรงม้าเท่ากัน แรงบิดเยอะกว่า มีเหตุผลอะไรที่ MB ต้องทำอัตราทด ให้ มันวิ่ง "แย่" เท่าเบนซินล่ะครับ?


E 250 CGI BlueEFFICIENCY Petrol Engine 204PS@5,500 // 310 N·m@4,300 // Redline 6,200rpm



E 250 CDI BlueEFFICIENCY Diesel Engine 204PS@4,200 // 500 N·m@1,800 // Redline 4,250rpm




สาเหตุเพราะ "ความเร็วรอบสูงสุดต่างกัน" อัตราทดเกียร์จึงจำเป็นต้องต่างกัน ไม่ใช่ว่าผู้ผลิต "ตั้งใจจะทำให้มันแย่"
แต่เพราะเครื่องดีเซลมีความเร็วรอบต่ำกว่าถ้า "อัตราทดรวม" จัดเท่ารุ่นเบนซิน ความเร็วรถจะต่ำมากจนไม่เหมาะกับประเภทของรถ

กลับกันรุ่นเครื่องยนต์เบนซินมี "รอบเครื่อง" สูงกว่า แต่แรงบิดน้อยกว่าจึงต้องทำ "อัตราทดรวม" ให้ "จัดขึ้น" เพื่อเพิ่มแรงบิดหรืออัตราเร่ง
แต่คำนวนดูแล้ว "แรงบิดลงพื้น" ก็ยังน้อยกว่าตัวเครื่องดีเซล








อัตราเร่งจาก "การทดสอบจริง" รุ่นดีเซล "แย่กว่า" รุ่นเบนซิน สาเหตุหนึ่งมาจาก "น้ำหนักตัวรถ"
E250 CGI Avantgarde // 1,650 กิโลกรัม
E250 CDI Elegace  // 1,735 กิโลกรัม


 


เราคุยกันด้วยเรื่องของแรงม้าสูงสุด กับ แรงบิดสูงสุด  แต่ถ้าหัวหมอว่าทุกอย่างต้องเท่ากันเป๊ะ กราฟต้องขึ้นเท่ากัน พื้นที่ใต้กราฟต้องเท่ากัน
แบบนี้ไม่ต้องคุยไม่ต้องเทียบครับ เพราะมันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมันคือ "เครื่องยนต์ตัวเดียวกัน" ไม่รู้จะเอามาเทียบให้ได้ประโชน์อะไรขึ้นมา

ประเด็นที่ต้องเทียบเพราะมันเป็นเครื่องคนล่ะตัว มันไม่มีทางที่จะเหมือนกัน นี่คือสาเหตุที่ต้องจับมาเปรียบเทียบ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่บ่งสมรรถนะของเครื่องยนต์คนละตัว คือความสามารถในการสร้างกำลังนั่นคือ "แรงม้าและแรงบิด"

และสมรรถนะของรถยนต์ส่วนหนึ่งคือ "อัตราเร่ง" และ "ความเร็ว" อัตราเร่งของรถมาจากแรงระเบิดในกระบอกสูบที่หมุนเพลาข้อเหวี่ยง
ระเบิดแรงความเร็วในการเคลื่อนตัวของลูกสูบมีมาก "แรงบิด" ก็มากตาม อัตราเร่งก็เพิ่มขึ้นตามแรงบิด

เพราะฉะนั้นมันชัดเจนว่าถ้า รถคันเดิม  อัตราทดรวมเท่าเดิม  น้ำหนักรถเท่าเดิม  แรงบิดมากขึ้นหมายความว่า อัตราเร่งย่อมเพิ่มขึ้นตามแรงบิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 07:49:01 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 34 35 36 [37] 38 39 40 ... 71
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 21 คำสั่ง